ครม.ทุ่ม 3.8 หมื่นล้านปรับระบบส่งไฟฟ้า หนุนโครงข่ายพลังงานทางเลือกภูมิภาค

โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งโครงการโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้านตามกรอบปริมาณรับซื้อไฟฟ้าภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและสปป.ลาว ซึ่งขยายจาก 9,000 เมกะวัตต์ เป็น 10,500 เมกะวัตต์  สามารถเพิ่มความสามารถในการส่งพลังไฟฟ้าจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ไปยังศูนย์กลางความต้องการใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมทั้งช่วยรักษาระดับความมั่นคงของระบบส่งไฟฟ้าให้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันต้องเพิ่มความคล่องตัวในด้านปฏิบัติการควบคุมและการจ่ายไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง รวมทั้งกรณีที่ต้องปลดโรงไฟฟ้าเข้า/ออกในการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบและหยุดซ่อมบำรุงรักษา รวมทั้งรองรับการเข้ามาของพลังงานหมุนเวียน และระบบโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid: APG)

ดังนั้น เมื่อเร็วๆนี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (Transmission System Improvement Project in Northeastern, Lower Northern, Central Regions and Bangkok Area to Enhance System Security) (โครงการ TIEC) ระยะที่ 3.1 วงเงินลงทุน 38,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ TIEC ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2558 แล้ว ซึ่งมีทั้งหมด 3 ระยะ ในวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 94,040 ล้านบาท 

ก่อนหน้านี้ ได้ดำเนินโครงการดังกล่าวเฉพาะระยะที่ 1 - 2 วงเงินลงทุน 36,690 ล้านบาท สำหรับการดำเนินโครงการ TIEC ในระยะที่ 3 วงเงินลงทุน 55,350 ล้านบาท ให้ กฟผ. พิจารณาปรับแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับปริมาณพลังงานทดแทนในปัจจุบันในแต่ละพื้นที่ตลอดจนความจำเป็นในการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าสำหรับรองรับไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่ง กฟผ. ได้ศึกษาความเหมาะสมโครงการ TIEC ระยะที่ 3 เป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP 2018 Revision) ซึ่งอยู่ในกรอบวงเงินลงทุนตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ 

“แต่โดยที่โครงการ TIEC ระยะที่ 3.1 มีขอบเขตงานเปลี่ยนแปลงไปจากขอบเขตงานโครงการ TIEC ระยะที่ 3 ที่คณะรัฐมนตรีได้เคยเห็นชอบไว้ กระทรวงพลังงานจึงต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบให้ กฟผ. ดำเนินโครงการ TIEC ระยะที่ 3.1 ในครั้งนี้” 

โดย คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีมติอนุมัติรายงานศึกษาความเหมาะสมของโครงการดังกล่าวด้วยแล้ว แต่โดยที่โครงการ TIEC ระยะที่ 3.1 มีแผนการดำเนินงานระหว่างปี 2566 - 2571 ภายในกรอบวงเงิน 38,500 ล้านบาท  แบ่งเป็น  ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ 8,202.50 ล้านบาท และ ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้าง 30,297.50 ล้านบาท  ระยะเวลาดำเนินการกำหนดแล้วเสร็จประมาณปี 2571

มีขอบเขตงานที่สำคัญ เช่นการก่อสร้างและปรับปรุงสายส่งไฟฟ้าแรงสูง500 kV วงจรคู่ในเส้นทางต่าง ๆ เช่น ชัยภูมิ 2 - นครราชสีมา 3 ระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร  ,นครราชสีมา 3 - วังน้อย ระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตรและ วังน้อย - หนองจอก ระยะทางประมาณ 46 กิโลเมตร ซึ่งมีทั้งแบบใช้เขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าใหม่และใช้เขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าเดิมแล้วก่อสร้างใหม่เป็นวงจรคู่และการก่อสร้าง/ปรับปรุง/ขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง

