ลอยกระทง 2566 กทม. รณรงค์ 3 ปลอด ลดความเสี่ยง ป้องกันความสูญเสีย

กทม. รณรงค์ 3 ปลอด ลดความเสี่ยง ป้องกันความสูญเสีย จับมือหลายหน่วยงานเดินตามแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในช่วงเทศกาลลอยกระทง 2566

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ด้วยเทศกาลลอยกระทง เป็นการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ของชาวไทย เพื่อบูชาและระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา รวมทั้งประชาชนยังนิยมจุดพลุ ประทัด ดอกไม้เพลิง และปล่อยโคมลอยเพื่อความเป็นสิริมงคลในวันลอยกระทง แต่ปรากฏว่าในช่วงเทศกาลลอยกระทงมีการเกิดอุบัติเหตุจากการเล่นดอกไม้เพลิง การจุดพลุ และเกิดเพลิงไหม้อาคารบ้านเรือนจากการปล่อยโคมลอย รวมทั้งอุบัติเหตุทางถนน ทางน้ำ และเรือล่ม ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต 

สำหรับวันลอยกระทงในปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งกรุงเทพมหานครได้รณรงค์มาตรการ 3 ปลอด คือ 

1. ปลอดจากวัสดุไม่ธรรมชาติ 100% (โฟม เข็มหมุด ตะปู ลวดเย็บกระดาษ) 

2. ปลอดจากประทัด โคมลอย พลุ (ห้ามขาย ห้ามจุด ห้ามปล่อย) 

3. ปลอดอันตรายจากโป๊ะ-ท่าเรือไม่แข็งแรง (ตรวจความมั่นคง แข็งแรงและจัดเจ้าหน้าที่ดูแลประจำโป๊ะ-ทำเรือ) 

เนื่องจากคาดว่าจะมีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะท่าเทียบเรือโดยสารริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากท่าเทียบเรือพัง โป๊ะล่ม รวมทั้งความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย และอันตรายจากการเล่นดอกไม้เพลิงและโคมลอย เพื่อเป็นการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้น 

กรุงเทพมหานคร จึงจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในช่วงเทศกาลลอยกระทงของกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566 เพื่อกำหนดมาตรการและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วน ในการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์สาธารณภัยในช่วงเทศกาลลอยกระทงที่อาจเกิดขึ้นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดสาธารณภัย และลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยกำหนดมาตรการ แนวทาง และขั้นตอนการปฏิบัติตั้งแต่ขั้นเตรียมการก่อนเทศกาลลอยกระทง (ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป) ขั้นปฏิบัติการระหว่างเทศกาลลอยกระทง และขั้นปฏิบัติการหลังเทศกาลลอยกระทง 

...

พร้อมกันนี้ ยังได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง มาตรการป้องกันอันตรายในช่วงเทศกาลลอยกระทง ประจำปี 2566 และขอความร่วมมือจากผู้ผลิต สะสม จำหน่าย ผู้เล่นดอกไม้เพลิงและโคมลอย ตลอดจนผู้จัดงานเทศกาลลอยกระทง และประชาชนในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร ดังนี้ 

1. กรุงเทพมหานคร ได้กำหนดแผนป้องกันอันตรายจากดอกไม้เพลิง และการเล่นโคมลอยและจัดตั้งชุดเฉพาะกิจจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบ ตรวจตราสถานประกอบการที่ผลิตสะสม และจำหน่ายดอกไม้เพลิงอย่างเข้มงวดตามกฎหมาย ตลอดจนจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจรตามสถานที่ต่างๆ ในช่วงเทศกาลลอยกระทงเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความปลอดภัยสูงสุดแก่ประชาชน 

2. ห้ามมิให้ผู้ใดจุดและปล่อย หรือกระทำการอย่างใด เพื่อให้บั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ขึ้นไปสู่อากาศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการเขตพื้นที่นั้น หากผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามเป็นความผิดตามกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

ส่วนผู้ประสงค์จะขอจุดและปล่อย หรือกระทำการอย่างใด เพื่อให้บั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกันขึ้นไปสู่อากาศ ให้ยื่นแบบคำขอรับใบอนุญาต พร้อมแผนการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อผู้อำนวยการเขตพื้นที่ หากเกิดเหตุเพลิงไหม้ แจ้งศูนย์วิทยุพระราม โทร. 199 

3. ห้ามมิให้ผู้ใดทำ สั่ง นำเข้า หรือค้าซึ่งดอกไม้เพลิง รวมตลอดถึงพลุ ประทัดไฟ ประทัดลม และวัตถุอื่นใด อันมีสภาพคล้ายคลึงกัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

4. ขอความร่วมมือสถานประกอบการ สถานบันเทิง ผู้จัดงาน หรือเจ้าของพื้นที่ที่จัดงานเทศกาลลอยกระทง ตรวจสอบความปลอดภัยของสถานที่จัดงาน รวมถึงอุปกรณ์เครื่องเล่นต่างๆ ภายในงาน หากพบจุดเสี่ยงอันตรายหรืออุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหายให้ดำเนินการแก้ไขให้มีความปลอดภัยหรือประสานผู้รับผิดชอบดำเนินการทันที ตลอดจนจัดกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย คอยดูแลสอดส่องและช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน กำหนดเส้นทางเข้า-ออก เพื่อลดความหนาแน่นในพื้นที่ 

5. แจ้งเตือนประชาชน เพิ่มความระมัดระวังในการดูแลบุตรหลานหรือเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันเด็กจมน้ำ หรือพลัดหลง และจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับช่วยคนตกน้ำไว้บริเวณพื้นที่สำหรับลอยกระทง ให้ลอยกระทงในพื้นที่ที่มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นท่าน้ำหรือโป๊ะเรือต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอ และมีที่กั้นหรือราวจับเพื่อป้องกันการตกน้ำ หากขึ้นเรือลอยกระทงกลางแม่น้ำ ควรสวมเสื้อชูชีพ และรณรงค์ให้ผู้มาร่วมงานเทศกาลลอยกระทง งดดื่มแอลกอฮอล์หรือเสพของมึนเมาชนิดต่างๆ เพื่อป้องกันการพลัดตกน้ำ หรือประสบอุบัติเหตุจากการขับขี่ และผู้เดินเท้าต้องข้ามถนนโดยใช้ทางข้าม หรือที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยให้ความสะดวก หากพบผู้บาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน แจ้งศูนย์เอราวัณ โทร. 1669

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...