'มูดีส์'ออกรายงานเตือนไทยมีความเสี่ยงหลายด้าน อาจถูกหั่นเรตติ้ง

Key Points

  • ภาพรวมเครดิตไทยมีเสถียรภาพ แต่ให้ระวังปัจจัยลบด้านต่างๆ ทั้งการเป็นสังคมผู้สูงวัย แรงงานขาดทักษะ และผลกระทบจากการเมือง
  • อันดับเครดิตของไทยมีแนวโน้มที่จะถูกปรับลดลงได้ หากตัวชี้วัดทางการคลังและภาระหนี้อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด
  • อาจมีแรงกดดันด้านลบต่ออันดับเครดิต หากความตึงเครียดทางการเมืองของไทยเพิ่มขึ้นในระดับที่จะทำให้สถาบันอ่อนแอลง และทำให้ดำเนินนโยบายยากลำบาก
  • ความตึงเครียดทางการเมืองที่ยืดเยื้อที่มีผลไปยังกระแสการลงทุน การท่องเที่ยวและกิจกรรมภาคการผลิตให้อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ก็มีผลด้านลบต่ออันดับเครดิต

มูดีส์ ระบุว่า ภาพรวมของไทยอยู่ในระดับ Baa1 stable (Baa1 มีเสถียรภาพ) แต่ให้ระวังปัจจัยลบในด้านต่างๆ ทั้งการเป็นสังคมผู้สูงวัย แรงงานขาดทักษะ และผลกระทบจากการเมืองที่หากมีความขัดแย้งมากขึ้น ก็อาจทำให้ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงได้

รายงาน Credit Opinion ของมูดีส์ฉบับนี้ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 7 ก.ย. เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย ล่าสุด หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงในการคาดการณ์ พบว่า ปัจจุบัน รัฐบาลไทยมีอันดับความน่าเชื่อถือที่ Baa1 และมีแนวโน้มอันดับเครดิตที่ มีเสถียรภาพ (stable outlook)

ภาพรวมอันดับเครดิตของประเทศไทย Baa1 stable (Baa1 มีเสถียรภาพ) นั้น สะท้อนถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ทำให้ประเทศมีความสามารถในการรับมือกับแรงกระแทก หรือภาวะช็อก ที่รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19

นอกจากนี้ กันชนทางการคลังขนาดใหญ่ของประเทศไทยก่อนเกิดการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ยังช่วยให้ประเทศไทยมีความสามารถในการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดอย่างแข็งแกร่งอีกด้วย แม้ว่าจะทำให้หนี้ภาครัฐเพิ่มขึ้นก็ตาม

เศรษฐกิจขนาดใหญ่และความหลากหลายของประเทศไทยยังเป็นแรงหนุนความสามารถในการรองรับผลกระทบฉับพลัน  จากการเปิดรับภาคการท่องเที่ยวทั่วโลก

ทั้งนี้ เงื่อนไขที่มีผลต่ออันดับเครดิต รวมถึงความเสี่ยงทางการเมืองและความท้าทายระยะยาวเชิงโครงสร้าง ในเรื่องสังคมสูงวัยและแรงงานขาดทักษะในการทำงาน มีผลต่อศักยภาพในการเติบโตในอนาคต

จุดแข็งของอันดับเครดิต
มูดีส์ระบุถึงจุดแข็งที่จะทำให้มีการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของไทยว่า คือการที่ภาระหนี้รัฐบาลมีน้อยและต้นทุนทางการเงินไม่สูง ,สถาบันเข้มแข็งที่สนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินและการคลัง ,ภาคต่างประเทศมีความแข็งแกร่งต่อเนื่อง

ความท้าทายของอันดับเครดิต
ความท้าทายที่อาจนำไปสู่การถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยคือ สังคมสูงวัย ระดับความสามารถของแรงงาน ที่มีผลต่อแนวโน้มการเติบโตระยะยาวและความเสี่ยงจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่ยังมีอยู่
ทั้งนี้ แนวโน้มอันดับเครดิตที่มีเสถียรภาพ (stable outlook) บ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่สมดุลต่ออันดับเครดิตของประเทศไทย ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของไทยอาจได้ประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ รวมถึงการยกระดับการดำเนินการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้มากกว่าที่ประเมินไว้ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ยังมีต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมจากสังคมสูงวัย และยังไม่ได้เห็นความสามารถของประเทศไทยในการรองรับเรื่องเหล่านี้ ขณะเดียว การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่มีประสิทธิผลในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงนโยบายการคลังที่รอบคอบ แม้จะมีความวุ่นวายในแวดวงการเมือง ก็มีส่วนทำให้แนวโน้มมีเสถียรภาพ
ปัจจัยที่อาจนำไปสู่การเพิ่มอันดับ
มูดีส์ ระบุในรายงานว่า อันดับเครดิตน่าจะได้รับการปรับเพิ่มหากมีแนวโน้มมากขึ้นว่า ระดับการลงทุนและความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นำไปสู่การเติบโตของผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอย่างน้อยจะช่วยชดเชยแรงฉุดการเติบโต ที่อาจเกิดขึ้นจากช่องว่างด้านทักษะ หรือระดับความสามารถของแรงงาน และประชากรสูงวัยในปัจจุบันได้บางส่วน ที่อาจเป็นผลจากการปฏิรูปโครงสร้างที่มีประสิทธิผลมากขึ้น และการเร่งดำเนินการโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ได้เร็วกว่าที่คาดในปัจจุบัน และ/หรือความเสี่ยงทางการเมืองที่ผ่อนคลายลงอย่างถาวร
แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยเช่นกัน
ปัจจัยที่อาจนำไปสู่การลดอันดับ
อันดับเครดิตของไทย มีแนวโน้มที่จะถูกปรับลดลงได้ หากตัวชี้วัดทางการคลังและภาระหนี้อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด นอกเหนือจากที่คาดการณ์ไว้ หรือ/และความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการปรับภาวะการคลังให้เข้าสู่สมดุล หรือการรัดเข็มขัดทางการคลัง (fiscal consolidation) ในระยะปานกลางลดลง ซึ่งส่งผลให้ความแข็งแกร่งทางการคลังของรัฐบาลถดถอยอย่างต่อเนื่อง
 นอกจากนี้ อาจมีแรงกดดันด้านลบต่ออันดับเครดิต หากความตึงเครียดทางการเมืองของไทยเพิ่มขึ้นในระดับที่จะทำให้สถาบันอ่อนแอลง และทำให้ดำเนินนโยบายยากลำบาก ความตึงเครียดทางการเมืองที่ยืดเยื้อที่มีผลไปยังกระแสการลงทุน การท่องเที่ยวและกิจกรรมภาคการผลิตให้อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ก็มีผลด้านลบต่ออันดับเครดิตเช่นกัน เนื่องจากจะมีผลถ่วงศักยภาพการเติบโตและกัดเซาะความแข็งแกร่งทางการคลังของประเทศไทย
แปลและเรียบเรียงจาก https://www.moodys.com/credit-ratings/Thailand-Government-of-credit-rating-747330/summary

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...