นายกฯ ย้ำไทยพร้อมอนุรักษ์ ฟื้นฟู หลังภูพระบาทได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 หลังภูพระบาทได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ย้ำไทยพร้อมอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้องแหล่งมรดกโลกทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น

 

วันที่ 27 กรกกฎาคม 2567 เวลา 11.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงนิวเดลี ซึ่งช้ากว่าไทย 1.30 ชั่วโมง) ณ Bharat Mandapam International Exhibition and Convention Centre กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ผ่านระบบวิดีทัศน์ ภายหลัง คณะกรรมการมรดกโลกฯ มีมติให้ขึ้นทะเบียน อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลก โดยมี นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณคณะกรรมการมรดกโลก ศูนย์มรดกโลก และองค์กรที่ปรึกษา ที่พิจารณาขึ้นทะเบียน อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ “ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมาสมัยทวารวดี” ด้วยตระหนักถึงเกณฑ์คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (Outstanding Universal Value: OUV) ซึ่งทำให้ในปัจจุบันไทยมีรายชื่อแหล่งมรดกโลกรวมจำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย มรดกโลกทางวัฒนธรรมจำนวน 5 แห่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติ จำนวน 3 แห่ง ทำให้จังหวัดอุดรธานีจะเป็นจังหวัดเดียวในไทยที่เป็นที่ตั้งแหล่งมรดกโลกจำนวน 2 แห่ง

นายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า แหล่งมรดกโลกภูพระบาท ประกอบด้วย อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และแหล่งวัฒนธรรมสีมา เป็นตัวแทนวัฒนธรรมสีมาที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยทวารวดีที่มีอายุราวศตวรรษที่ 8 และนับเป็นแหล่งที่ตั้งแหล่งใบเสมาที่ใหญ่ที่สุดของโลก

 

ทั้งนี้การขึ้นทะเบียน ภูพระบาท เป็นมรดกโลกในวันนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อไทย และนำมาซึ่งผลประโยชน์ต่ออนุชนรุ่นต่อไปในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้องแหล่งมรดกโลกในทุกระดับ ตลอดจนดำเนินการยกระดับการมีส่วนร่วมในการวิจัยทางวิชาการเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติอีกทางหนึ่ง

...

ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีหวังว่าจะได้ต้อนรับทุกคนในการเดินทางมาเยือนไทย เพื่อเยี่ยมชม ภูพระบาท ที่เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกลำดับล่าสุดของไทย

อนึ่ง การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21- 31 กรกฎาคม 2567 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ซึ่งที่ประชุมมีการพิจารณาการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของไทย 2 วาระ ได้แก่ 1) การพิจารณาให้ความเห็นชอบการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม “สงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา” เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก และ 2) การพิจารณาขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเป็นมรดกโลก และเสนอให้เปลี่ยนชื่อเป็นแหล่ง “ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมาสมัยทวารวดี” โดยมติของคณะกรรมการมรดกโลกเห็นชอบให้ขึ้นทะเบียน ภูพระบาท เป็นมรดกโลกด้วยเกณฑ์คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (Outstanding Universal Value) ในกลุ่มของภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape).

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ดีมานด์ออฟฟิศย่านซีบีดีกทม.พุ่ง! รับอานิสงส์ต่างชาติย้ายสำนักงานใหญ่

ปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหารหัวหน้าส่วนพื้นที่สำนักงาน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย...

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี” หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

ตั้งแต่ไทยเข้าสู่ฤดูฝน (20 พ.ค. 2567) ถึง ณ วันที่ 27 ส.ค. 2567 มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบจากอุท...

ถ้าจะลาออก จะ ”บอกเจ้านายยังไงดี” ให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย !?

Part.1.เรื่องธรรมดา กับ เรื่อง ไม่ธรรมดา เมื่อพนักงาน ลาออก !? เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่แต่ละที่...

เตรียมโรดทริป 'อันดามัน' เส้นทางใหม่ ถนนเลียบชายฝั่ง เชื่อม 6 จังหวัดยอดฮิต !

โครงการศึกษาความเหมาะสมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ช่วงจังหวัดระนอง – สตูล หนึ่งใ...