‘โตโยต้า’ เปิดตัวไฮบริดรุ่นใหม่ใน’อินโด’ รักษาแชมป์เบอร์ 1 สกัดดาวรุ่ง EV จีน

สำนักข่าวนิกเคอิเอเชีย รายงานว่า “โตโยต้า มอเตอร์” บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด “พรีอุส” (Prius) รุ่นล่าสุดในงาน Gaikindo Indonesia International Auto Show เพื่อรักาาส่วนแบ่งตลาดในอินดดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันโตโยต้าครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 90% ท่ามกลางการบุกตลาดของค่ายรถรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนจำนวนมากขึ้นกำลังมุ่งเป้ามายังตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Prius รุ่นใหม่มีทั้งแบบไฮบริดธรรมดาและแบบปลั๊กอินไฮบริด ซึ่งนำเข้ามาจากญี่ปุ่น โดยรุ่นไฮบริดธรรมดามีราคาอยู่ที่ประมาณ 698 ล้านรูเปียห์ (ราว 1.5 ล้านบาท)

ฮิโรยูกิ อูเอดะ หัวหน้าหน่วยธุรกิจอินโดนีเซียของโตโยต้ากล่าวถึงความสำเร็จของรถยนต์ไฮบริดที่ถูกพิสูจน์แล้วในตลาดต่างประเทศ โดยลูกค้าโตโยต้าในอินโดนีเซียจะได้ใช้ประโยชน์จากรถยนต์ไฮบริดจากการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและคุ้มค่าสำหรับการจราจรที่หนาแน่นในจากาต้า

'อีวีจีน'รุกตลาดใหญ่อาเซียน

อินโดนีเซียถือเป็นฐานที่มั่นของโตโยต้า ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 90% โดยโตโยต้าและบริษัทในเครืออย่างไดฮัทสุที่มียอดขายมากกว่า 50% ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 ตามข้อมูลของกลุ่มอุตสาหกรรม โดยค่ายรถยนต์จีนที่ใหญ่ที่สุดคือวูหลิง มอเตอร์ส (Wuling Motors) เซึ่งอยู่ในอันดับที่เก้าที่ประมาณ 3%

ขณะที่ วูหลิง มอเตอร์ส (Wuling Motors) เป็นค่ายรถยนต์จีนที่มีส่วนแบ่งตลาดในอินโดนีเซียมากที่สุดซึ่งอยู่ในอันดับที่ 9 ของตลาด แต่ยอดขายอยู่ที่ประมาณ 3% ซึ่งห่างโตโยต้าอยู่มาก

อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตรถยนต์จีนพยายามเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาดด้วยรถยนต์ไฟฟ้า ล่าสุดมีการลงทุนเพื่อสร่างโรงงานผลิตในประเทศอินโดนีเซีย

ในปีนี้ มีผู้ผลิตรถยนต์จีน 5 ราย อย่างเช่น บีวายดี (BYD)ขยายเข้าสู่ตลาดรถยนต์ของอินโดนีเซียเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมา และ BAIC Motor  ซึ่งเป็นบริษัทในเครือรัฐบาลจีนได้เปิดตัวในงานแสดงรถยนต์ประจำปีของอินโดนีเซีย พร้อมนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นล่าสุดด้วย

โครงสร้างพื้นฐานรองรับรถ'อีวี'ต้องพร้อม

รัฐบาลอินโดนีเซียกำลังเร่งรัดให้ประชาชนเปลี่ยนจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net-Zero การปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2060  จะช่วยให้ประเทศสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งแร่ธาตุ "นิกเกิล” ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าอีกด้วย

ทั้งนี้ อินโดนีเซียยังมีอุปสรรคหลายประการที่ต้องเอาชนะ เพื่อให้เป้าหมายนี้บรรลุเป้าหมายนี้ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการชาร์จไฟฟ้า ปัจจุบันอินโดนีเซียมีสถานีชาร์จไฟฟ้าเพียงประมาณ 1,400 แห่งที่กระจุดอยู่แต่ในเมืองใหญ่ ซึ่งน้อยกว่าสหรัฐอที่มีมากกว่า 68,000 แห่ง

บริษัทวิจัยมิลิเยอ อินไซต์ ทำการสำรวจความเห็นพบว่า คนอินโดนีเซียยังมีความกังวลเกี่ยวกับราคาและโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับการชาร์จไฟฟ้า ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า

  • 47% บอกว่าราคาแพงเป็นอุปสรรคหลักในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
  • 42% บอกว่า สถานีชาร์จไฟฟ้ามีไม่เพียงพอ
  • 38% กังวลเกี่ยวกับ ระยะทาง ที่รถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้
  • 27% กังวลเกี่ยวกับ การขาดแคลน ช่างซ่อมและอะไหล่รถยนต์ไฟฟ้า

ด้วยเหตุนี้ รถยนต์ไฮบริดจึงยังคงเป็นที่สนใจของผู้บริโภคในประเทศ ตามข้อมูลล่าสุดของ Gaikindo ในปี 2566 ยอดขายรถยนต์ไฮบริดในประเทศอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 5.2 เท่า เป็นประมาณ 54,000 คัน  ในขณะที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ เพิ่มขึ้นเกือบ 70% เป็นประมาณ 17,000 คัน

คนอินโดกู้เงินซื้อรถเกือบ80%

อย่างไรก็ดี  ฟิตช์ เรทติ้งส์ (Fitch Ratings)สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือเผยรายงานว่ายอดขายรถยนต์ในอินโดนีเซีย ในช่วงที่เหลือของปี 2567 ไม่น่าจะพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากธนาคารกลางอินโดนีเซีย (Bank Indonesia) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายในเดือนเมษายน 2567 ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อรถที่สูงขึ้น ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดตึงตัวและผู้บริโภคมีเงินทุนจำกัดในการซื้อรถยนต์

ข้อมูลจากฟิตช์ ระบุว่า ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียประมาณ 80% ใช้บริการสินเชื่อเพื่อซื้อรถยนต์ ดังนั้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจึงส่งผลต่อกำลังซื้อของพวกเขาโดยตรง โดยฟิตช์คาดการณ์ว่า ยอดขายรถยนต์ในอินโดนีเซียปี 2567 จะลดลงเหลือประมาณ 900,000 คัน

อ้างอิง Nikkei

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

แหล่งข่าวเผย อิสราเอลแจ้งสหรัฐจะทำอะไรบางอย่างในเลบานอน!

เมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) กระทรวงสาธารณสุขเลบานอนแถลงว่า วิทยุมือถือ (ว.) ที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ใช้ ได้ระเ...

ว.ฮิซบอลเลาะห์ระเบิด แปะฉลาก ‘เมด อิน เจแปน’

ภาพถ่าย ว.ฮิซบอลเลาะห์ที่ระเบิดเมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) พบฉลาก “ICOM” และ “เมด อิน เจแปน” สำนักข่าวรอยเ...

'บิลลี ไอลิช-โจ โรแกน' เชียร์'คามาลา แฮร์ริส'

เว็บไซต์บลูมเบิร์กรายงาน ป็อปสตาร์ “บิลลี ไอลิช” โพสต์คลิปเคียงข้างพี่ชายบนอินสตาแกรม กระตุ้นให้ผู้ต...

‘รถไฟ’ กระจายความเจริญ กรณีศึกษา: โฮคุริคุ ของญี่ปุ่น | กันต์ เอี่ยมอินทรา

ได้เห็นการเชื่อมต่อด้วยระบบรางระหว่างกรุงเทพกับลาวแล้วก็อดคิดถึงรถไฟต่างประเทศไม่ได้ เพราะรถไฟไทยเรา...