ซีอีโอ'สตาร์บัคส์'คนใหม่กับความท้าทายที่ต้องเผชิญ คือทวง'ตลาดจีน'คืนมา

สตาร์บัคส์”(Starbucks) เดินหน้าธุรกิจครั้งใหม่ด้วยการแต่งตั้ง“ไบรอัน นิคโคล” (Brian Niccol) อดีตซีอีโอของเครือร้านอาหารเม็กซิกัน “ชิปโปเล่“ Chipotle Mexican Grill และถูกขนานนามว่า “ทหารผ่านศึกแห่งอุตสาหกรรมอาหาร” เข้ารับตำแหน่งประธานบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

การแต่งตั้งนิคโคล ให้ดำรงตำแหน่งผู้นำของ Starbucks ได้รับการตอบรับอย่างดีเป็นอย่างยิ่ง โดยหุ้นของ Starbucks พุ่งสูงขึ้น 24.5% ในวันที่ 13 ส.ค. โดยสาเหตุหลักมาจากประวัติการทำงานที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำเร็จในการพลิกฟื้นแบรนด์ “ชิโปเล่” ที่สามารถของบริหารจัดการวิกฤติและการฟื้นฟูภาพลักษณ์ของแบรนด์ รวมทั้งความเข้าใจในธุรกิจอาหารจากประสบการณ์กว่าทศวรรษที่ “ทาโก้ เบล” (Taco Bell) “พิซซ่าฮัท” (Pizza Hut) 

2 ภารกิจสุดท้าทายใน‘จีน’

นิคโคล ในฐานะซีอีโอคนใหม่จะได้รับค่าตอบแทนเป็นมูลค่ารวมกว่า 3,000 ล้านบาท พร้อมกับ "ภารกิจ”สุดท้าทาย คือสถานการณ์ยอดขายในประเทศ "จีน”ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากกำลังซื้อที่ลดลงท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน 

สำนักข่าวนิกเกอิเอเชียรายงานว่า Starbucks หนึ่งในยักษ์ใหญ่แห่งวงการกาแฟโลกมียอดขายจากร้านที่เปิดดำเนินการทั่วโลกในไตรมาส 2 ของปี 2567 ถึง 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า นับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากที่ไตรมาสก่อนหน้าลดลงถึง 4%

“สหรัฐ”ยังคงเป็นตลาดหลักของสตาร์บัคส์  ด้วยจำนวนร้านค้ากว่า 16,730 แห่ง ซึ่งยอดในอเมริกาเหนือก็ลดลงถึง 2%

ส่วน"จีน" ซึ่งเป็นตลาดอันดับ 2 ที่มีร้าน 7,306 แห่ง แต่ยอดขายจากร้านที่เปิดดำเนินการอยู่เดิมลดลง 14% เมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเมษายน-มิถุนายน หลังจากที่ลดลง 11% ในไตรมาสก่อนหน้า กลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้บริหาร

สถานการณ์ Starbucks ในจีนนั้นเลวร้านขนาดที่ว่า CEO คนก่อนหน้าอย่าง“ลักซ์แมน นาราซิมฮาน” ได้ยอมรับอย่างตรงไปตรงมาในระหว่างการประชุมรายงานผลประกอบการครั้งสุดท้ายของเขาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ว่าผลประกอบการของ Starbucks ในจีนกำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างมากและบริษัทไม่พอใจกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จากนั้นก็ก้าวลงจากตำแหน่ง

แม้ว่านาราซิมฮาน จะยอมรับว่าผลประกอบการของ Starbucks ในจีนกำลังเผชิญกับความท้าทาย แต่เขาก็ได้เน้นย้ำถึงแง่มุมบวกบางประการที่เกิดขึ้นในตลาดจีนด้วย คือการขยายเครือข่ายร้านค้าของ Starbucks ในจีนได้ขยายเข้าสู่เมืองระดับรองมากขึ้นและจำนวนสมาชิกโปรแกรมสะสมแต้มเพิ่มขึ้น 1.6 ล้านคนในระหว่างไตรมาส  ทำให้มีสมาชิกที่ใช้งานอยู่ 22 ล้านคน และตัวชี้วัดสำคัญต่างๆ เช่น ธุรกรรมเฉลี่ยต่อวัน, ยอดขายรายสัปดาห์ และอัตรากำไรจากการดำเนินงาน มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

Starbucks เจอความท้าทายทั้ง 2 ทาง ทั้งจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดขายและการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ซึ่งการขยายสาขาอย่างรวดเร็วของ Starbucks และคู่แข่งรายอื่นๆ ทำให้เกิด "สงครามราคา” การแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงส่งผลเสียต่อความสามารถในการทำกำไรของ Starbucks และทำให้สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจมีความไม่แน่นอน

"คอตติ คอฟฟี่" (Cotti Coffee) แบรนด์กาแฟน้องใหม่ไฟแรงในจีนที่ออกโปรโมชันราคาถูก กำหนดราคาขายกาแฟต่อแก้วต่ำกว่าคู่แข่งตัวฉกาจอย่าง "ลัคอิน คอฟฟี่" (Luckin) แบรนด์ร้านกาแฟอันดับ 1 ในปัจจุบันที่เอาชนะStarbucksมาได้ ทั้งยอดขายและจำนวนสาขากว่า 16,000 สาขา 

เดิมพันยอดขายให้ฟื้นกลับ

ปีเตอร์ ซาเลห์ และ เบน ปาเรนต์ นักวิเคราะห์จาก BTIG ที่ให้ความเห็นว่านิคโคล "ได้รับความเคารพและความเชื่อมั่นจากนักลงทุน" รวมถึงจาก Howard Schultz ผู้ก่อตั้ง Starbucks และ Elliott Management หนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท แต่การแก้ไขโชคชะตาของร้าน Starbucks กว่า 7,000 แห่งในจีนท่ามกลางเศรษฐกิจที่ซบเซาจะไม่ใช่งานง่ายสำหรับนิโคล

อย่างไรก็ตาม ซาเลห์และปาเรนต์ ก็มองว่า Starbucks เป็นโมเดลที่ซับซ้อนกว่า Chipotle มาก โดยมีทั้งร้านที่บริษัทเป็นเจ้าของและร้านแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดที่สำคัญในจีนที่กำลังประสบปัญหา

นอกจากนี้ ทั้ง 2 ยังมองว่า Starbucks จะยังคงเดินหน้าธุรกิจในจีนตามแผนและจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ รวมถึงการชะลอการพัฒนาในจีน หรือการขายหรือแยกธุรกิจออกไป

ซานดี ลิม นักวิเคราะห์จาก S&P Global มองว่าเศรษฐกิจจีนยังไม่ฟื้นตัวดีนัก โดยเฉพาะตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา ทำให้ผู้บริโภคกล้าใช้เงินน้อยลง ส่งผลให้การเติบโตของภาคค้าปลีกชะลอตัวลง

“เศรษฐกิจจีนชะลอตัว ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคลดลง คาดว่าสถานการณ์นี้จะยังคงยืดเยื้อไปจนถึงช่วงครึ่งหลังของปี 2567 และ 2568  พร้อมเตือนถึงความเสี่ยงสำคัญโดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหารและสินค้าที่ไม่จำเป็น ซึ่งอาจได้รับผลกระทบหนักจากกำลังซื้อที่หดตัว”

อ้างอิง asia.nikkei  

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...