“หมอชลน่าน” แจงนโยบายสาธารณสุข ผลักดันให้เห็นเป็นรูปธรรมใน 100 วันแรก

“หมอชลน่าน” รมว.สาธารณสุข พร้อมรัฐมนตรีช่วย “สันติ” ชี้แจงนโยบาย-แนวทางบริหาร ยกระดับ 30 บาทพลัส ผ่าน 12 ประเด็น สร้าง Quick Win เป็นรูปธรรมใน 100 วันแรก ย้ำดูแลทั้งประชาชนและบุคลากร ยกระดับเป็นกระทรวงร่วมส่งเสริมเศรษฐกิจ

วันที่ 15 กันยายน 2566 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุขวาระพิเศษ ซึ่งถือเป็นการประชุมครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี เพื่อชี้แจงนโยบายและแนวทางการบริหารงานกระทรวงสาธารณสุข 

นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ทิศทางของกระทรวงสาธารณสุขต่อจากนี้ นอกจากจะเป็นองค์กรหลักทางด้านสุขภาพแล้ว ต้องสามารถร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ด้วย โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งด้านอุตสาหกรรมการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พร้อมทั้งเฝ้าระวังความปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว 

...

สำหรับการขับเคลื่อนงานของกระทรวงสาธารณสุข จะน้อมนำและพัฒนางานสาธารณสุขตามแนวพระราชดำริ และโครงการเฉลิมพระเกียรติของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ รวมถึงยกระดับ 30 บาทพลัส ที่ครอบคลุมการดูแลสุขภาพในทุกมิติ ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีของคนไทย ผ่านนโยบาย 12 ประเด็น ได้แก่ 

1. โรงพยาบาล กทม. 50 เขต 50 โรงพยาบาล และปริมณฑล 

2. สุขภาพจิต/ยาเสพติด 

3. มะเร็งครบวงจร 

4. สร้างขวัญกำลังใจบุคลากร 

5. การแพทย์ปฐมภูมิ 

6. สาธารณสุขชายแดนและพื้นที่เฉพาะ 

7. สถานชีวาภิบาล 

8. พัฒนาโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย 

9. ดิจิทัลสุขภาพ 

10. ส่งเสริมการมีบุตร 

11. เศรษฐกิจสุขภาพ

12. นักท่องเที่ยวปลอดภัย 

“ใน 100 วันแรก กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันผลักดันนโยบายเรื่องต่างๆ ให้เห็น Quick Win (แผนปฏิบัติการเร่งรัด) ที่เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ขณะเดียวกัน จะไม่ละเลยการดูแลบุคลากรสาธารณสุขทุกคน เพราะเชื่อว่าเมื่อผู้ให้บริการมีความสุข ย่อมส่งผลถึงประชาชนผู้รับบริการด้วยเช่นกัน และหวังว่าเราจะมีระบบสาธารณสุขที่เหมาะสมสำหรับทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยต่อไป”

ขณะที่ นายสันติ กล่าวเสริมว่า จากการทำงานในพื้นที่มานานทำให้ทราบถึงปัญหาในการเข้ารับบริการสุขภาพของประชาชน ทั้งเรื่องภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การรอรับบริการนาน ดังนั้น จะช่วยขับเคลื่อนกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นที่พึ่งของประชาชนที่เจ็บป่วย โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ให้ได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่สะดวก รวดเร็ว สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของประชาชน รวมถึงส่งเสริมการดูแลสุขอนามัยแม่และเด็ก เพื่อเพิ่มบุคลากรที่มีคุณภาพมาพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ รองรับการเป็นสังคมสูงวัย ทำให้ประเทศชาติเดินหน้าไปได้อย่างมั่นคงแข็งแรง สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น 

ทางด้าน นพ.โอภาส ระบุว่า กระทรวงสาธารณสุขพร้อมที่จะดำเนินการตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่มีความตั้งใจจะพัฒนาระบบสุขภาพในทุกมิติ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยทุกหน่วยงานในกำกับของกระทรวงสาธารณสุขและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายไปพร้อมกับฝ่ายการเมืองอย่างสอดประสานและไร้รอยต่อ เพื่อให้การดำเนินงานด้านสาธารณสุขจากนี้ไป บรรลุตามเป้าหมายที่จะมุ่งสู่การสร้างสุขภาพคนไทย เพื่อสุขภาพประเทศไทยอย่างยั่งยืน.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...