โครงข่ายขนส่งทางรางไทย-ลาว สู่เป้าหมายการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ

 ระบุถึง ตัวเลขการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน เดือน ส.ค.2567 มีมูลค่าการค้ารวม 154,987 ล้านบาท เพิ่ม 16.2% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน 

ระบุถึง ตัวเลขการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน เดือน ส.ค.2567 มีมูลค่าการค้ารวม 154,987 ล้านบาท เพิ่ม 16.2% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน 

      แบ่งเป็นการส่งออก 88,053 ล้านบาท เพิ่ม 18.4% และการนำเข้า 66,934 ล้านบาท เพิ่ม 13.4% โดยไทยได้ดุลการค้า 21,119 ล้านบาท ส่วนยอดรวมช่วง 8 เดือนปี 2567 (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่าการค้ารวม 1,225,371 ล้านบาท เพิ่ม 7.1% เป็นการส่งออก 709,459 ล้านบาท เพิ่ม 6.2% และการนำเข้า 515,913 ล้านบาท เพิ่ม 8.4% โดยไทยได้ดุลการค้า 193,546 ล้านบาท 

      หากแยกการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ พบว่า มาเลเซีย มีมูลค่าสูงสุด 28,589 ล้านบาท เพิ่ม 20.7% รองลงมา คือ สปป.ลาว 23,143 ล้านบาท เพิ่ม 12.8% เมียนมา 17,530 ล้านบาท เพิ่ม 16.5% และกัมพูชา 14,436 ล้านบาท เพิ่ม 7.3% 

ส่วนการค้าผ่านแดนไปประเทศที่สาม พบว่า จีน มีมูลค่าสูงที่สุด 41,786 ล้านบาท เพิ่ม 18.1% รองลงมาคือ สิงคโปร์ และเวียดนาม มีมูลค่า 9,154 ล้านบาท เพิ่ม 26.2%  โดยสินค้าส่งออกผ่านแดนสำคัญ อาทิ ทุเรียนสด 7,941 ล้านบาท ฮาร์ด ดิสก์ ไดรฟ์ 6,459 ล้านบาท และยางแท่ง TSNR 4,091 ล้านบาท และยอดรวม 8 เดือน การค้าผ่านแดนมีมูลค่า 565,454 ล้านบาท เพิ่ม 9.1% เป็นการส่งออก 304,741 ล้านบาท เพิ่ม 10.1% การนำเข้า 260,713 ล้านบาท เพิ่ม 8.0% ไทยได้ดุลการค้า 44,028 ล้านบาท

เมื่อไม่กี่ปีมานี่ โครงสร้างการค้าชายแดนได้ถูกท้าทายจากการเปิดให้บริการรถไฟจีน-สปป.ลาวที่ทำให้การค้าภายในภูมิภาคที่มีพรมแดนติดกันและมีขนส่งระบบรางเป็นเครื่องมือสำคัญในการเชื่อมโยงการค้าร่วมกัน

รัฐบาลไทยให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบราง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งหลักของประเทศ จึงมอบหมายให้ รฟท. เร่งดำเนินการผลักดัน และพัฒนาการขนส่งทางราง โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าระหว่างไทย – ลาว – จีน ซึ่งเป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมทางรางให้เกิดการเจริญเติบโตสู่ภูมิภาค ส่งเสริม และกระตุ้นเศรษฐกิจ สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ

แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นประธานในพิธีลงนาม “บันทึกการดำเนินการด้านเทคนิคสำหรับการขนส่งสินค้าทางรถไฟ”

 ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม และรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาว สปป.ลาว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบขนส่งร่วมกันระหว่างสองประเทศเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมทางรางให้ไทยก้าวสู่ศูนย์กลางการขนส่งทางรางในภูมิภาคอาเซียน เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2567 ณ สำนักงานนายกรัฐมนตรี เวียงจันทน์ สปป.ลาว

วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท. เเละรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาว ได้บังคับใช้ความตกลงว่าด้วยการเดินรถไฟร่วมกันระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งแต่วันที่ 30 ม.ค. 2551 ซึ่งการลงนามในครั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าทางรถไฟ และการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างไทย - สปป.ลาว อาทิ เส้นทางขนส่ง จุดเข้า - ออกประเทศ การจัดขบวนรถ และตารางเดินรถ กฎข้อบังคับ เเละเอกสารการขนส่งสินค้า กฎข้อบังคับการเดินรถ การให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ การชำระบัญชี ซึ่งจะสามารถขนส่งสินค้าร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ปัจจุบันการขนส่งสินค้าจากประเทศไทย ไปยัง สปป.ลาว และ จีน มีหลากหลายชนิด อาทิ ข้าวมอลต์ ปุ๋ย อะไหล่รถยนต์ สินค้าอีคอมเมิร์ซสินค้าอุปโภคบริโภค และผลไม้ เฉลี่ยวันละ 4 – 6 ขบวน ไป/กลับ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร (ทุเรียน) และสินค้าที่มาจากแหลมฉบัง ผ่านสถานีนาทาฝั่งประเทศไทย ไปยังสถานีขนถ่ายสินค้าท่านาแล้ง สปป.ลาว เพื่อกระจายสินค้าไปยัง สปป. ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน 

ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น โดยในช่วงปี 2566 มีรายได้จากการขนส่งสินค้าระหว่างไทย - สปป.ลาว จำนวน 11,361,000 บาท และช่วงเดือนต.ค. 2566 - ส.ค.2667 มีรายได้เพิ่มขึ้น จำนวน 26,749,500 บาท คาดว่าในปี 2568 จะมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท

“เชื่อมั่นว่าการลงนามในบันทึกความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่จะช่วยขยายโครงข่ายคมนาคมทางราง ยกระดับการขนส่งสินค้าทางรางทั้งสองประเทศ ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญ ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรางในภูมิภาคอาเซียนได้ตามนโยบายของรัฐบาล”

     รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ได้เร่งขับเคลื่อนโครงการศึกษาการใช้ประโยชน์รางและข้อจำกัด เพื่อรองรับเชื่อมโยงการขนส่งทางราง เส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์ – คุนหมิง (Singapore – Kunming Rail Link – SKRL) โดยที่ประชุมรับทราบข้อมูลและความคืบหน้าของโครงการศึกษาการใช้ประโยชน์รางและข้อจำกัด เพื่อรองรับเชื่อมโยงการขนส่งทางราง เส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์ – คุนหมิง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความเชื่อมโยงทางรางระหว่างประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค

การขนส่งระบบรางกำลังเป็นเครือข่ายสำคัญของการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายการทำให้การติดต่อค้าขายและการพัฒนาไปให้ถึงขั้น“ไร้รอยต่อ” ซึ่งไทยก็กำลังขับเคลื่อนการพัฒนาระบบรางไปอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

หนี้สูงเป็นเหตุ! 'ฟิทช์' หั่นแนวโน้มอันดับเครดิต 'ฝรั่งเศส' เป็นเชิงลบ

บริษัทจัดอันดับเครดิต ฟิทช์ เรทติ้งส์ (Fitch Ratings) ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสจ...

Stand-up Comedy ปั้นความ ‘ฮา’ กลายเป็นธุรกิจหลายพันล้าน

‘สแตนด์อัพคอมเมดี้’ (Stand-up Comedy) เติบโตจากการแสดงตลกเฉพาะกลุ่ม กลายเป็นอุตสาหกรรมหลายพันล้านดอล...

‘ทรัมป์’ หาเสียงร้อนแรง เรียกร้องโทษประหารชีวิต ผู้อพยพฆ่าชาวอเมริกัน

โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่า หากได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐแล้ว จะเริ่มปฏิบัติการระดับชาติ โดยมุ่งเป...

ราคาน้ำมันพรุ่งนี้ (13 ต.ค.) อัปเดต ราคาน้ำมันล่าสุด จากปั๊ม ปตท. บางจาก เชลล์

ราคาน้ำมันพรุ่งนี้ (13 ต.ค. 67) อัปเดต ราคาน้ำมัน ราคาน้ำมันทุกชนิด ราคาน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ ราคา...