ทุกพรรคปรองดอง ร่วมเป็นเจ้าภาพยื่นแก้ รธน. รายมาตรา ปมจริยธรรม-ความซื่อสัตย์

“ชูศักดิ์” เผย ทุกพรรคปรองดอง ร่วมเป็นเจ้าภาพยื่นแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ปมมาตรฐานจริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ให้รัดกุม ป้องกันตีความกว้าง เตรียมทำประชามติพร้อมแก้ รธน. ทั้งฉบับต้นปีหน้า

เมื่อเวลา 09.15 น. วันที่ 16 กันยายน 2567 นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงไทม์ไลน์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติ ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ว่า ต้องรอว่าวุฒิสภาจะแก้ไขหรือไม่ หากมีการแก้ไขต้องกลับมาที่สภาผู้แทนราษฎรเพื่อมาหารือว่าจะแก้ไขตามที่วุฒิสภาแก้ไขหรือไม่ แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ก็ยืนยันว่าการใช้เสียงข้างมากธรรมดาเป็นสิ่งที่ดีกว่าและเป็นหลักสากล

ทั้งนี้ สมมติว่าหากร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ขั้นตอนที่ 1 ทำประชามติสอบถามประชาชนตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ หากเห็นชอบจะไปสู่ขั้นตอนที่ 2 คือแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) โดยต้องทำประชามติครั้งที่ 2 หากประชาชนเห็นชอบ ส.ส.ร. ก็จะยกร่างรัฐธรรมนูญจนให้แล้วเสร็จ จากนั้นก็จะทำประชามติครั้งที่ 3 ซึ่งกระบวนการการแก้ไขรัฐธรรมนูญคาดว่าจะใช้เวลาพอสมควร

ผู้สื่อข่าวถามต่อถึงกรณีที่พรรคประชาชน (ปชน.) ยังติดใจคำถามประชามติครั้งแรกห้ามแก้ไขหมวด 1 หมวด 2 นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เคยเป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตั้งแต่รัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ดังนั้น รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ต้องยืนตามนี้ ทั้งนี้ จะมีเรื่องการแก้ไขหมวด 1 หรือหมวด 2 หรือไม่นั้น ท้ายสุดเมื่อแก้ไขมาตรา 256 ก็ต้องเขียนระบุไว้อยู่แล้ว

...

นายชูศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ตนได้รับการประสานกับพรรคประชาชน เขามีความคิดต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยเฉพาะมาตรฐานจริยธรรม และเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ที่เป็นปัญหาอยู่ขณะนี้ โดยจะเป็นการแก้ไขถ้อยคำให้รัดกุม ไม่ให้เกิดการตีความที่กว้างขวาง ซึ่งพรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ประสานกับพรรคร่วมรัฐบาลไปพอสมควรแล้ว ซึ่งทุกพรรคการเมืองในสภาจะเป็นเจ้าภาพร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่ากรอบเวลาในการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราจะเป็นอย่างไร นายชูศักดิ์ ระบุว่า อยากจะทำให้เร็ว แต่เราต้องทำประชามติไป เพราะเป็นการแก้ไขเรื่องคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยจะทำไปพร้อมกับการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ คาดว่าทำในช่วงเดียวกับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในต้นปี 2568 เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ โดยเรื่องการแก้ไขรายมาตราประเด็นจะทำประชามติเพียงครั้งเดียว.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...