ทั่วโลกใช้ ‘เครื่องปรับอากาศ’ เพิ่มขึ้น ดันความต้องการพลังงานสูงขึ้น 280%

จากรายงาน “World Energy Outlook” ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่า ภายในปี 2030 เครื่องปรับอากาศทั่วโลกจะต้องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 697 เทระวัตต์ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ถึงสามเท่า ในขณะเดียวกันยานยนต์ไฟฟ้าจะต้องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 854 เทระวัตต์ชั่วโมง IEA กล่าว

นักวิจัยจาก IEA กล่าวว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นในโลกกำลังพัฒนาและอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเพิ่มขึ้นมากกว่าการใช้ไฟฟ้าทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง และการใช้เครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นอย่างมากจะส่งผลกระทบต่อโครงข่ายไฟฟ้าของโลก ในทศวรรษหน้าอย่างใหญ่หลวงและคาดเดาไม่ได้

ปัจจุบันสหรัฐและญี่ปุ่น 90% ของครัวเรือนมีเครื่องปรับอากาศ แต่ในไนจีเรียมี 5% เท่านั้นที่มีเครื่องปรับอากาศ ส่วนอินโดนีเซียมี 15% และอินเดียมีน้อยกว่า 20%

ฟาติห์ บิโรล หัวหน้า IEA กล่าวในบทสัมภาษณ์กับ Financial Times ว่า “เมื่อระดับรายได้เพิ่มขึ้น และจากผลกระทบที่เพิ่มขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ผู้คนตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศ”

IEA กล่าวว่าการใช้พลังงานสำหรับเครื่องปรับอากาศในที่พักอาศัยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 280% ภายในปี 2050 หากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป โดยจะคิดเป็น 14% ปริมาณพลังงานที่ใช้ภายในอาคาร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ต่ำกว่า 7%

อย่างไรก็ตาม หากแต่ละประเทศสามารถทำตามแผนที่ให้คำมั่นสัญญาที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศไว้ได้อย่างครบถ้วน การใช้พลังงานของปรับอากาศยังคงเพิ่มขึ้นเกือบ 200% อยู่ดี เพราะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและเศรษฐกิจเกิดใหม่จะมีความต้องการเครื่องปรับอากาศเพิ่มมากขึ้นอย่างท่วมท้น ซึ่งความต้องการจะเพิ่มขึ้นอีกหากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดคลื่นความร้อนบ่อยขึ้น

โลกต้องการพลังงานมากกว่าที่คาด

ในปัจจุบันความต้องการไฟฟ้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นในอัตรา 1,000 TWh ต่อปี และคาดว่าในปี 2035 ความต้องการไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอีก 6% เป็น 2,200 TWh ซึ่งเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ ทำให้ประเทศต่าง ๆ ยากที่จะลดการปล่อยคาร์บอน

บิโรลกล่าวว่าในตอนนี้หลายประเทศเร่งเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังหมุนเวียนมากขึ้น โดยในปี 2024 มีการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนสูงขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปี 2023 ซึ่งเกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนโดยเศรษฐกิจ ไม่ใช่โดยนโยบายด้านสภาพอากาศ

แม้จะจะผลิตพลังงานสะอาดได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเทียบไม่ได้เลยกับกำลังไฟฟ้าที่โลกผลิต โดยตลอดปี 2023 การผลิตพลังงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำทั่วโลกเพิ่มขึ้นเพียง 4,800 TWh จากปี 2010 แต่การผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเกือบ 8,400 TWh ดังนั้นไฟฟ้าที่เหลือจึงต้องผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

ส่งผลให้ในปี 2023 มีการปล่อยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์

IEA ระบุว่า ความต้องการไฟฟ้าทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าภายในปี 2050 เป็น 50,000 tWh โดยจีนเป็นประเทศที่ต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นราวสองในสามของการเติบโต สาเหตุมาจากการใช้รถ EV และแอร์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการสร้างศูนย์ข้อมูลเพิ่มเติม

“พลังงานสะอาดกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น แต่การกำหนดนโยบายในปัจจุบันและสภาพตลาดยังไม่สามารถเติบโตเร็วพอที่จะก้าวไปสู่เส้นทางสู่เน็ตซีโร” รายงานระบุ

พลังงานที่มีการปล่อยมลพิษต่ำน่าจะผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของการใช้งานไฟฟ้าทั่วโลกภายในปี 2030 และเป็นเวลาเดียวกับที่การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังจะถึงจุดสูงสุด ทำให้จีนจะกลายเป็นประเทศที่บริโภคน้ำมันมากที่สุดในโลก แซงหน้าสหรัฐภายในปี 2030

ในทางกลับกัน เนื่องจากจีนต้องการพลังงานจำนวนมาก ทำให้จีนเป็นผู้นำในด้านการผลิตอุปกรณ์ที่สำหรับใช้ผลิตพลังงานหมุนเวียนเช่นกัน โดยเป็นผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์และเซลล์แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ากว่า 80% ที่โลกผลิตได้ 

นอกจากนี้ จีนยังเป็นประเทศที่มีรถไฟฟ้ามากที่สุดในโลก ซึ่งคนจีนเป็นเจ้าของรถไฟฟ้ามากกว่าครึ่งหนึ่งที่ใช้กันอยู่ในโลก และภายในปี 2030 คาดว่าเกือบ 70% ของรถยนต์ใหม่ที่ขายได้ในจีนจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเกือบ 40% ในปี 2023 ขณะที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกจะเพิ่มเป็น 50% ภายในปี 2030 หากประเทศต่าง ๆ ปฏิบัติตามนโยบายด้านสภาพอากาศที่ประกาศไว้ 

ขณะเดียวกัน พลังงานสะอาดโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลสูงสุดก่อนปี 2030 จากนั้นการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะลดลงจนเหลือ 58% จากทั้งหมดในปี 2050 ทั้งนี้คาดว่าจีนจะสามารถบรรลุเป้าหมายการติดตั้งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ในปี 2030 ได้ ตั้งแต่ในปี 2024

การลงทุนในพลังงานหมุนเวียนคาดว่าจะสูงถึง 850,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2030 โดยกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า แต่ IEA ระบุว่าจำเป็นต้องการขยายการลงทุนด้านพลังงานสะอาดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรสองในสามของโลก และมีการลงทุนเพียง 15% ในปัจจุบัน เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคเน็ตซีโรให้เร็วที่สุด


ที่มา: Financial Times, Nikkei, The New York Times, The Wall Street Journal

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ลมพายุใหญ่ทำให้หลายอย่างในสหรัฐชัดขึ้น

นอกจากจะทำความเสียหายร้ายแรงในรัฐฟลอริดาแล้ว พายุเฮลีนยังพัดต่อไปทำความเสียหายร้ายแรงในรัฐอื่นอีกด้ว...

นายกฯ อิสราเอลชี้ สังหารผู้นำฮามาส ‘จุดเริ่มต้นยุติสงครามกาซา’

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน ตามที่กองทัพอิสราเอลแถลงว่า หลังจากไล่ล่ามาอย่างยาวนาน กองทัพก็ “ขจัด นายยาห์...

ทุกคะแนนมีค่า ‘แฮร์ริส-ทรัมป์’ เดินสายให้สัมภาษณ์ขยายฐานเสียง

สำนักข่าวเอพีรายงาน เมื่อไม่กี่วันก่อน คามาลา แฮร์ริส ให้สัมภาษณ์ชาร์ลามาญ (Charlamagne tha God) เจ้...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า (3) | World Wide View

เสียมราฐ เป็นจังหวัดสำคัญทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา หลาย ๆ คนรู้จักในฐานะที่ตั้งของนครวัดและโ...