“จักรพงษ์” ยัน มีงบกลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม กันไว้แล้วหลายพันล้านบาท

“จักรพงษ์” ยัน งบกลางมีพอช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม กันไว้ก่อนแล้วหลายพันล้านบาท ชี้ น้ำไม่มากเท่าปี 54 กำชับ ปภ.-ดีอี อำนวยความสะดวกประชาชน หลังไม่ได้รับแจ้งเตือนภัย ไร้สัญญาณเน็ต

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 26 สิงหาคม 2567 นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม ถึงงบประมาณในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ว่า วันนี้ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาประชุมเพื่อรับทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดว่าเป็นอย่างไร และจะประเมินว่าในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้าจะมีฝนเข้ามาหรือไม่ จะได้ประเมินสถานการณ์ถูก และจะเร่งรัดโครงการที่ทาง สทนช. ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 และอีก 2 โครงการเมื่อต้นเดือนสิงหาคม ว่าทั้งหมดดำเนินการไปถึงไหนแล้ว และจะหารือกันว่ามีวิธีการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบขณะนี้อย่างไร ในส่วนงบประมาณเราจะดูว่ามีงบส่วนไหนที่จะช่วยประชาชนในช่วงนี้

ส่วนคำถาม ประชาชนเป็นห่วงงบกลางว่าเพียงพอที่จะช่วยเหลือหรือไม่ เพราะสถานการณ์น้ำค่อนข้างหนัก นายจักรพงษ์ ระบุว่า เรามีงบกลางเพียงพอ เพราะเราได้กันในส่วนนี้ไว้แล้วเป็นจำนวนหลายพันล้านบาท เพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ เมื่อถามอีกว่าจะมีการช่วยเหลือแบบพิเศษ มากกว่าที่ผู้ประสบภัยต้องได้รับตามปกติหรือไม่ นายจักรพงษ์ เผยว่า ต้องคุยกันก่อนว่าสถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร ประชาชนเดือดร้อนแค่ไหน ซึ่งความจริงเรามีเงินอยู่หลายส่วนที่จะให้ความช่วยเหลือ แต่ต้องรอประชุมถึงจะสรุปได้ว่าจะนำเงินส่วนไหนไปใช้ในภารกิจอะไรบ้าง

...

ขณะที่มีการประเมินหรือไม่ว่าน้ำจะมากเหมือนตอนปี 2554 หรือไม่ และจะมีมาตรการรองรับอย่างไรบ้างนั้น นายจักรพงษ์ กล่าวว่า ข้อมูลที่ได้รับเบื้องต้น ปริมาณน้ำจะไม่เท่ากับตอนปี 2554 แน่นอน ซึ่งการประชุมวันนี้ได้เชิญกรมอุตุนิยมวิทยามาด้วย เพื่อประเมินให้เกิดความแน่นอนว่าจะมีฝนมาอีกหรือไม่ เพราะเรื่องสภาพภูมิอากาศต้องประเมินเรื่อยๆ เนื่องจากอาจมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาทำให้ปริมาณน้ำมีมากขึ้นหรือน้อยลง

สำหรับกรณีที่มีประชาชนร้องเรียนว่าไม่มีการแจ้งเตือนภัยและไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ประสบภัย รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร นายจักรพงษ์ ตอบว่า ได้หารือกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) แล้ว เพราะ 2 หน่วยงานนี้มีศูนย์แจ้งเตือนอยู่แล้ว ซึ่งเราจะกำชับไปให้มากขึ้น ให้ระบบสามารถทำงานได้ ส่วนสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ประชาชนเข้าไม่ถึง ทางกระทรวงดีอีคงจะมีการเสริมอุปกรณ์ลงไปในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เพราะสัญญาณอินเทอร์เน็ตสามารถมีเครื่องโมบายไปตั้งเพื่อใช้ในภารกิจเฉพาะได้.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...