"วันนอร์" ยืนยัน โหวตนายกฯ 22 สิงหาคม เริ่มลงคะแนนเวลา 15.00 น.

ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อเวลา 13.30 น. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (วันนอร์) ประธานสภาฯ ฐานะประธานรัฐสภา ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประสานงาน และเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของประธานรัฐสภา และประธานสภาฯ เพื่อหารือก่อนการโหวตนายกฯ รอบ 3 ที่เบื้องต้นกำหนดนัดวันที่ 22 สิงหาคม โดยมีฝ่ายกฎหมายของสำนักงานเลขาธิการสภาฯ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง  ทั้งนี้ที่ประชุมใช้เวลาหารือ 2 ชั่วโมง

 

จากนั้น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา แถลงว่า เป็นการหารือในกรอบของกฎหมาย ก่อนการประชุมรัฐสภา วันที่ 22 สิงหาคม ซึ่งตนเตรียมจะออกระเบียบวาระประชุมรัฐสภาในวันพรุ่งนี้ (18 สิงหาคม) หลังจากที่ได้ประชุมวิป 3 ฝ่ายแล้ว ทั้งนี้การประชุมรัฐสภา วันที่ 22 สิงหาคม กำหนดเวลาเริ่มประชุม 10.00 น. เพื่อให้ สมาชิกรัฐสภามาประชุมกันให้พร้อมมากที่สุด อย่างไรก็ดีในวันดังกล่าวจะมีวาระพิจารณา 2 เรื่อง คือ ญัตติที่เสนอโดยนายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่ขอให้ทบทวนมติของรัฐสภา เมื่อ 19 กรกฏาคม ว่าด้วยการห้ามเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เสนอโหวตให้เป็นนายกฯ รอบสอง และวาระการโหวตนายกฯ

“สำหรับกรอบเวลานั้น ต้องหารือในที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายในวันพรุ่งนี้ ด้วยว่าจะใช้เวลาเท่าไร เบื้องต้นฝ่ายกฎหมายเสนอกรอบเวลา อยากให้เริ่มโหวตได้ เวลา 15.00 น. และแล้วเสร็จเวลา 17.30 น.  ดังนั้นญัตติของพรรคก้าวไกลนั้นคาดว่าจะใช้เวลาไม่มาก เนื่องจากไม่มีประเด็นสำคัญต่อการโหวตนายกฯ รอบนี้ อีกทั้งต้องการให้การโหวตนายกฯ เดินหน้า เนื่องจากเป็นเวลาเกือบ 3 เดือนที่ไม่มีนายกฯ ทำให้เป็นปัญหาต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รวมถึงการพิจารณาร่างกฎหมายที่ค้างในวาระของสภาฯ ชุดที่ผ่านมา ” นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าว

 

เมื่อถามถึงกรณีที่มีผู้เสนอให้ประสานไปยังพรรคเพื่อไทยถึงความพร้อมก่อนออกระเบียบวาระประชุมรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า “การเตรียมการประชุม เป็นสิ่งที่สภาฯ ​ต้องเตรียมความพร้อม ส่วนพรรคการเมืองจะเสนออย่างไร หรือเป็นใคร เป็นส่วนของพรรคการเมือง เมื่อมีการนัดประชุมแล้วต้องพร้อมเสนอชื่อ”

เมื่อถามย้ำว่า หากเสียงไม่พอจะเลื่อนการประชุมออกไปก่อนได้หรือไม่  นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ไม่มีใครประสานมา ดังนั้นในวันพรุ่งนี้(18 สิงหาคม) จะมีการออกระเบียบวาระ ส่วนการโหวตนั้นต้องได้เสียงสนับสนุน 375 เสียงขึ้นไป  ดังนั้นฝ่ายการเมืองต้องมีความพร้อม

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประเด็นที่มีข้อเสนอให้ ผู้ถูกเสนอชื่อโหวตเป็นนายกฯ ต้องแสดงวิสัยทัศน์ นั้น ที่ประชุมได้หารือกัน โดยยกข้อบังคับ และรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาพิจารณา โดยพบว่าไม่มีประเด็นใดที่กำหนดหรือบังคับให้ผู้ถูกเสนอชื่อต้องมาแสดงวิสัยทัศน์ ซึ่งต่างจากการเลือกประธาน และรองประธานสภาฯ ​ที่ข้อบังคับกำหนดไว้

 

อย่างไรก็ดี หากมีผู้ประสงค์ให้ผู้ถูกเสนอชื่อเข้ามาแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุมรัฐสภา สามารถเสนอเป็นญัตติและลงมติชี้ขาดได้ แต่ในมติของรัฐสภานั้นไม่มีอำนาจบังคับบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกปฏิบัติตาม ดังนั้นในประเด็นดังกล่าว ต้องขึ้นอยู่กับพรรคการเมือง ฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลว่าจะพิจารณาอย่างไร  ซึ่งในการประชุมวิป 3 ฝ่ายคาดว่าจะมีการซักถามในประเด็นดังกล่าวด้วย.

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

แหล่งข่าวเผย อิสราเอลแจ้งสหรัฐจะทำอะไรบางอย่างในเลบานอน!

เมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) กระทรวงสาธารณสุขเลบานอนแถลงว่า วิทยุมือถือ (ว.) ที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ใช้ ได้ระเ...

ว.ฮิซบอลเลาะห์ระเบิด แปะฉลาก ‘เมด อิน เจแปน’

ภาพถ่าย ว.ฮิซบอลเลาะห์ที่ระเบิดเมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) พบฉลาก “ICOM” และ “เมด อิน เจแปน” สำนักข่าวรอยเ...

'บิลลี ไอลิช-โจ โรแกน' เชียร์'คามาลา แฮร์ริส'

เว็บไซต์บลูมเบิร์กรายงาน ป็อปสตาร์ “บิลลี ไอลิช” โพสต์คลิปเคียงข้างพี่ชายบนอินสตาแกรม กระตุ้นให้ผู้ต...

‘รถไฟ’ กระจายความเจริญ กรณีศึกษา: โฮคุริคุ ของญี่ปุ่น | กันต์ เอี่ยมอินทรา

ได้เห็นการเชื่อมต่อด้วยระบบรางระหว่างกรุงเทพกับลาวแล้วก็อดคิดถึงรถไฟต่างประเทศไม่ได้ เพราะรถไฟไทยเรา...