“พิพัฒน์” เผย ไม่มียอดขอกลับไทยเพิ่ม แรงงานอีก 20,000 ยังอยู่อิสราเอล

“พิพัฒน์” เผย ไม่มียอดลงทะเบียนขอกลับเพิ่ม แรงงานไทย 20,000 คน ยังอยู่อิสราเอล เหตุมีหนี้ นายจ้างเพิ่มเงินจูงใจ เลื่อนจ่ายค่าแรง เร่งหาตำแหน่งงานในเกาหลีใต้-ออสเตรเลีย ทดแทน

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา และคณะอนุกรรมาธิการฯ ที่เข้าประชุมหารือการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล อาทิ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ การขาดแคลนแรงงานในภาคการท่องเที่ยว การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ และแนวทางการช่วยเหลือแรงงานไทยในประเทศอิสราเอล โดยหลังประชุมยังได้ตรวจเยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือแรงงานและติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล ซึ่งตั้งอยู่ใต้ตึกกระทรวงแรงงาน และสอบถามพูดคุยกับแรงงานไทยที่เข้ามายื่นเอกสารขอรับเงินเยียวยาด้วย 

พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ผลการหารือในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการขับเคลื่อนนโยบายด้านแรงงานให้สอดคล้องตามเป้าหมาย โดยเฉพาะเรื่องเร่งด่วน คือการนำแรงงานในอิสราเอลกลับประเทศไทย รัฐบาลพยายามพากลับมาและมีค่าชดเชย รวมทั้งมีมาตรการต่างๆ ออกมา โดยในช่วงที่ตนเป็น รมว.แรงงาน ก็เคยไปอิสราเอล เคยมีการเตรียมแผนอพยพคนไทยมาก่อนแล้ว ทั้งทางบก เรือ และเครื่องบิน สิ่งเหล่านี้จะทำตามลำพังไม่ได้ ทุกหน่วยงาน รวมทั้งหน่วยงานความมั่นคง ต้องใช้พลังทั้งหมดที่มีอยู่ดำเนินการร่วมกัน

...

ทางด้าน นายพิพัฒน์ กล่าวว่า การอพยพคนงานไทยที่ลงทะเบียนขอกลับกว่า 8,500 คน ขณะนี้กลับมาแล้ว 5,500 คน โดยมีแรงงานเข้ามาวันละ 500-800 คน และจะนำอีก 3,000 คน ที่ลงทะเบียนกลับมาได้หมดภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ ส่วนอีก 20,000 คน ที่ยังอยู่ในอิสราเอล พบว่าใน 3-4 วันที่ผ่านมา ไม่มีการลงทะเบียนขอกลับเพิ่ม ในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีให้หาทางนำกลับมาให้มากที่สุด เพราะสงครามลามจากภาคใต้ไปภาคเหนือของอิสราเอลแล้ว จึงจะหาวิธีการรณรงค์ให้กลับ นอกจากการชดเชย 15,000 บาท จะมีเงินเยียวยาเพิ่มเติมอีก ซึ่งอาจต้องของบกลางจากนายกรัฐมนตรี  

“เมื่อสถานการณ์มีความเสี่ยงก็ต้องนำกลับ โดยจะหาช่องทางสื่อสารทางโซเชียลไปถึงกลุ่มคนงานให้รับรู้ถึงสิทธิประโยชน์พิเศษบางอย่างหากกลับมา เช่น หนี้สินจะพักต้นพักดอกเป็นเวลา 3 ปี ส่วนที่จะนำงบกลางมาเยียวยานอกเหนือจากเงินเยียวยาจากกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ จำนวน 15,000 บาท ขึ้นกับดุลยพินิจของนายกฯ”

ทั้งนี้ เมื่อถามถึงกรณีแรงงานไทยไม่กลับเพราะมีการจูงใจให้ค่าจ้างเพิ่ม และนายจ้างยื้อเวลาจ่ายเงินเดือนนั้น นายพิพัฒน์ ระบุว่า ที่อิสราเอลจะจ่ายเงินในวันที่ 9 ของเดือนถัดไป จึงขอให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตามเวลาเพื่อให้คนไทยกลับบ้าน ส่วนที่นายจ้างเพิ่มเงินจูงใจเพราะอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวพืชผลการเกษตร ก็ต้องเห็นใจนายจ้างในภาคอื่นที่ไม่มีผลกระทบความรุนแรง เช่น ภาคกลาง ส่วนทางใต้มีการอพยพออกมาหมดแล้ว หากไม่กลับมาก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร ก็ต้องฝากรัฐบาลมีอะไรที่จะจูงใจได้ไหม ที่ไม่กลับเป็นเพราะกังวลหนี้สิน ส่วนคนที่กลับมากระทรวงแรงงานจะหางานในประเทศอื่นให้ทดแทน ซึ่งจะเป็นงานด้านการเกษตรในประเทศเกาหลี และแรงงานที่มีทักษะสูงสามารถไปทำด้านการเกษตรที่ประเทศออสเตรเลีย โดยกลางเดือนพฤศจิกายน 2566 ตนจะเดินทางไปออสเตรเลียเพื่อหาตำแหน่งงานให้แรงงานไทย.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...