"โรม" ยัน ก้าวไกลไม่ล้มล้างการปกครอง เคารพประชาธิปไตย ไร้หารือย้าย-ตั้งพรรคใหม่

"รังสิมันต์ โรม" ยัน ก้าวไกล ไม่ล้มล้างการปกครอง เคารพระบอบประชาธิปไตย หวังคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค.นี้ จะสร้างความยุติธรรมให้พรรคด้วย ชี้ ยังไม่มีการหารือเรื่องย้ายพรรค-ตั้งพรรคใหม่

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 นายรังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) พรรคก้าวไกล กล่าวภายหลังศาลรัฐธรรมนูญยุติการไต่สวนคดีการยุบพรรคก้าวไกล และนัดตัดสินคดีในวัน 7 สิงหาคม 2567 เวลา 15.00 น. ว่า เพิ่งจะทราบข่าว การเปิดการไต่สวนก่อนหน้านี้คิดว่าจะนำไปสู่ข้อเท็จจริงต่างๆ และนายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้แถลงข่าวกับสื่อมวลชนและประชาชนทั้งประเทศว่า มีความไม่ชอบมาพากลอย่างไรเรื่องของพยานต่างๆ รวมถึงข้อโต้แย้งและปัญหาที่ไปตรวจ อีกทั้งพบว่ามีกระบวนการในการเร่งรัดที่มิชอบด้วยกฎหมาย 

นายรังสิมันต์ ระบุต่อไปว่า การเร่งรัดนั้นทำให้พรรคก้าวไกลไม่มีสิทธิ์ในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ การต่อสู้คดีของพรรคก้าวไกลที่ต้องการนำพยานหลักฐานต่างๆ เพื่อนำไปสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ก็ไม่สามารถทำได้ และต้องยอมรับว่าการต่อสู้คดีของพรรคก้าวไกลคงจะยากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถระบุได้ว่าผลลัพธ์ของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม จะเป็นอย่างไร แต่ก็หวังว่าผลลัพธ์ดังกล่าวจะสร้างความยุติธรรมให้กับพรรคก้าวไกลด้วยเช่นเดียวกัน 

ส่วนคำวินิจฉัยในวันที่ 7 สิงหาคม มองเร็วเกินไปหรือไม่ นายรังสิมันต์ กล่าวว่า พรรคก้าวไกลให้ความสำคัญในเรื่องของกระบวนการมากกว่า ซึ่งตนเองมองว่าพยานปากที่สำคัญของพรรคก้าวไกล คือ นายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายให้กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดังนั้นเนื้อหาสาระเช่นนี้จึงไม่สามารถมองข้ามได้ อยากให้กระบวนการเดินทางไปในลักษณะรับฟังทุกฝ่ายอย่างละเอียด แน่นอนว่ากระบวนการเป็นไปอย่างที่หวังไว้ และคงต้องมีการเข้าไปพูดคุยกันภายในพรรคก้าวไกลอีกครั้ง เนื่องจากทางพรรคยังไม่มีการหารือในเรื่องนี้  

...

"ยืนยันว่า พรรคก้าวไกล เป็นพรรคการเมืองที่ไม่ล้มล้างการปกครอง และไม่ใช่พรรคการเมืองที่ต้องการเซาะกร่อนทำลายอย่างที่ถูกกล่าวหา เป็นพรรคการเมืองที่เคารพในระบอบประชาธิปไตย และเป็นพรรคการเมืองที่ต้องการเห็นประเทศของเราเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง"

นายรังสิมันต์ กล่าวต่อไปในประเด็นเรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้วินิจฉัยที่หมายความว่า จะไม่สามารถแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 ได้ แต่ต้องเป็นการแก้ไขที่ถูกต้อง ซึ่งมีกระบวนการของมันอยู่ตามกฎหมาย คำวินิจฉัยของศาลรอบที่แล้ว การสั่งให้หยุดการกระทำ ซึ่งทุกวันนี้ก็ไม่ได้การกระทำอะไรเพิ่มเติม ทั้งนี้เชื่อว่าในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ ประชาชนทุกคนยังคงเฝ้ารอผลสรุปการประชุมที่สอดรับกับเหตุผล และประชาชนจะยอมรับกันได้มากน้อยแค่ไหน 

ขณะที่คำถามว่าในวันที่ 7 สิงหาคม 2567 นายชัยธวัช จะมานัดแนะกับทางสมาชิกพรรคอย่างไรในเรื่องของการย้ายพรรคหรือตั้งพรรคใหม่หรือไม่ นายรังสิมันต์ เผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนขนาดนั้น ส่วนตัวคิดว่าหมายข่าวของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา คาดว่าหัวหน้าพรรคเพิ่งจะทราบ จึงคิดว่าน่าจะยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนั้น แต่คาดว่าคงจะมีการชี้แจงในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง และทุกคนจะได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเป็นทางการ.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...