Lazy Money : เงินขี้เกียจที่ไม่ควรมองข้าม

Lazy Money คืออะไร?

“Lazy Money” หรือ “เงินขี้เกียจ” หมายถึง เงินที่ถูกเก็บไว้อย่างนิ่งเฉย โดยไม่สร้างประโยชน์หรือสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่า กล่าวคือเงินที่ถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัยแต่ไม่เกิดดอกผลเท่าที่ควรหรือบางทีอาจเป็นเงินฉุกเฉินที่ได้เตรียมไว้มากเกินกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งโดยทั่วไปเราควรจะมีเงินฉุกเฉินสำรองไว้เทียบเท่าค่าใช้จ่ายราว 3-6 เดือน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบุคคล ตัวอย่างของเงินขี้เกียจที่พบบ่อย คือ เงินที่ถูกทิ้งไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยต่ำ หรือเงินสดที่เก็บไว้อยู่เฉย ๆ โดยไม่มีการนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่สามารถเพิ่มมูลค่า ในอนาคตได้ เช่น หุ้น, พันธบัตร หรือสินทรัพย์อื่น ๆ 

เงินขี้เกียจจะส่งผลกระทบต่อเราในอนาคตได้อย่างไร?

แม้การเก็บเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์หรือการเก็บเงินสดอาจดูเหมือนเป็นการป้องกันความเสี่ยง แต่ความจริงแล้วการปล่อยให้เงินอยู่เฉยๆ อาจทำให้เราพลาดโอกาสในการสร้างการเติบโตของเงินในระยะยาว และในทางกลับกันก็แปลว่า ความมั่งคั่งของเราอาจลดลงด้วยผลกระทบจากเงินเฟ้อ นี่คือเหตุผลหลักว่าทำไมเงินขี้เกียจถึงเป็นปัญหา

1.ผลกระทบจากเงินเฟ้อ : อัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มูลค่าของเงินลดลง เมื่อเก็บเงินไว้โดยไม่ได้สร้างผลตอบแทนที่มากพอเพื่อชดเชยกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น มูลค่าของเงินนั้นก็จะลดลง ซึ่งหมายความว่าเราอาจซื้อสินค้าหรือบริการในอนาคตได้ในปริมาณน้อยลงด้วยเงินจำนวนเท่าเดิม

2.พลาดโอกาสในการสร้างผลตอบแทน : หากเก็บเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยต่ำ อาจพลาดโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่สูงจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต อย่างเช่น การลงทุนใน หุ้น พันธบัตร หรือ กองทุน ที่แม้จะมีความเสี่ยงแต่สามารถเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของเราทำให้เงินของเราอยู่กับการลงทุนที่ดีและสามารถเติบโตอย่างเหมาะสม

3.ผลกระทบต่อเป้าหมายทางการเงิน :การปล่อยให้เงินนอนอยู่เฉยๆ อาจทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้และอาจเกิดปัญหาในอนาคตขึ้นได้ เมื่อต้องการใช้เงินในช่วงที่มีความต้องการมากขึ้น เช่น การเกษียณอายุ การซื้อบ้าน หรือ ค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากเงินไม่สามารถเติบโตพอที่จะรองรับการจ่ายในอนาคตที่เกิดขึ้นได้

แล้วเราจะจัดการกับเงินขี้เกียจได้อย่างไร?

เมื่อรู้แล้วว่าเงินขี้เกียจเป็นปัญหา ขั้นตอนถัดไปคือการหาวิธีจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถเปลี่ยนเงินขี้เกียจให้เกิดประโยชน์มากขึ้นดังนี้

1.บริหารสภาพคล่องให้เกิดประโยชน์สูงสุด : หากต้องการเผ่ือไว้สำหรับสภาพคล่องในระยะสั้น การฝากเงินไว้ในธนาคาร ควรพิจารณาฝากเงินในบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูง เช่น บัญชีเงินฝากดิจิทัลดอกเบี้ยสูง บัญชีฝากประจำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการออมเงินได้มากขึ้น

2.ศึกษาเรื่องการลงทุน : หากยังไม่เคยลงทุน การเริ่มต้นศึกษาและลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับความรู้และระดับความเสี่ยงที่เรารับได้ โดยมีสินทรัพย์ที่มีศักยภาพเติบโตได้ในอนาคต อย่างการลงทุนใน หุ้น, พันธบัตร, อสังหาริมทรัพย์ หรือ ทองคำ หรือ กองทุนรวม ซึ่งการลงทุนในแต่ละประเภทจะมีระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ต่างกัน 

3.วางแผนทางการเงินระยะยาวให้ตรงกับเป้าหมาย : การวางแผนการเงินระยะยาวที่ครอบคลุมความต้องการและไลฟ์สไตล์ในชีวิต จะช่วยให้ตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้จ่าย การออม และการลงทุนได้อย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น รวมถึงส่งผลต่อการสร้างความมั่นคงทางการเงินและช่วยให้บรรลุเป้าหมายในอนาคต เช่น การเกษียณอายุ การซื้อบ้าน การศึกษาของบุตร หรือการมีเงินสำรองเพื่อการฉุกเฉิน ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นภาพรวมที่ชัดเจนยิ่งขึ้นและสามารถจัดการเงินขี้เกียจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปแล้ว Lazy Money หรือ เจ้าเงินจอมขี้เกียจ คือ เงินที่ไม่ได้ทำงานให้เกิดผลตอบแทนที่คุ้มค่า อาจทำให้มูลค่าของเงินลดลงเมื่อเวลาผ่านไป การลงทุนและการจัดการเงินอย่างชาญฉลาดจะช่วยเงินที่นอนอยู่นิ่งๆถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเปลี่ยนเงินขี้เกียจให้กลายเป็นเงินที่สามารถสร้างความมั่งคั่งและบรรลุเป้าหมายให้กับเราได้ในระยะยาว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’

ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...

สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...

ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...

อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’

นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...