'พิจารณ์' ชี้ยื่นยุบ พท.ตอกย้ำ รธน.มีปัญหา มองเป็นเอกสิทธิ์ ปชป.ร่วมรัฐบาล

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2567 ที่รัฐสภา นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ กรรมการบริหารพรรคประชาชน (ปชช.) กล่าวถึงกระแสข่าวพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) จ่อเข้าร่วมรัฐบาล ว่า เป็นเอกสิทธิ์ของพรรคประชาธิปัตย์ แต่สิ่งที่ทำให้เห็นคือความไม่มีเสถียรภาพของพรรครัฐบาล ที่เอาแต่เล่นการเมือง ไม่ได้มุ่งสมาธิไปที่การแก้ไขปัญหาของประเทศที่มีปัญหาหลายอย่าง

“เล่นการเมืองกันชิงไหวชิงพริบ ทำให้ความเป็นเอกภาพมันไม่มี จึงต้องเพิ่มเสียงพรรคประชาธิปัตย์ ไปเป็นหมากตัวหนึ่งในเกมการเมือง” นายพิจารณ์ กล่าว

นายพิจารณ์ กล่าวว่า กรณีกระแสข่าวว่าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) จะมาเป็นพรรคฝ่ายค้านนั้น  ตนไม่ทราบว่าจะมาร่วมงานอย่างไร และอาจไม่ใช่ สส.พรรคพลังประชารัฐทั้งพรรค อาจเป็นเพียง กลุ่มของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรค พลังประชารัฐ แต่พรรคประชาชนก็พร้อมทำงานกับทุกพรรคทุกสถานการณ์ทางการเมือง โดยยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ส่วนการเล่นการเมืองเอาไว้ทีหลัง

ส่วนศึกสนามเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จ.ราชบุรี ในวันที่ 1 ก.ย. และ เลือกตั้งซ่อม สส.พิษณุโลก ในวันที่15 ก.ย. นั้น นายพิจารณ์ กล่าวว่า ถือเป็นสนามที่วัดกระแสนิยมระหว่างพรรคประชาชน กับพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นสนามเลือกตั้งซ่อม สส. ครั้งแรกของพรรคประชาชน ถือเป็นบันไดขั้นแรกที่พรรคประชาชนจะต้องยึดพื้นที่ทางการเมืองให้ได้ มั่นใจว่าในการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้จะสามารถรักษาเก้าอี้ไว้ได้ หากอ้างอิงจากการเลือกตั้งปี 2562 กับปี 2566 ที่ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงสูงสุด 

“การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการยืนยันว่า ท่านไม่เห็นด้วยกับการยุบพรรคก้าวไกล ท่านไม่เห็นด้วยกับการที่ สส.ปดิพัทธ์ สันติภาดา ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี และเป็นการยืนยันว่าท่านต้องการเห็นการเมืองแบบพรรคก้าวไกลนำมาสู่พรรคประชาชน ยืนหยัดอยู่ในสนามการเมืองไทย ถ้าต้องการเห็นพรรคฝ่ายค้านเพิ่มที่นั่ง 1 ที่นั่ง เพื่อมีพลังที่เข้มข้นในการตรวจสอบรัฐบาลที่มากขึ้น” นายพิจารณ์ กล่าว

นายพิจารณ์ กล่าวถึงกรณีที่มีผู้ไปยื่นยุบพรรคเพื่อไทย ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เหตุนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีครอบงำพรรค ว่า เป็นการตอกย้ำการสะท้อนให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 2560 มีปัญหา รวมถึงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่มีปัญหาซึ่งถูกใช้โดยองค์กรอิสระ นำไปเป็นเครื่องมือนิติสงคราม โดยเห็นว่า สส. ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านกำลังหารือกันอยู่ในเรื่องนี้ เชื่อว่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่นักการเมืองทุกส่วนจะหารือร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้กติกาเป็นธรรมมากขึ้นและเพื่อให้เกิดเกมทางการเมืองนิติสงครามในอนาคต เพื่อที่ทุกฝ่ายจะได้มีสมาธิมุ่งทำงานแก้ไขปัญหาให้ประชาชน

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’

ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...

สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...

ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...

อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’

นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...