จับตา 2 รายใหญ่สู้ ‘สงครามเน็ตบ้าน’ คาดแพคเก็จต่ำพันสาบสูญในอีก 2 ปี

ตัวเลขจากสำนักงาน กสทช. ระบุว่าจำนวนประชากรไทยกว่า 67 ล้านราย มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือจริงๆราว 92 ล้านบาท จากจำนวนการรายงานผลประกอบการของบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส ที่ระบุว่า ยอดไตรมาส 3/2566 ว่าตัวเลขฐานลูกค้ามือถือในระบบอยู่ที่ 44.4 ล้านราย ขณะที่บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หลังจากการควบรวมบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค มีลูกค้า 51.4 ล้านราย รวมมูลค่าอุตสาหกรรมมรเม็ดเงินสะพัดเกือบ 2.2 แสนล้านบาท

ส่วนตลาดเน็ตบ้านมีตลาดลูกค้าราว 10.3 ล้านราย โดยแบ่งลูกค้าเอไอเอสไฟเบอร์ จำนวน 2.38 ล้านราย ทรูออนไลน์มีลูกค้า 3.79 ล้ายราย ทริปเปิลที บรอดแบนด์ หรือ 3BB มีลูกค้า 2.31 ล้านราย และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด หรือ เอ็นที มีลูกค้า 1.89 ล้านราย รวมทั้งตลาดมีลูกค้า 10.37 ล้านราย รวมเม็ดเงินทั้งอุตสาหกรรมมีอยู่ราว 8,000 ล้านบาท

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ที่ผ่านมาสังเวียนตลาดเน็ตบ้านยังไม่หวือหวาเมื่อเทียบกับสมรภูมิโทรศัพท์มือถือ แต่การที่ตลาดเน็ตบ้านกลับมาคึกคักก็เพราะหลังจากที่ เอไอเอส ประกาศเข้าซื้อกิจการของ 3BB ด้วยเงินกว่า 32,000 ล้านบาท เพราะต้องการขยายฐานลูกค้าไปยังต่างจังหวัด ด้วยความเข้มแข็งของข่ายสายที่ 3BB ครอบคลุมมากที่สุดในไทยเพราะอดีต 3BB เป็นผู้รับสัมปทานจากบมจ.ทีโอที

ซึ่งเอไอเอสเป็น ‘ผู้เล่นรายใหม่’ เพิ่งเข้าสู่ตลาดเมื่อ 9 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น การเข้าซื้อกิจการกับ 3BB ทำให้ เอไอเอส จะมีสถานะเป็นผู้นำในตลาดนี้ทันทีด้วยจำนวนลูกค้า 4.69 ล้านราย

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสได้ผสานพลังระหว่างเอไอเอสไฟเบอร์ และ 3BB โดยใช้จุดแข็งร่วมกันภายใต้แบรนด์ ‘AIS - 3BB FIBRE 3’ ซึ่งจะทำให้ เอไอเอสมีพอร์ตในการให้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 13 ล้านพอร์ต ในปี 2567 จากเดิมที่มีอยู่ 9.5 ล้านพอร์ต ซึ่งภาพรวมของที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 20 ครัวเรือน โดยตั้งเป้าตลาดจะโต 5-10% ในปี 2567

ฐานพล มานะวุฒิเวช หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ทรูออนไลน์ ยังคงมีบทบาทผู้นำเน็ตบ้านไฟเบอร์อัจฉริยะอันดับ 1 ที่อยู่คู่คนไทยด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานที่สุดกว่า 20 ปี โดยปัจจุบันทรูออนไลน์ ยกระดับบริการไฟเบอร์ให้พร้อมรองรับได้ครอบคลุมมากที่สุดในไทยถึง 19 ล้านครัวเรือนซึ่งนับเป็นความครอบคลุมของโครงข่ายขนาดใหญ่ที่สุด 

 

ดัชนีการกระจุกตัวเพิ่มขึ้น

โดยในประเด็นดังกล่าว สำนักงาน กสทช.ได้รวบรวมข้อมูลภายหลังจากเกิดการควบรวมธุรกิจโดยใช้การวัดค่าดัชนี HHI (Herfindahl-Hirschman Index : HHI) หรือการคำนวณค่าการกระจุกตัวเพื่อวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันในตลาดของธุรกิจ โดยจะเกิดผลกระทบ 2 ลักษณะ

