'ไอติม' ชวน ปชช.จับตารัฐบาล หลังสภาตีตกคำถามประชามติ รธน.ใหม่ 'ก้าวไกล'

เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2566 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวภายหลังที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นด้วย ด้วยคะแนนเห็นด้วย 162 ไม่เห็นด้วย 261 ต่อญัตติที่นายพริษฐ์ และพรรคก้าวไกลเสนอตามกลไกของ พ.ร.บ. ประชามติ มาตรา 9 (4) เพื่อให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ด้วยคำถามที่ว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ แทนที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ฉบับปัจจุบัน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน” นั้น

นายพริษฐ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องน่าเสียดาย ที่สภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ ไม่สนับสนุนญัตติเรื่องการจัดประชามติและ “คำถาม” ประชามติเกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่เคยถูกเสนอโดยพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยและได้รับความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จาก สส. ทุกพรรคการเมืองหลัก เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2565 หรือไม่ถึง 1 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น ในเมื่อช่องทางผ่านรัฐสภาถูกปิดลง ช่องทางที่เหลือเกี่ยวกับการจัดประชามติเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมถึงอำนาจในการกำหนดคำถามประชามติ จะขึ้นอยู่กับคณะรัฐมนตรี ผ่าน 2 ช่องทางหรือกลไกที่เหลืออยู่ของ พ.ร.บ.ประชามติ นั่นคือ

  • ครม. มีมติด้วยตนเอง (มาตรา 9(2))
  • ครม. อนุมัติจัดประชามติตามข้อเสนอของประชาชนที่รวบรวมรายชื่อ (มาตรา 9(5))

นายพริษฐ์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีนายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ระบุจะส่งหนังสือถึงหัวหน้าพรรคก้าวไกล เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 นั้น พริษฐ์กล่าวว่า ตอนนี้ ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้รับการประสานงานจาก นิกร จำนง ประธานอนุกรรมการฯ และได้ตอบรับการนัดหารือเรียบร้อยแล้ว เพื่อยื่นข้อเสนอและความเห็นของพรรคทั้งหมดต่อคณะกรรมการศึกษาฯ โดยคาดว่าการหารือจะมีขึ้นช่วงกลางเดือน พ.ย.นี้

นายพริษฐ์ กล่าวด้วยว่า ย้ำว่าพรรคก้าวไกลได้ประกาศตั้งแต่ต้น ว่าแม้พรรคไม่เข้าร่วมคณะกรรมการศึกษาแนวทางการจัดทำประชามติฯ ในฐานะกรรมการ แต่ยินดีให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล ความเห็น และข้อเสนอของพรรค นอกจากนั้น คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ ของสภาผู้แทนราษฎร ที่ตนเป็นประธาน จะมีการตั้งอนุกรรมาธิการขึ้นมาในการประชุมวันพรุ่งนี้ (26 ตุลาคม) เพื่อจัดทำข้อเสนอและทางเลือกต่างๆ เกี่ยวกับระบบเลือกตั้งที่สามารถนำมาใช้ในการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) และยื่นให้คณะกรรมการของรัฐบาลในการประกอบการตัดสินใจ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

รมต.สหราชอาณาจักร เสร็จภารกิจเยือนไทยย้ำร่วมมือ รัฐบาลแพทองธาร

แคทเธอรีน เวสต์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนา รับผิดชอบกิจการอินโด-แปซิฟิก (รม...

'อิสราเอล' ถล่มกรุงเบรุตเด็ดชีพผบ. 'ฮิซบอลเลาะห์' มีผู้เสียชีวิตแล้ว 14 ราย

สำนักข่าวเอพีรายงาน พล.ร.ต.แดเนียล ฮาการี โฆษกกองกำลังป้องกันอิสราเอลกล่าวยืนยันว่า อิสราเอล สามารถป...

‘บัฟเฟตต์’ มอบเงินมหาศาลให้การกุศล แต่ทำไมถึงไม่มอบเงินก้อนโตให้ลูกๆ ตัวเอง

วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) หนึ่งในนักลงทุนระดับตำนานที่ร่ำรวยที่สุดในโลก มียอดทรัพย์สินสุทธิ ...

ค่ายรถไฟฟ้าเวียดนามอ่วมหนัก 'วินฟาสต์' ขาดทุนพุ่ง 27% ไตรมาส 2

บริษัทวินฟาสต์ (Vinfast) ค่ายรถไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/2024 ขาดทุนเพ...