‘ญี่ปุ่น’ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสูงสุด พายุ “ซานซาน” จ่อใกล้ฝั่ง

ญี่ปุ่นประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินระดับสูงสุด ขณะที่พายุไต้ฝุ่นซานซาน (Shanshan) เคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะคิวชูทางตอนใต้ของประเทศ โดยพายุลูกดังกล่าวมีความรุนแรงอย่างมากและจะทำให้เกิดฝนตกหนักก่อนเคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ระบุว่า พายุหมุนซานซานมีความเร็วลมสูงสุดใกล้กับจุดศูนย์กลางที่ 95 นอต (176 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง และคาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นขณะเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะคิวชูในวันพฤหัสบดี (29 ส.ค.) โดยในตอนนี้ พายุลูกดังกล่าวถูกจัดเป็นพายุระดับ 2 (Category 2) จากทั้งหมด 5 ระดับตามมาตราแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน (Saffir-Simpson scale)

JMA ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินระดับสูงสุดในจังหวัดคาโกชิมะบนเกาะคิวชู โดยเตือนให้ประชาชนระวังลมกระโชกแรงและคลื่นสูงจากพายุหมุนลูกดังกล่าว

คิวชู อิเล็กทริค พาวเวอร์ (Kyushu Electric Power) ซึ่งเป็นผู้จัดหาพลังงานให้กับภูมิภาคดังกล่าว จะระงับการทำงานของหน่วยผลิตไฟฟ้า 2 หน่วยที่โรงไฟฟ้าแบบปั้มสูบโอฮิระ (Ohira) ส่งผลให้บ้านเรือนกว่า 13,000 หลังในจังหวัดคาโกชิมะและมิยาซากิไม่มีไฟฟ้าใช้

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า พายุหมุนยังส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตบางรายในญี่ปุ่น โดยโฆษกของโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป (Toyota Motor Corp.) ระบุว่า บริษัทจะระงับการดำเนินงานที่โรงงานทั้ง 14 แห่งตั้งแต่เย็นวันนี้ (28 ส.ค.) จนถึงเช้าวันพรุ่งนี้ (29 ส.ค.) และบริษัทจะตัดสินใจอีกครั้งว่าจะเริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้งหลังเช้าวันพรุ่งนี้หรือไม่

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

แหล่งข่าวเผย อิสราเอลแจ้งสหรัฐจะทำอะไรบางอย่างในเลบานอน!

เมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) กระทรวงสาธารณสุขเลบานอนแถลงว่า วิทยุมือถือ (ว.) ที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ใช้ ได้ระเ...

ว.ฮิซบอลเลาะห์ระเบิด แปะฉลาก ‘เมด อิน เจแปน’

ภาพถ่าย ว.ฮิซบอลเลาะห์ที่ระเบิดเมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) พบฉลาก “ICOM” และ “เมด อิน เจแปน” สำนักข่าวรอยเ...

'บิลลี ไอลิช-โจ โรแกน' เชียร์'คามาลา แฮร์ริส'

เว็บไซต์บลูมเบิร์กรายงาน ป็อปสตาร์ “บิลลี ไอลิช” โพสต์คลิปเคียงข้างพี่ชายบนอินสตาแกรม กระตุ้นให้ผู้ต...

‘รถไฟ’ กระจายความเจริญ กรณีศึกษา: โฮคุริคุ ของญี่ปุ่น | กันต์ เอี่ยมอินทรา

ได้เห็นการเชื่อมต่อด้วยระบบรางระหว่างกรุงเทพกับลาวแล้วก็อดคิดถึงรถไฟต่างประเทศไม่ได้ เพราะรถไฟไทยเรา...