สศค.แนะเร่งเพิ่มทักษะการเงินกลุ่มคนภาคอีสาน เหนือ และชายแดนใต้

นายพรชัย  ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยผลการสัมมนาวิชาการ Fis and Fin Forum 2023 ของสศค.ว่า การจัดสัมมนานี้มีขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอแนวคิดเชิงนโยบายของข้าราชการ สศค. พร้อมทั้งรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาปรับใช้กับการดำเนินโยบายเศรษฐกิจการเงินการคลังของไทย

 

สำหรับในช่วงเช้าของการสัมมนา เป็นการนำเสนอผลงานวิชาการของข้าราชการ สศค. ในหัวข้อ “แผนที่การเงินครัวเรือนไทย: เข็มทิศการพัฒนาทักษะทางการเงิน” นำเสนอโดยนางสาวเบญญาภา  สุขีนุ เศรษฐกรชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งเศรษฐกรชำนาญการพิเศษ นายกวิน  เอี่ยมตระกูล เศรษฐกรชำนาญการ นายสัณหณัฐ  เศรษฐศักดาศิริ เศรษฐกรชำนาญการ และนายอิทธิพัฒน์  ประภาประเสริฐ เศรษฐกรปฏิบัติการ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

สศค. ได้นำเสนอเครื่องมือการวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนนโยบายและการดำเนินการของภาคการเงิน ตามแผนปฏิบัติการฯ โดยสามารถแบ่งได้ 2 ส่วน คือ 1) การสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็นต่อการดำเนินการพัฒนาทักษะทางการเงิน อาทิ การศึกษาระดับทักษะทางการเงินเชิงพื้นที่ และการจัดทำดัชนีปัจจัยพื้นฐานทางการเงินเชิงพื้นที่ (Spatial Financial Fundamental Index: SFFI) เพื่อสะท้อนระดับการบริหารจัดการทางการเงิน การออมและการลงทุน และการเข้าถึงบริการทางการเงินในมิติต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์ร่วมกับการระบุตำแหน่งกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับการพัฒนาทักษะทางการเงินอย่างเร่งด่วน (กลุ่มเป้าหมายฯ) เปรียบเสมือนการสร้างแผนที่ทางการเงินของครัวเรือนไทย ซึ่งพบว่า กลุ่มเป้าหมายฯ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ภาคเหนือ และชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีระดับทักษะทางการเงินและความพร้อมของปัจจัยพื้นฐานทางการเงินที่ค่อนข้างต่ำ

2) การนำเสนอแบบจำลองสมการถดถอยเชิงพื้นที่ (Spatial Regression Analysis) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับสุขภาวะทางการเงินผ่าน “ดัชนีรวมสุขภาวะทางการเงิน” ทั้งนี้ เมื่อเชื่อมโยงผลการศึกษาทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของพื้นที่ต่าง ๆ ได้ กล่าวคือ พื้นที่เป้าหมายเร่งด่วน (First Priority) เป็นพื้นที่ที่มีกลุ่มเป้าหมายในสัดส่วนที่สูงและมีระดับสุขภาวะทางการเงินที่ต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และชายแดนภาคใต้ เช่น ศรีสะเกษ (18 อำเภอ) อุบลราชธานี (15 อำเภอ) สุรินทร์ (14 อำเภอ) ชัยภูมิ (11 อำเภอ) นราธิวาส (10 อำเภอ) และแม่ฮ่องสอน (4 อำเภอ) เป็นต้น ทำให้สามารถระบุได้ทั้งพื้นที่ที่ควรให้ความช่วยเหลือ และปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่ควรได้รับการพัฒนา เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นเข็มทิศเพื่อการพัฒนาทักษะทางการเงินให้แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สศค. มุ่งหวังว่า การนำเสนอผลงานวิชาการนี้จะช่วยพัฒนาแนวทางในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานด้านการพัฒนาทักษะทางการเงินได้อย่างเหมาะสมและตรงตามวัตถุประสงค์ และอาจรวมถึงนโยบายด้านการเงินอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ประชาชนไทยมีระดับทักษะทางการเงินที่เพิ่มขึ้น นำไปสู่ Financial Well-being หรือผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะช่วยสร้างความมั่นคงและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและยั่งยืนต่อไป

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...