‘ฟิทช์ เรทติ้งส์’ ห่วงหนี้ครัวเรือน การคลังตึงตัว ชนวนหั่นอันดับเครดิตไทย

“โธมัส รุกมาเกอร์” ผู้อำนวยการอาวุโส ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวถึงแน้วโน้มเศรษฐกิจไทยในงาน ‘Global Risks and Regional Economic, Investment & Bank Outlook’ ว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ช้ากว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีอันดับเครดิตในระดับเดียวกัน คือ BBB

ประเทศไทย มีอัตราการเติบโตของ GDP ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่มีอันดับเครดิต BBB เช่น ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย รวมทั้ง จำนวนนักท่องเที่ยวของไทยยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤติได้เท่ากับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค

ฟิทช์ มีความกังวลถึงปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ คือ “ปัญหาหนี้ครัวเรือน” ของไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในระดับสูง ที่อาจเป็นข้อจำกัดที่สำคัญต่อการเติบโตในอนาคต ซึ่งแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอื่นๆ

สถานการณ์การคลังของไทยอ่อนแอลง โดยการขาดดุลงบประมาณทางการคลังของไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันขาดดุล 4% โดยรัฐบาลมีแผนที่จะรักษาดุลการคลังจะเข้าสู่ 3% ในช่วงปี 2570  ซึ่งฟิทช์มองว่า เป้าหมายในระยะแรกไม่จำเป็นต้องกลับไปเกินดุลแต่คือ การลดการขาดดุลลง

รวมไปถึง ระดับหนี้สาธารณะของไทยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ก่อนหน้านี้ ไทยมีระดับหนี้สาธารณะที่ค่อนข้างต่ำ ประมาณ 25% ของ GDP ในปี 2010 แต่ตอนนี้ระดับหนี้สาธารณะได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาระหนี้ของรัฐบาลไทยเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลกระทบในเชิงลบต่อตัวชี้วัดทางการคลังของประเทศ

อย่างไรก็ดี ไทยยังคงมีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่าประเทศอื่นๆ คือ สัดส่วนหนี้ต่างประเทศที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้ไทยมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศน้อยกว่าประเทศคู่แข่ง นอกจากนี้ไทยใช้สัดส่วนรายได้ของรัฐบาลไปชำระดอกเบี้ยหนี้น้อยที่สุด ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลไทยมีภาระในการชำระหนี้น้อยกว่าประเทศอื่นๆ 

รวมทั้ง ค่าเงินของประเทศไทยฟื้นตัวได้ดีเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในช่วงปี 2024 ซึ่งบ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของนักลงทุน และสถานการณ์การเงินภายนอกของไทยค่อนข้างแข็งแกร่ง จากดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเป็นบวก

 

อย่างไรก็ตาม ฟิทช์ เรทติ้งส์ ระบุว่า อันดับเครดิตของไทยทั้งในสกุลเงินต่างประเทศ และสกุลเงินท้องถิ่นอยู่ที่ระดับ BBB+ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่น่าเชื่อถือ

 

3 ปัจจัยที่อาจทำให้อันดับเครดิตของไทยลดลงคือ 1.ปัญหาการคลัง หากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมระดับหนี้สาธารณะให้คงที่ หรือมีการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

 

2.ความไม่มั่นคงทางการเมือง หากเกิดความไม่มั่นคงทางการเมืองในระดับที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายเศรษฐกิจ หรือกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และ 3.การเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ หากเศรษฐกิจไทยเติบโตช้าลงอย่างต่อเนื่อง และหนี้ภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ก็อาจส่งผลให้อันดับเครดิตลดลง

 

ทั้งนี้ หากรัฐบาลสามารถลดระดับหนี้สาธารณะได้ หรือมีการปรับปรุงโครงสร้างรายได้ของรัฐบาล และเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่งพร้อมกับหนี้ภาคเอกชนอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ก็อาจทำให้อันดับเครดิตสูงขึ้น

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

หนี้สูงเป็นเหตุ! 'ฟิทช์' หั่นแนวโน้มอันดับเครดิต 'ฝรั่งเศส' เป็นเชิงลบ

บริษัทจัดอันดับเครดิต ฟิทช์ เรทติ้งส์ (Fitch Ratings) ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสจ...

Stand-up Comedy ปั้นความ ‘ฮา’ กลายเป็นธุรกิจหลายพันล้าน

‘สแตนด์อัพคอมเมดี้’ (Stand-up Comedy) เติบโตจากการแสดงตลกเฉพาะกลุ่ม กลายเป็นอุตสาหกรรมหลายพันล้านดอล...

‘ทรัมป์’ หาเสียงร้อนแรง เรียกร้องโทษประหารชีวิต ผู้อพยพฆ่าชาวอเมริกัน

โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่า หากได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐแล้ว จะเริ่มปฏิบัติการระดับชาติ โดยมุ่งเป...

ราคาน้ำมันพรุ่งนี้ (13 ต.ค.) อัปเดต ราคาน้ำมันล่าสุด จากปั๊ม ปตท. บางจาก เชลล์

ราคาน้ำมันพรุ่งนี้ (13 ต.ค. 67) อัปเดต ราคาน้ำมัน ราคาน้ำมันทุกชนิด ราคาน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ ราคา...