คือ 1.ตลาดค้าปลีกบริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบรนด์ประจำที่ (Fixed Broadband Internet) ดัชนี HHI ก่อนรวมธุรกิจอยู่ที่ 2,716 ดัชนี HHI หลังรวมธุรกิจอยู่ที่ 3,624 และดัชนี HHI หลังการรวมธุรกิจ - ก่อนรวมธุรกิจ อยู่ที่ 908 เพิ่มขึ้น 33.43%

และ 2.ตลาดค้าส่งบริการเข้าถึงบรอดแบรนด์ (Wholesale Broadband Access) ดัชนี HHI ก่อนรวมธุรกิจอยู่ที่ 3,893 ดัชนี HHI หลังรวมธุรกิจอยู่ที่ 5,167 และดัชนี HHI หลังการรวมธุรกิจ - ก่อนรวมธุรกิจ อยู่ที่ 1,274 เพิ่มขึ้น 32.72%

นอกจากนี้ ในส่วนของกลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค โดยข้อกังวลคือจำนวนผู้แข่งขันในตลาดจะเหลือเพียง 3 ราย เป็นเหตุให้การแข่งขันในตลาดลดลง และอาจไม่เกิดการพัฒนาด้านคุณภาพการให้บริการ และอาจให้บริการในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากผู้ให้บริการมีน้อยราย

ขณะเดียวกัน ด้านความคิดเห็นและข้อกังวลเกี่ยวกับการควบรวมธุรกิจ สำหรับผู้ให้บริการจะมีผลกระทบเชิงบวกจากการรวมธุรกิจ โดยผู้ให้บริการในส่วนของ 3BB สามารถให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเติมจากเดิม และให้บริการแบบ FMC (Fixed mobile convergence) 

"แม้การควบรวมจะทำให้ตัวเลือกผู้บริโภคลดลง แต่ผลกระทบไม่ได้อยู่ระดับประเทศ ซึ่งจะอยู่ระดับเขตเมืองเท่านั้น ขณะที่การรวมกันเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมมีมูลค่าของบริษัทขนาดเล็ก ซึ่งเล็กกว่า 7-8 เท่าของผู้ให้บริการรายอื่น จึงทำให้ไม่เกิดการกีดกันการเข้าสู่ตลาดของผู้ขอใบอนุญาตรายใหม่" ตัวแทนจากสำนักงาน กสทช. ระบุ

มองตลาดคอนเวอร์เจนท์ตัวชี้ชะตา

แหล่งข่าวจากกสทช. กล่าวเสริมว่า การรวมเอไอเอสและ 3BB ต้องดูในประเด็นบริการขายรวมแพคเก็จทุกอย่าง Convergence จะเป็นเรื่องชี้เป็นชี้ตายให้กับการควบรวมเพราะทรูและเอไอเอสเมื่อรวมกับ 3BB จะพ่วงบริการมือถือ เน็ตบ้าน และคอนเทนต์ ซึ่งตลาดนี้จะเหลือผู้เล่น 2 ค่ายใหญ่เท่านั้น ตัดเอาเอ็นทีออกไปเลยเพราะเอ็นทีไม่มีบริการที่ครบวงจร ซึ่งหากเกิดการให้บริการพ่วงแบบลดราคาเพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าสู่ระบบนิเวศของตน

ดังนั้น เชื่อได้ว่า แพคเก็จเฉพาะเน็ตบ้านอย่างเดียวที่มีราคาต่ำสุดที่ 499-599 บาทต่อเดือนจะทยอยยกเลิกไปในอีก 1 -2 ปีจากนี้ และราคาจะขยับเป็น 1190 บาทขึ้นไป โดยจะรวมเอาเน็ตบ้าน บริการเสริมโอทีที อาทิ Netflix Viu HBO หรือ กล่องรับชมคอนเทนต์เสริม ทั้งพรีเมียร์ลีก หรือ บาสเก็ตบอล NBA

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...