ธปท.ห่วง ‘หนี้ครัวเรือน’ ฉุดเศรษฐกิจ!

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ บรรยายพิเศษหัวข้อ Jump Start the New Engine ในงาน Thailand Economic Outlook 2024 Change the Future Today เปลี่ยนอนาคตเศรษฐกิจไทยต้องเริ่มวันนี้ จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการฟื้นตัวจากการบริโภคในประเทศไตรมาส 2 เติบโตค่อนข้างดีมีสัดส่วน 7.8% สูงสุดในรอบ 20 ปี เงินเฟ้อเดือน ส.ค.อยู่ที่ 0.9% ต่ำสุดในอาเซียน แต่ยังแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปัญหาเอลนีโญราคาเกษตรสูงขึ้น รวมถึงนโยบายภาครัฐอาจทำให้เงินเฟ้อขยับสูงขึ้น ด้านเสถียรภาพหนี้ครัวเรือนสูง 90.7% ของจีดีพี ยอดหนี้ NPL อยู่ที่ 2.6%

สิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นห่วงคือ ศักยภาพเศรษฐกิจของไทย เพราะยังมีปัญหาเรื้อรังโดยเฉพาะปัญหาหนี้ครัวเรือน รวมถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไทยเน้นเรื่องการใช้เงินขับเคลื่อนเศรษฐกิจพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่จุดอ่อนไหวทำให้เกิดปัญหา คือ ปัญหาแรงงาน บุคคลากร หนี้ครัวเรือน การศึกษา จึงต้องหันมาดูแลปัญหาเหล่านี้

ทั้งนี้ ยอมรับว่าขณะนี้การฟื้นตัวเศรษฐกิจ มาจากยอดนักท่องเที่ยวไหลเข้าประเทศและในปีหน้า คาดการณ์จีดีพีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการส่งออกเริ่มดีขึ้น และมีแรงส่งฟื้นตัวต่อเนื่องเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังพอใจหากแก้ปัญหาเหล่านี้จะมีโอกาสฟื้นตัว

ส่วนกระแสข่าวว่ารัฐบาลมีความขัดแย้งกับ ธปท. ในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา หากเป็นในเรื่องความเห็นที่ไม่ตรงกันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำงานด้วยกันไม่ได้ 

ทั้งนี้ยืนยันว่าการไปพบทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เมื่อวันที่ 2 ต.ค. ที่ผ่านมา ไม่ได้พูดถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต โดยตนในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ต คาดว่าจะมีการนัดประชุมในเร็ว ๆ นี้ ซึ่ง ธปท. จะใช้โอกาสนี้ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อห่วงใยในการดำเนินมาตรการนี้ในคณะกรรมการชุดดังกล่าว

โดยการหารือกับนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นการพูดคุยกันในหลายเรื่อง บรรยากาศการพูดคุยเป็นไปด้วยดี ตรงไปตรงมา ธปท. ได้แลกเปลี่ยนมุมมองด้านเศรษฐกิจ โดยนายเศรษฐาก็ได้สั่งการบ้านกลับมา ก็มีทั้งเรื่องที่เห็นตรงกันและไม่ตรงกัน เป็นเรื่องปกติ เพราะว่าเราต่างสวมหมวกกันคนละใบ ก็ต่างรับฟังกันทั้ง 2 ฝ่ายและต่างก็รับกันไปพิจารณา

จับตาเงินบาทอ่อน ยันไม่แทรกแซงค่าเงิน

สำหรับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าแตะ 37 บาทต่อดอลลาร์ ผันผวนสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาจากปัจจัยภายนอกเป็นหลักโดยเฉพาะการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ จากความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะคงดอกเบี้ยไว้นานกว่าที่คาด นอกจากนี้ ยังมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากราคาทองคำที่ปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 7 เดือน

ส่วนในแง่ของภาพรวมค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจะส่งผลกระทบต่อสเถียรภาพของเศรษฐกิจหรือไม่อย่างไรนั้น  ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีภูมิคุ้มกันที่ดี คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยกลับมาเกินดุลจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการต่างๆ กลับมาและการส่งออกยังเพิ่มขึ้น

สำหรับแนวนโยบายในการดูแลธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่ฝืนการทำงานของกลไกการตลาดมีความเสี่ยงมาก สิ่งที่จะทำคือเมื่อไหร่ที่เห็นความผันผวนที่สูงเกินไปและไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงพื้นฐานโอกาสที่จะเข้าไปดูแลจะมีมากขึ้น

ทั้งนี้ ธปท. ได้ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด โดยไม่ฝืนการทำงานของกลไกการตลาดมีความเสี่ยงมาก สิ่งที่จะทำคือเมื่อไหร่ที่เห็นความผันผวนที่สูงเกินไปและไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงพื้นฐานอาจพิจารณาเข้าดูแลหากเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติเพื่อไม่ให้กระทบต่อการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...