'หน่วยความมั่นคง'ชงรัฐบาลต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน จว.ชายแดนใต้

19 กันยายน 2567 ที่กองกำลังตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา พลตำรวจตรี นิตินัย  หลังยาหน่าย รองผู้บัญชาการกองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงสถานการณ์ภาพรวมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา ภายหลังมีการประกาศยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ในบางพื้นที่ ว่าปัจจุบันมีการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่ 15 อำเภอ และยังมีผลบังคับอยู่ 18 อำเภอ โดยในเดือนหน้าก็จะครบกำหนดที่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติขยาย พรก.ฉุกเฉิน ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 78 ทั้งนี้ ยอมรับว่าประเมินได้ยาก ว่าในพื้นที่ที่ไม่มี พรก.ฉุกเฉินแล้ว จะส่งผลอย่างไร ซึ่งบางพื้นที่ การก่อเหตุก็ลดลง ในทางกลับกันบางพื้นที่ก็มีการก่อเหตุเพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องนำไปสู่การกลับมาใช้ พรก.ฉุกเฉิน ใหม่ เช่น ที่อำเภอศรีสาคร จ.นราธิวาส
และปัจจุบัน เตรียมที่จะมีการยกร่างกฎหมายฉบับใหม่เกี่ยวกับเรื่องการก่อการร้าย เพื่อบังคับใช้ทั่วไป เนื่องจาก พรก.ฉุกเฉิน จะต้องต่ออายุทุก 3 เดือน

"เจ้าหน้าที่ไม่อยากจะให้ยกเลิกเพราะถือเป็นเครื่องมือเดียวในการทำงาน แต่เหตุผลที่ต้องยกเลิกในบางพื้นที่ เพราะกระแสสังคมพยายามกดดัน จึงเป็นที่มาของความพยายามในการยกร่างกฎหมายตัวใหม่ขึ้นมาบังคับใช้ และจากการสำรวจ 80% ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้เดือดร้อนจากการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่รัฐ มีเพียง 20% เท่านั้นที่อยากให้ยกเลิก เช่นเดียวกับกรณีที่ผู้ทรงเกียรติ ต้องการให้ยกเลิกด่านตรวจ ถามว่ามีผลกระทบหรือไม่ และความเข้าใจในเรื่องการตั้งด่านก็ต่างกัน ซึ่ง กอ.รมน. ก็รับทราบปัญหา ก็พยายามแจ้งหน่วยกองกำลัง หากไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ ก็ให้เอาเครื่องกีดขวางออกจากพื้นที่ ไม่ใช่กีดขวางการจราจร แต่ยืนยันว่าการตั้งด่านมีความจำเป็น ซึ่งเป็นหน่วยสกัดกั้นและตรวจสอบ"

 ด้าน พันเอก สุทธิพงษ์  พืชมงคล ผู้อำนวยการส่วนงานบริหารและพัฒนาศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กล่าวเสริมว่า ในฐานะที่ตนเองเคยทำงานที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) มาก่อน ซึ่งแผนงานในการปรับลดพื้นที่มีความละเอียดมาก ในขณะที่ระดับนโยบายมองภาพกว้าง แต่ในระดับพื้นที่ จะต้องใช้ความรอบคอบ ทำให้สุดท้ายแล้ว สมช. จะต้องมารับฟังในพื้นที่คือทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) ในขณะที่บางอำเภอที่ยกเลิกไปแล้ว แต่มีสถิติการก่อเหตุเพิ่มขึ้น เมื่อจะนำ พรก.ฉุกเฉิน มาประกาศใช้อีกครั้ง กลับดำเนินการได้ยากมาก
     ส่วนการเตรียมรับมือในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล รวมถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกองทัพ พลตำรวจตรี นิตินัย กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นอุปสรรค แต่บางครั้งเราก็ต้องดูทิศทางบ้างเล็กน้อย และระหว่างนี้ก็ไม่ได้เกียร์ว่าง เพราะไม่ว่าทีมบริหารจะเป็นรัฐบาลชุดใด เราก็คงดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้มา ซึ่งโดยหลักการแล้วก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก โดยจะให้ความสำคัญกับการระงับเหตุร้ายรายวัน และไม่สร้างเงื่อนไขเพิ่มเติม เนื่องจากการต่อสู้ของผู้เห็นต่างในปัจจุบันนั้นมีภาคสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มีการรวมกลุ่มกันของเยาวชน เช่นที่เกิดในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เมื่อปี 2565 ซึ่งเราก็ต้องพิจารณาโดยละเอียด ว่าจะเข้าข้อกฎหมายอะไร เพราะมีบางคำพูดที่เคยมีบรรทัดฐานคำตัดสินของศาลว่าขัดต่อกฎหมาย รวมถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ 
      

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...