ทั้งนี้ ขอบเขตงานก่อสร้าง ได้แก่ ก่อสร้าง/ปรับปรุงสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ได้แก่ สายส่ง 500KV ชัยภูมิ 2 - นครราชสีมา 3 วงจรคู่

ระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร  ใช้เขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าใหม่ ,สายส่ง 500KV นครราชสีมา 3 - วังน้อย วงจรคู่,ระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร ใช้เขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าใหม่ ,สายส่ง 500kV วังน้อย - หนองจอก วงจรคู่ ระยะทางประมาณ 46 กิโลเมตร ใช้เขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าเดิม โดยรื้อสายส่งวงจรเดี่ยวออก แล้วก่อสร้างใหม่เป็นวงจรคู่ 

  ส่วนงานการก่อสร้าง/ปรับปรุง/ขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง ประกอบด้วย  หนองจอก (ก่อสร้าง/ปรับปรุงสถานีไฟฟ้าแรงสูง 500/230 kV),นครราชสีมา 3 (ก่อสร้าง/ขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 500/230 kV), ชัยภูมิ 2 และวังน้อย (ขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 500 kV), ท่าตะโก (ขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 230 kV)

      สำหรับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการนี้ จะทำให้พื้นที่แนวเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าของโครงการ TIEC ระยะที่ 3.1ไม่พาดผ่าน พื้นที่คุณภาพลุ่มน้ำชั้น1 จึงไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(Environmental Impact Assessment: EIA) และ แนวสายส่ง 500 kV นครราชสีมา 3 - วังน้อยพาดผ่านพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (โซนC)(ระยะทางประมาณ 0.615 กิโลเมตร)จึงต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น(Initial Environmental Examination: IEE)

 การขับเคลื่อนเพื่อปรับระบบสายส่งไฟฟ้าครั้งนี้ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของโลก โดย เมื่อ ปี 2021 การประกาศเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเป็นศูนย์(Net Zero Commitment) รวมกันมากกว่า 90% ของเศรษฐกิจโลก ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหม่ ซึ่งจะมีผลต่อการขับเคลื่อนเงินลงทุนระหว่างประเทศด้วย 

ทั้งนี้ มีการประเมินว่า แรงขับเคลื่อนดังกล่าวจะก่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุนด้านพลังงานสะอาดทั่วโลก เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่า หรือ เพิ่มขึ้นจาก 2.5%ต่อจีดีพี ในปี 2020 เป็น 4.5%ต่อจีดีพีในปี 2030 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

อดีตผู้พิพากษา ชาวจีนแผ่นดินใหญ่คนแรก รับเลือกเป็นผู้บริหาร ‘มาเก๊า’

ในการลงคะแนนเสียงเลือกผู้บริหารพิเศษของ มาเก๊า ซึ่งจัดขึ้นในวันอาทิตย์ (13 ต.ค.) ได้โหวตเลือก แซม โฮ...

'อิหร่าน' ประณาม สหรัฐคว่ำบาตรอุตฯน้ำมัน ‘ผิดกฎหมาย ไร้ความยุติธรรม’

ในแถลงการณ์ของ “เอสมาอิล บาเกอี” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน ได้กล่าวปกป้องการโจมตีอิสราเอลของอิ...

จุดเปลี่ยนการค้า ‘จีน - เวียดนาม’ ขยายเส้นทางรถไฟ เชื่อมชำระเงินข้ามประเทศ

การลงนามข้อตกลงนี้ เกิดขึ้นภายหลังการประชุมระหว่างฝั่ม มิญ จิ๊ญ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม กับหลี่ เฉียง น...

‘คิงชาลส์’ ตอบนักเคลื่อนไหว ออสเตรเลียจะเป็นสาธารณรัฐหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประชาชน

สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า ก่อนที่กษัตริย์ชาร์ลจะเสด็จเยือนออสเตรเลียในสัปดาห์หน้า กลุ่ม Australian Re...