‘เผ่าภูมิ’ โชว์ ‘ฟิทช์ เรทติ้งส์’ เศรษฐกิจไทยโตเกินเป้า เร่งลดขาดดุลการคลัง

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน “Fitch on Thailand 2024: Global Risks and Regional Economic, Investment & Bank Outlook” วันที่ 3 ต.ค.2567 ว่า เป็นโอกาสที่ดีในการแสดงให้ฟิทช์ เรทติ้งส์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ได้เห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อมในหลายๆ เรื่อง และมีความเข้มแข็งทางด้านการเงินและการคลัง 

ทั้งนี้ ได้นำเสนอจุดแข็งของประเทศไทยซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ประกอบด้วย ความสามารถในการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP Growth) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในช่วงที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้น และน่าจะเห็นตัวเลขการขยายตัวของ GDP ที่ดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีนี้ และยังมีโมเมนตัมที่ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า 

”ช่วงที่ผ่านมารัฐบาลพยายามอย่างเต็มที่ในการเร่งจัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้จะมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณปี 2567 ที่มีผลบังคับใช้ล่าช้า โดยการเร่งทำนโยบายต่างๆ เท่าที่จะทำได้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งได้ผลิดอกออกผลแล้วในช่วงครึ่งหลังของปี“

โดยปีนี้มีแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะโตสูงกว่าเป้าหมายที่คาดไว้เดิมที่ 2.7% เป็นผลจากการดำเนินมาตรการทางคลังและการเงินอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง รวมถึงผลจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งจะมีแรงส่งทางเศรษฐกิจต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 2 ของปี 2568 และรัฐบาลได้เตรียมเครื่องมือทางการคลังและการเงินเข้ารักษาแรงส่งทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในปี 2568 

นอกจากนี้ ประเด็นเรื่องหนี้สาธารณะของประเทศที่ปัจจุบันมีสัดส่วน 64% ต่อ GDP อยู่ในเกณฑ์ที่รัฐบาลสามารถบริหารจัดการได้ ทั้งนี้เมื่อมองตามนิยามหนี้สาธารณะของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานสากล หนี้สาธารณะไทยจะอยู่ที่ 58.28% เท่านั้น ถือว่าอยู่ในระดับที่กลาง-ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนคู่ค้า และรัฐบาลมีแผนที่จะรักษาดุลการคลังจะเข้าสู่ 3% ในช่วงปี 2570  

ขณะเดียวกันเรื่องความสามารถในการระดมทุนของประเทศไทย มีตลาดทุนที่มีความแข็งแกร่ง มีเสถียรภาพและสภาพคล่องสูง และเป็นตลาดที่ได้รับการยอมรับและเป็นชั้นนำของภูมิภาค รวมถึงตลาดพันธบัตรไทยที่มีศักยภาพในการระดมทุนที่ล้นเหลือ

“ศักยภาพและการเติบโตของตลาดทุนอยู่ในเกณฑ์สูง กระโดดขึ้นจาก 12% ของ GDP ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง สู่ระดับ 94% ของ GDP นอกจากนี้ไทยยังมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน สภาพคล่องสูง ฐานนักลงทุน เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ดีต่อการเติบโตของภาคเอกชนไทย” 

นอกจากนี้ ในด้านการบริโภคของประเทศมีสัญญาณบวกต่อเนื่อง สะท้อนจากตัวเลขภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง (Real VAT) เติบโตอย่างต่อเนื่อง 7 เดือนแรกโตถึง 7.4% โดยรัฐบาลอยู่ระหว่างการรักษาแรงส่งทางเศรษฐกิจ ส่งผ่านการบริโภคไปสู่การลงทุนของภาคเอกชนในระยะต่อไป 

นายเผ่าภูมิ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำงานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อหาจุดสมดุลระหว่างการรักษาเสถียรภาพและศักยภาพของระบบเศรษฐกิจ โดยเร่งรักษาเสถียรภาพของค่าเงินที่ต้องไม่ผันผวนเกินไป ระดับของค่าเงินที่สอดคล้องกับประเทศคู่ค้า ระดับเงินเฟ้อที่อยู่ในกรอบเป้าหมาย ช่วงว่างเงินฝาก-เงินกู้ที่เอื้อต่อภาคเอกชน ปริมาณและความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของประเทศ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

หนี้สูงเป็นเหตุ! 'ฟิทช์' หั่นแนวโน้มอันดับเครดิต 'ฝรั่งเศส' เป็นเชิงลบ

บริษัทจัดอันดับเครดิต ฟิทช์ เรทติ้งส์ (Fitch Ratings) ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสจ...

Stand-up Comedy ปั้นความ ‘ฮา’ กลายเป็นธุรกิจหลายพันล้าน

‘สแตนด์อัพคอมเมดี้’ (Stand-up Comedy) เติบโตจากการแสดงตลกเฉพาะกลุ่ม กลายเป็นอุตสาหกรรมหลายพันล้านดอล...

‘ทรัมป์’ หาเสียงร้อนแรง เรียกร้องโทษประหารชีวิต ผู้อพยพฆ่าชาวอเมริกัน

โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่า หากได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐแล้ว จะเริ่มปฏิบัติการระดับชาติ โดยมุ่งเป...

ราคาน้ำมันพรุ่งนี้ (13 ต.ค.) อัปเดต ราคาน้ำมันล่าสุด จากปั๊ม ปตท. บางจาก เชลล์

ราคาน้ำมันพรุ่งนี้ (13 ต.ค. 67) อัปเดต ราคาน้ำมัน ราคาน้ำมันทุกชนิด ราคาน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ ราคา...