'ไกลก้อง' แจงละเอียดปมร่วมคณะ 'ปดิพัทธ์' บินดูงานรัฐสภาสิงคโปร์

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2566 นายไกลก้อง ไวทยาการ แกนนำคณะก้าวหน้า อดีต สส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการขับเคลื่อนรัฐสภาโปร่งใสสมรรถนะสูง เปิดเผยการเดินทางไปศึกษาดูงานที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ ของนายปดิพัทธ์ สันติภาดา สส.พิษณุโลก เขต 1 พรรคก้าวไกล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และคณะ ซึ่งมี สส.ทั้งพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทยร่วมเดินทางด้วย ในระหว่างวันที่ 21 ถึง 24 ก.ย.ที่ผ่านมา

นายไกลก้อง ระบุว่า ในวันที่ 22 ก.ย. ตนและคณะได้เข้าพบ รองประธานรัฐสภาสิงคโปร์ เพื่อหารือการพัฒนา Smart Parliament ที่รัฐสภาสิงคโปร์ พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็น เรื่องความหลากหลายในรัฐสภาโดยเฉพาะสัดส่วน สส.สตรีที่รัฐสภาสิงคโปร์มีสัดส่วนถึงร้อยละ 30 ทั้งนี้ได้นำข้อมูลต่าง ๆ เผยแพร่ในเว็บไซต์ของรัฐสภาแล้ว ยังมีแอปพลิเคชันที่ใช้สื่อสารกับสมาชิกรัฐสภา ที่เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อยืนยันตัวผ่านระบบ Sing Pass และมีจุดผู้มาเยี่ยมติดต่อรัฐสภา ที่เป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ และส่วนบริการข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ

ในช่วงบ่าย เข้าพบ เอกอักคราชฑูตไทย ประจำสิงคโปร์ เพื่อรับฟังสรุปความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสิงคโปร์ โดยประเทศไทย และสิงคโปร์ เคยลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการเป็นหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจดิจิทัลเมื่อปี 2564 หรือ The Digital Economy Partnership Agreement (DEPA) ไว้ ส่วนความสัมพันธ์ทางด้านอื่น ๆ ถือว่าอยู่ในระดับดี จากนั้นพบกับตัวแทนนักเรียนไทยในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในสิงคโปร์ ก่อนไปพบผู้ที่มาทำงานสายเทคโนโลยี เพื่อหาแนวทางทำอย่างไรให้ประเทศไทย ดึงดูดคนทำงานสายเทคโนโลยี และ Start up มากกว่านี้

นายไกลก้อง ระบุอีกว่า ต่อมาวันที่ 23 กันยายน คณะฯ ได้พบภาคเอกชนที่เป็นธุรกิจ Start up ด้านยานยนต์ไฟฟ้า, แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และในช่วงเย็น ได้ไปเยี่ยมเยียนคนงานไทยที่พักคนงานที่มาทำงานก่อสร้าง ระหว่างการตั้งวงสังสรรค์หลังเลิกงานในช่วงเย็นวันเสาร์ เพื่อสอบถามถึงความเป็นอยู่ และการมาทำงานในสิงคโปร์

และวันสุดท้ายในวันที่ 24 กันยายน คณะฯ เดินทางไป Marina Barrage หรือ เขื่อนกั้นปากแม่น้ำสิงคโปร์ ที่เปิดใช้งานเมื่อปี 2008 เพื่อให้สิงคโปร์มีแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ผลิตน้ำประปาดื่มได้ ป้องกันน้ำท่วม และเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เพราะสิงคโปร์ เป็นเกาะที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรจากประเทศอื่น โดยเฉพาะน้ำ ดังนั้น การสร้าง Marina Barrage จึงเป็นเขื่อนกั้นน้ำจืดจากแม่น้ำสิงคโปร์ไม่ให้ไหลลงทะเลหมด และผันน้ำเข้าสู่ water bank ขนาดยักษ์ใต้ดินนำไปผลิตเป็นประปาดื่มได้

จากนั้นในช่วงบ่าย ได้ทานอาหารกลางวัน และพูดคุยกับ สส.พรรคคนงาน หรือ Workers' Party ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านของสิงคโปร์ มีที่นั่งในสภาฯ 8 ที่นั่ง เพื่อพูดคุยถึงการทำงานเป็นฝ่ายค้านที่มีเสียงน้อยมาก ในรัฐสภา โดยกลุ่ม สส.ฝ่ายค้านสิงคโปร์ เล่าว่า มีความยากในการทำงาน และ การมีบทบาทของฝ่ายค้านในสภาฯ ฝั่งรัฐบาลสิงคโปร์มีการปรับตัวตอบสนองประชาชนตลอด และยังเข้าถึงทรัพยากรในการทำงานมากกว่า ทำให้ยังเป็นที่นิยม อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีโอกาสจากคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง และอยากให้เกิดความหลากหลายทางนโยบายของสิงคโปร์มาสนับสนุนพรรคฝ่ายค้านปัจจุบันมากขึ้น

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...