ก้าวไกล ติง ครม. รักษาความลับได้ แต่ต้องมาพร้อมกับความโปร่งใส

รองโฆษกก้าวไกล “ภคมน หนุนอนันต์” วิจารณ์ ปม ครม.ออกกฎรักษาความลับเกี่ยวกับการประชุม ชี้ทำได้ แต่ต้องโปร่งใส แนะเปิดเผยวาระก่อนถกเหมือนกับสภาฯ

วันที่ 22 กันยายน 2566 นางสาวภคมน หนุนอนันต์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองโฆษกพรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณี การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มติเห็นชอบแนวทางปฏิบัติในการรักษาความลับของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการประชุม

ครม. และการให้ข่าวสารแก่สื่อมวลชน ระบุว่า “รักษาความลับทำได้ ควบคู่กับการเปิดเผยข้อมูล (รัฐโปร่งใส)” มีการพูดถึงและวิพากษ์วิจารณ์กัน จึงมีความเห็น 8 ข้อ ต่อเรื่องนี้ ดังนี้

1. โดยหลักการแล้วเป็นเรื่องยอมรับได้ และเป็นเรื่องปกติของความเป็นมืออาชีพในองค์กร ที่ไม่ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นระดับบริหารหรือระดับปฏิบัติการ ให้ข้อมูลที่นอกเหนือนโยบายการสื่อสาร

2. แต่ในอีกด้าน การทำงานของรัฐบาล ซึ่งมีที่มาของอำนาจมาจากประชาชน ควรเปิดเผยข้อมูลของรัฐทุกภาคส่วนเพื่อให้ประชาชนตรวจสอบด้วยเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ส่วนบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งรัฐ ควรมีการขอการพิจารณาลับเป็นกรณีๆ ไป เป็นข้อยกเว้น

3. ดังนั้น การประชุม ครม. จึงมีความพิเศษ ซึ่งเป็นการประชุมกิจการที่สำคัญของประเทศ ซึ่งต้องมีลักษณะเป็นความลับพอสมควร แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องมีข้อมูลออกมามากเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนตรวจสอบได้เช่นกัน

4. ปัญหาของประเทศไทยคืออะไร? ปัญหาของประเทศไทยคือการเข้าถึงข้อมูลมติ ครม. ทำได้ยากเหลือเกิน และหลายครั้งมติ ครม. ที่มีการให้ข่าวออกมาไม่ใช่มติ ครม. ที่สำคัญ แต่มติ ครม. ที่สำคัญกับผลประโยชน์ของประชาชน เช่น โครงการที่ใช้งบประมาณมากๆ มักเป็นการพิจารณา “ลับ”

5. ในการแถลง Agenda หรือวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่มีการเปิดเผยวาระการประชุมมาก่อนเหมือนกับรัฐสภา และสรุปมติ ครม. ที่ออกมาคือการออกมาแค่ที่ ครม. อยากให้ออก มีอีกหลายมติที่สำคัญ ไม่แม้แต่ปรากฏให้ประชาชนรู้ว่ามีการประชุมวาระนี้ด้วยซ้ำ โดยเฉพาะมติ ครม. ที่เกี่ยวกับกิจการของกองทัพและสถาบันพระมหากษัตริย์ (ต่างจากสภาที่เรารู้ว่ามีวาระประชุมนี้ แต่วาระนี้พิจารณาลับ)

...

6. ช่องว่างในการปฏิบัติงานที่หลายครั้งเอกสารหลุดออกมา (ส่วนมากมักเป็นข้าราชการที่ทนเห็นความไม่ถูกต้องไม่ได้) จึงมีบทบาทสำคัญในหลายกรณีในการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน

7. เพื่อแก้ปัญหานี้ สิ่งที่รัฐบาลเศรษฐาเพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงในรอบ 20 ปีตามที่ทำกันมา

7.1 มีการเผยแพร่วาระการประชุมล่วงหน้าให้ประชาชนได้รับรู้ว่าในแต่ละสัปดาห์ รัฐบาลพิจารณาเรื่องอะไร เสนอเรื่องโดยใคร และใช้ขอประมาณเท่าไร โดยในกรณีที่เป็นเรื่องพิจารณาลับ รัฐบาลอาจปิดวาระพิจารณาได้ แต่ควรเปิดเผยชื่อของหน่วยงานที่เสนอเรื่องให้พิจารณาและงบประมาณ (ถ้ามีการขอ)

7.2 ในบางประเทศ มีการเก็บ record (อาจเป็นบันทึกชวเลขหรือเทปบันทึก) เพื่อเอาไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยมีการกำหนดระยะเวลาเผยแพร่ในอนาคต 

8. สรุป การออกมติ ครม. เรื่องการรักษาความลับเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็มีหน้าที่ทำให้การประชุม ครม. ที่กำหนดชะตาอนาคตของประเทศและเป็นพื้นที่จริงในการจัดสรรงบประมาณมีความโปร่งใสด้วย


อย่าลืมว่าพวกเราปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทุกการใช้อำนาจของรัฐบาลต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบของประชาชน ถ้าการใช้อำนาจของรัฐบาลไม่ถูกมองเห็น สิ่งที่เกิดขึ้นในห้องประชุม ครม. คงไม่ต่างอะไรกับการเอาเงินภาษีประชาชนมาแบ่งเค้กกันตามอำนาจที่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงของแต่ละพรรคมี

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...