‘บอร์ด EEC’ ไฟเขียวเดินหน้า ‘MRO อู่ตะเภา‘ มอบ ’สกพอ.‘ เปิดประมูลเอกชนลงทุน

ความคืบหน้าเรื่องของโครงการสำคัญในพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมามีการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 4/2567 โดยมีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน โดยมีนายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นเลขานุการการประชุมฯ ทั้งนี้ กพอ.ได้พิจารณาและมีมติในเรื่องสำคัญหลายเรื่องในการขับเคลื่อนโครงการอีอีซีเพื่อเสนอ ครม.รับทราบต่อไป 

โดยหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจก็คือการที่บอร์ดอีอีซีเห็นชอบการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) อู่ตะเภา เนื่องจากแต่เดิมการดำเนินโครงการการที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) พ้นจากสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ไม่สามารถเป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul : MRO) ที่สนามบินอู่ตะเภาได้

ทั้งนี้สกพอ. เห็นว่าโครงการดังกล่าวมีความจำเป็นต่อการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และการยกระดับขีดความสามารถในการให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยานของประเทศไทย ตลอดจนเพิ่มศักยภาพของช่างอากาศยานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และจำเป็นต้องขับเคลื่อนการดำเนินโครงการต่อไปให้เหมาะสมตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 

ทั้งนี้กพอ. ได้มีมติเห็นชอบการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินโครงการ โดยให้ยกเลิกการเป็นโครงการร่วมลงทุนตามที่ ครม. อนุมัติไว้ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 และให้ สกพอ. ดำเนินการจัดหาผู้เช่าที่ดินราชพัสดุในเขตส่งเสริม : เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) เพื่อดำเนินกิจกรรมศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 และระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การเช่าที่ดินราชพัสดุที่ประกาศเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2562 ต่อไป

โดย สกพอ. จะนำเสนอให้ ครม. รับทราบมติ กพอ. ดังกล่าว และพิจารณายกเลิกมติ ครม. วันที่ 30 ตุลาคม 2561 ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

นอกจากนี้ที่ประชุม ได้รับทราบความก้าวหน้าการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยเฉพาะด้านการพัฒนาเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม 4 โครงการใหญ่ และการชักชวนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ 5 คลัสเตอร์ ได้แก่ การแพทย์และสุขภาพ ดิจิทัล ยานยนต์สมัยใหม่ เศรษฐกิจ BCG และบริการ

โดยในช่วงตั้งแต่มกราคม 2566 ถึงกันยายน 2567 สกพอ. ได้ดำเนินการชักชวนนักลงทุน 139 ราย โดยมีนักลงทุนที่สนใจการลงทุนใน 5 กลุ่มคลัสเตอร์ดังกล่าวและได้ทำหนังสือแสดงเจตจำนง (LOI) รวม 35 ราย จำนวน 36 โครงการ มีการยื่นข้อเสนอโครงการฯ เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายอีอีซีแล้ว จำนวน 12 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 135,000 ล้านบาท

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อิสราเอล’ โจมตีตอนเหนือเลบานอน เสียชีวิตอย่างน้อย 15 ราย

ซีเอ็นเอ็นอ้างอิงกระทรวงสาธารณสุขเลบานอน รายงานว่า อิสราเอล โจมตี 3 เมืองในเลบานอนเมื่อวันเสาร์ (12 ...

'อิสราเอล' โจมตีตอนใต้เลบานอน ปลิดชีพนักรบฮิซบอลเลาะห์กว่า 50 ราย

กองกำลังป้องกันอิสราเอล (ไอดีเอฟ) ระบุในแถลงการณ์เมื่อวันเสาร์ (12 ต.ค.) ว่า ได้สังหารนักรบกลุ่มฮิซบ...

แผนใหม่ 'สหรัฐ' หนุนอิสราเอล ยืดสงครามในเลบานอน หวังล้ม 'ฮิซบอลเลาะห์'

หลังจากมีการเจรจาทางการทูตอย่างแข็งขันเพื่อบรรลุข้อตกลงหยุดยิงระหว่างอิสราเอลและฮิซบอลเลาะห์เป็นเวลา...

ซีอีโอ Grab ทำงานวันละ 20 ชั่วโมง สร้างบริษัท ‘ยูนิคอร์น’ เพื่อพิสูจน์ตัวเอง

“แกร็บ” (Grab) สตาร์ทอัพเล็กๆ ในมาเลเซีย ที่เริ่มต้นด้วยบริการแอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ จากเงินทุนก้...