"พชร" เตรียมหารือ "แบงก์ชาติ-ปปง." หยุดภัย "สแกมเมอร์" ลวงโอนเงิน

"พชร" ที่ปรึกษาประจำประธาน กสทช. ร่วมหารือ รมต.สื่อสารมาเลเซีย ยกระดับปัญหาอาชญากรไซเบอร์สู่วาระอาเซียน ชี้ ธนาคารต้องดูแลมากกว่านี้ หลังพบลวงโอนเงินเร็ว ผ่านโมบายแบงก์กิ้งมากสุด หวังปกป้องประชาชนจากภัยสแกมเมอร์

วันที่ 6 สิงหาคม 2567 ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. พร้อมด้วย นายพชร นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษาประจำประธาน กสทช. และนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการเลขาธิการ กสทช.ให้การต้อนรับ นางเตียง นี เชียง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสื่อสาร ประเทศมาเลเซีย และนายเดเรค เฟอร์นานเดซ คณะกรรมการการสื่อสารและมัลติมีเดียแห่งมาเลเซีย (MCMC) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจโทรคมนาคม เข้าเยี่ยมคารวะ

นายพชร นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษาประจำประธาน กสทช. กล่าวว่า "ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกับกรอบการประชุมกลุ่มอาเซียน เพื่อจัดการภัยสแกมเมอร์ และ AI ที่เป็นปัญหาระดับภูมิภาค หลังจากที่ กสทช.ของไทย ได้ดำเนินมาตรการเข้มข้นในการจัดการสัญญาณ SIMBOX หรือเครื่องแปลงสัญญาณโทรศัพท์จากต่างประเทศ ซิมม้า และบัญชีม้า เพื่อสกัดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีตามนโยบายรัฐบาล"

นายพชร กล่าวอีกว่า ประเทศไทยมีบทบาทนำมาตรการปราบปรามเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด เราบูรณาการความร่วมกันระหว่างฝ่ายตำรวจ ทหาร กสทช. และกระทรวง DES ในส่วนของปฏิบัติการ กสทช. ได้เร่งตัดสัญญาณที่ให้บริการล้นไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และถูกกลุ่มอาชญากรนำไปใช้ก่ออาชญากรรม ส่วนฝั่งวิศวกรรมและกฎหมาย สืบเสาะทำลายอุปกรณ์ผิดกฎหมายในพื้นที่ รวมถึงการระบุเครือข่ายการใช้ของอุปกรณ์คนร้าย เป็นต้น

...

หนึ่งในประเด็นหารือ คือ ลักษณะการก่ออาชญากรรมที่เปลี่ยนแปลงไปใน 2 รูปแบบหลัก คือ การใช้ remote ddos เข้าบังคับเครื่องของประชาชนเพื่อโอนเงิน และ การทำ pig butchering scam ผ่าน romance หรือ investment scam ซึ่งทางหน่วยกำกับดูแลโทรคมนาคม ได้พยายามปิดกั้นการเข้าถึงสัญญาณของอาชญากรข้ามชาติ แต่ก็ยังติดเรื่องระบุตัวคนร้ายที่ใช้เทคนิค virtual control ที่สั่งการอยู่นอกประเทศไทย ปัญหาหลักตอนนี้คือการโอนเงินที่ง่ายเกินไป และปราศจากการป้องกันที่เพียงพอ ซึ่งจะเป็นประเด็นที่จะยกขึ้นในการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่ประเทศลาว ปลายปีนี้

สำหรับประเด็นสำคัญนี้ทาง ประธาน กสทช. ได้สั่งการ มอบให้ นายพชร ไปดำเนินการขอความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพโดยเร็วที่สุด ป้องกันประชาชนจากการถูกหลอกลวงโอนเงินจากมิจฉาชีพ

นายพชร ระบุว่า "พร้อมจะนำแนวทางการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีนี้ ไปหารือกับกระทรวง DES และคณะทำงานที่มีธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เสริมแนวป้องกันทางเทคโนโลยีมากขึ้น เพราะข้อมูลของ กสทช. ที่ได้จากการปฏิบัติการต่อเนื่อง ร่วมกับ ตำรวจ พบว่าช่องว่างการก่ออาชญากรรมตอนนี้คือการโอนเงินผ่านระบบโมบายแบงกิ้ง และการโอนปลายทางไปยังสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งไม่สามารถระบุตัวตนได้จึงต้องมีการออกมาตรการ แนวทางทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่จะสามารถช่วยประชาชนจากการตกเป็นเหยื่อได้มากขึ้น"



ทางด้าน นายเดเรค เฟอร์นานเดซ กรรมการ MCMC ได้เสนอแนวทางกำกับดูแล ระดับภูมิภาค และยกระดับความร่วมมือ ว่าจากการหารือที่ สิงคโปร์ และมาเลเซีย เน้นการสร้างความร่วมมือการดูแลฐานข้อมูล black list URL ที่ใช้ในการก่ออาชญากรรม และมาตรฐานการลงทะเบียน ให้เหมือนกันทั้งหมดในระดับภูมิภาค เพื่อป้องกันการใช้ roaming sim ในการก่ออาชญากรรมต่อไป

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...