‘ไดกิ้น’ โหมสปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง รักษาแชร์ 20% ผู้นำตลาดแอร์

มีผู้เล่นหลักแบรนด์จากประเทศญี่ปุ่น อาทิ ไดกิ้น มิตซูบิชิ และแบรนด์จีนมาแรง อย่าง ไฮเออร์ และ ทีซีแอล เปิดเกมแข่งขันชิงตลาดอย่างดุเดือด

วรุตม์ เลขะจิระกุล ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการตลาด บริษัท สยามไดกิ้นเซลส์ จำกัด ฉายภาพรวมตลาดเครื่องปรับอากาศไทยครึ่งปีแรก ได้รับแรงหนุนจากสภาพอากาศที่ร้อน ทำให้ตลาดขยายตัวดี ส่วนครึ่งปีหลังแนวโน้ม “ไม่คึกคัก” เหมือนครึ่งปีแรก เพราะเข้าสู่ฤดูฝน และผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มีทิศทางชะลอขยายโครงการใหม่ รวมถึงเครื่องปรับอากาศไม่ได้รวมอยู่ในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่าน “ดิจิทัลวอลเล็ต” ของรัฐบาล

การแข่งขันมีแบรนด์ใหม่เข้ามารุกตลาดต่อเนื่อง “ไดกิ้น” ในฐานะผู้นำตลาดมุ่งนำเสนอสินค้านวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ เพื่อสร้างความแตกต่าง โดยเน้นเจาะลูกค้าทั่วไปและลูกค้าองค์กร อย่างโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ “วัน แบงค็อก” ปัจจุบัน ไดกิ้น เป็นผู้นำตลาดเครื่องปรับอากาศในไทย ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 20%

“ในครึ่งปีหลังมีหลายปัจจัยต้องติดตามใกล้ชิด ทำให้ไดกิ้นต้องทำงานหนักขึ้น เร่งรุกการตลาดเพิ่มขึ้น แต่ไม่เน้นกลยุทธ์ราคา แม้ว่าราคาเครื่องปรับอากาศของไดกิ้นจะต่างจากแบรนด์อื่นเกือบถึง 50%”

นอกจากนี้ มุ่งทำงานกับร้านตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศกว่า 500 แห่ง โดยเตรียมแผนทำกิจกรรมการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งบริการหลังการขาย เป็นแม่เหล็กดึงดูดลูกค้า

พร้อมกันนี้ ใช้งบ 100 ล้านบาท ทำการตลาดเน้น สปอร์ต มาร์เก็ตติ้ง โดยร่วมสนับสนุนกีฬากอล์ฟ ฮอนด้า แอลพีจีเอ ไทยแลนด์ รวมถึงกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024  ร่วมสนับสนุนการถ่ายทอดสดในประเทศไทย ซึ่งการร่วมสนับสนุนโอลิมปิก 2024 ยังเป็นโอกาสสำคัญที่ครบรอบ 100 ปีของแบรนด์ไดกิ้น สอดคล้องกับเจ้าภาพประเทศฝรั่งเศส ครบรอบการจัดโอลิมปิกในรอบ 100 ปีเช่นกัน

“ไดกิ้น อยากให้คนไทยร่วมรับชมกีฬาไปพร้อมคนทั้งโลก ครั้งนี้มีกีฬาหลากหลาย เป็นโอกาสสำคัญที่ได้ร่วมเชียร์นักกีฬาคนไทย เมื่อประเมินบรรยากาศโอลิมปิกในประเทศไทยมีกระแสคึกคักและเป็นที่พูดถึงอย่างมากในช่วงที่ไทยได้เหรียญ เริ่มตั้งแต่น้องวิว กลวุฒิ นักกีฬาแบดมินตันที่ได้เหรียญเงิน ในด้านผลลัพธ์ต่อแบรนด์ระยะยาว มุ่งหวังให้ลูกค้าต่างจดจำและเป็นแบรนด์ในใจของคนไทย"

นอกจากนี้ ร่วมสนับสนุนกีฬาฟุตบอล ทั้งทีมชาติไทย สโมสรทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด และชลบุรี เอฟซี ล่าสุดประกาศแผนเข้าร่วมสนับสนุน ทีม “ชลบุรี เอฟซี” มากขึ้น โดยใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท เซ็นสัญญาสิทธิ์การตั้งชื่อรังเหย้าชลบุรี เอฟซีเป็น “ชลบุรี ไดกิ้น สเตเดียม” อย่างเป็นทางการ จากที่ผ่านมาเป็นสปอนเซอร์หลัก มีโลโก้แบรนด์ไดกิ้นติดอยู่บนเสื้อนักกีฬาของทีม โดยบริษัทมีโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศอยู่ในชลุบรี 2 แห่ง มีพนักงานในเครือรวม 4,000-5,000 คน และเป็นฐานการผลิตส่งออกไป 50 ประเทศทั่วโลก

“แบรนด์ใช้งบเข้าไปร่วมสนับสนุนสโมสรชลบุรีเอฟซีมากขึ้น เพราะไดกิ้น มีโรงงานใหญ่อยู่ชลบุรี เสมือนเป็นคนในพื้นที่ ซึ่งเวลานี้ที่ ชลบุรี เอฟซี ลงมาอยู่ในไทยลีก 2 ซึ่งแบรนด์มองว่าเป็นช่วงเวลาที่สโมรสรกำลังยากลำบาก ความเป็นเพื่อนที่เราไม่ทิ้งกัน อยากส่งกำลังใจให้กัน ให้ทีมผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้ เพื่อกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง”

จากแผนรุกตลาดตลอดปี 2567 จะทำให้ไดกิ้น สามารถสร้างยอดขายเครื่องปรับอากาศได้ 25% ตามแผน ทำให้แบรนด์ครองส่วนแบ่งการตลาด 20% เป็นผู้นำเช่นเดิม จากปีก่อน มีผลประกอบการรวม 12,000 ล้านบาท 

สำหรับ ไดกิ้น มีโรงงานในประเทศไทย 3 แห่ง ในจังหวัดชลบุรี 2 แห่ง และระยอง 1 แห่ง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ลมพายุใหญ่ทำให้หลายอย่างในสหรัฐชัดขึ้น

นอกจากจะทำความเสียหายร้ายแรงในรัฐฟลอริดาแล้ว พายุเฮลีนยังพัดต่อไปทำความเสียหายร้ายแรงในรัฐอื่นอีกด้ว...

นายกฯ อิสราเอลชี้ สังหารผู้นำฮามาส ‘จุดเริ่มต้นยุติสงครามกาซา’

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน ตามที่กองทัพอิสราเอลแถลงว่า หลังจากไล่ล่ามาอย่างยาวนาน กองทัพก็ “ขจัด นายยาห์...

ทุกคะแนนมีค่า ‘แฮร์ริส-ทรัมป์’ เดินสายให้สัมภาษณ์ขยายฐานเสียง

สำนักข่าวเอพีรายงาน เมื่อไม่กี่วันก่อน คามาลา แฮร์ริส ให้สัมภาษณ์ชาร์ลามาญ (Charlamagne tha God) เจ้...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า (3) | World Wide View

เสียมราฐ เป็นจังหวัดสำคัญทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา หลาย ๆ คนรู้จักในฐานะที่ตั้งของนครวัดและโ...