“วราวุธ” วาง 3 ข้อขับเคลื่อน พม.เล็งแก้กฎหมาย 3 ฉบับ อัปเกรดศูนย์เด็กเล็ก

“วราวุธ” วาง 3 แนวทางขับเคลื่อนงาน พม. เปลี่ยนครหาคนมองกระทรวงเกรดต่ำ เป็นองค์การสร้างคนคุณภาพ เล็งแก้กฎหมาย 3 ฉบับ อัปเกรดศูนย์เด็กเล็ก เปิดพื้นที่สร้างสรรค์วัยรุ่นค้นหาตัวเอง สแกนเข้ม ครอบครัวอุปถัมภ์

เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 66 ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แถลงนโยบาย "พม. พอใจ : ให้ทุกวัยพึงใจใน พม." โดยมี นางสุวรรณา ศิลปอาชา ภริยา ผู้บริหารกระทรวงพม. คณะที่ปรึกษาเข้าร่วมรับฟัง นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดไปยังหน่วยงานต่างๆของกระทรวงพม.ในต่างจังหวัดได้ร่วมรับฟังด้วย

โดยนายวราวุธ กล่าวตอนหนึ่งว่า การขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หัวใจสำคัญในการทำงานมีอยู่ 3 ข้อ 1.การทำงานตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ทำให้เงินภาษีของประชาชนเกิดประโยชน์ที่สุด โดยตนจะไม่ยอมรับกับการคอร์รัปชันและการทุจริตใดๆ ทั้งสิ้น 2.สนับสนุน แก้ไขปัญหาอุปสรรคในการทำงานของเจ้าหน้าที่ 3.การทำงานต้องมีความแม่นยำ รวดเร็ว และสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยนำเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ และคิดนอกกรอบมาเปลี่ยนจากกระทรวงที่ถูกมองเป็นกระทรวงสังคมสงเคราะห์ กระทรวงเกรดต่ำ ให้เป็นกระทรวงที่ดึงศักยภาพคนทุกกลุ่มให้เป็นทรัพยากรบุคคล เป็นต้นทุนของสังคมไทย ดูแลให้กลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) ซึ่งมีอยู่ 17 ข้อ ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานของพม.ถึง 8 ข้อ

...

นายวราวุธ กล่าวว่า ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ จะมีการปรับปรุงกฎหมาย 3 ฉบับ คือ 1.พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ที่ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเด็กเล็กมากขึ้น 2.พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว เพื่อลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทย และ 3.พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทั้งในส่วนของการบริหารและการจัดการกองทุนให้มีความเข้มแข็ง ใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดนั้นต้องส่งเสริมให้เด็ก 0-6 ขวบ กว่า 4 ล้านคน เข้าถึงสิทธิ์นี้อย่างครอบคลุม

นายวราวุธ กล่าวว่า นอกจากนี้ต้องยกระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้โตมาอย่างมีคุณภาพ ผู้ดูแลต้องมีศักยภาพในการทำให้ช่วง 3 ปีแรกของชีวิตมีการพัฒนาเซลล์สมองให้มากที่สุด ส่วนกลุ่มเยาวชนต้องเปิดพื้นที่ให้สามารถค้นหาตัวตน ขณะเดียวกันก็สร้างกลไกครอบครัวอุปถัมภ์ที่แข็งแรง สามารถแก้ปัญหาให้กับเด็กกลุ่มเปราะบางได้ โดยเฉพาะเด็กที่หลุดจากระบบ โดยไม่เจาะจงว่าเป็นเคสไหน ครอบครัวอุปถัมภ์ที่จะเข้ามาดูแล หรือคนที่จะมาเป็นผู้ปกครอง ต้องไม่ใช่แค่คนที่ให้ที่นอน ให้อาหารเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจเด็ก เปลี่ยนมายเซ็ตของเด็กให้ดีด้วย ทั้งนี้จะมีการจัดทำโครงการศิลปะบำบัดมาใช้ นำร่องในกลุ่มเด็ก 3 จังหวัดชายแดนใต้

นายวราวุธ กล่าวด้วยว่า ส่วนวัยทำงานจะให้ความสำคัญกับคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงาน ด้วยการจัดโครงการบ้านตั้งตัว โดยให้ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ประสานเช่าตึกที่ไม่ได้ใช้งานในพื้นที่ต่างๆ มาปรับปรุงเป็นห้องเช่าคาคาถูก และในส่วนของนิคมสร้างตนเอง จะต้องพัฒนาศักยภาพคนในนิคมฯ ให้สามารถยืนบนขาด้วยตนเอง พัฒนาอาชีพสร้างมูลค่า ผ่านโครงการสร้างคุณค่าไทยในครอบครัวและชุมชน ดึงลูกหลานกลับมาสู่ครอบครัวและชุมชนเพื่อสร้างความอบอุ่น ขณะเดียวกันในกลุ่มผู้สูงวัยจะต้องเตรียมวันทำงานให้เป็นผู้สูงอายุแบบมีเงิน และจัดตั้งศูนย์ผู้บริบาลผู้สูงอายุในชุมชน.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...