เปิดขั้นตอน โหวตเลือก นายกฯคนที่ 31 ลงมติโดยเปิดเผย ขานชื่อทีละคน

เปิด 4 ขั้นตอน โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 31 แคนดิเดตนายกฯ ต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีพรรคการเมือง พรรคนั้นต้องมี สส. 25 คนขึ้นไป ลงมติโดยเปิดเผย ขานชื่อทีละคน นายกฯคนใหม่ ได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภา ไม่รวมเสียง สว.

วันที่ 14 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขั้นตอนการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เริ่มจาก วันที่ 16 ส.ค. สภาผู้แทนราษฎร มีกำหนดนัด โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ (นายกคนที่ 31) แทน นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 5-4 พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากกรณีแต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯ เหตุไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

ภายหลัง สภาผู้แทนราษฎร มีหนังสือด่วนที่สุด ระบุให้ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้มีคำสั่งให้นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 2 ครั้งที่ 15 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 

...

อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวจากบ้านจันทร์ส่องหล้า นายทักษิณ ชินวัตร เรียก แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ถกด่วน หลัง "เศรษฐา" หลุดเก้าอี้นายกฯ โดยมีรายงานว่า ชื่อ นายชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย ถูกเสนอชื่อ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ 

สำหรับขั้นตอนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159 เป็นดังนี้

ขั้นตอนที่ 1

แคนดิเดตนายกฯ ที่จะถูกเสนอชื่อมาโหวตในสภา ต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีของพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 88 แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคการเมืองนั้นจะต้องเป็นพรรคที่มี สส. 25 คนขึ้นไป ผู้ที่ถูกเสนอชื่อ ต้องมี สส.รับรองอย่างน้อย 50 คน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159

ขั้นตอนที่ 2

การลงมติเลือกนายกฯ ต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย และมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159  ด้วยการขานชื่อ สส.-สว. ตามลำดับอักษร และให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นรายคน

ขั้นตอนที่ 3


รัฐสภาจะคัดเลือก สส. และ สว.ขึ้นมาเป็นกรรมการนับคะแนน เพื่อความโปร่งใส ทั้งนี้ บุคคลที่จะได้เป็นนายกฯ จะต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภา (ไม่นับรวม สว.) มี สส.ทั้งหมด 493 คน ต้องได้คะแนนเสียงตั้งแต่ 248 เสียงขึ้นไป จึงจะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี

ขั้นตอนที่ 4


เมื่อมีการเห็นชอบบุคคลที่จะได้เป็นนายกฯแล้ว ประธานรัฐสภา คือ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา จะเป็นผู้นำชื่อนายกฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ

จับตา 16 ส.ค.นี้ ประเทศไทย จะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ แทน นายเศรษฐา ทวีสิน หรือไม่ งานนี้น่าติดตามแบบห้ามกะพริบตา  

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...