"ไทยสร้างไทย" เปิดเวทีถกแก้ รธน.ก.ม.นิรโทษฯ-ม.112 เชื่อใช้เวลาไม่เกินปี

"ไทยสร้างไทย" เปิดเวทีถกแก้ รธน. ทำประชามติ ก.ม.นิรโทษกรรม และ ม.112 โดยหยิบร่างปี 60 มาปรับ เว้นแก้หมวด 1-2 เชื่อใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี เสนอเปิดช่อง "ขอพระราชทานอภัย" ก่อนมีคำพิพากษา

วันที่ 11 ก.ค. 67 ที่รัฐสภา พรรคไทยสร้างไทย นำโดย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรค จัดเสวนาทางวิชาการ ทางออกในการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ และปัญหา พ.ร.บ.นิรโทษกรรมกับมาตรา 112 โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนพรรคการเมืองเข้าร่วมพูดคุย

...

ดร.โภคิน พลกุล ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ กล่าวถึงปัญหาของรัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งมีปัญหาในหลายจุดหลายมาตรา จึงเชื่อว่าทุกฝ่ายจะเห็นตรงกันว่าต้องแก้ไขให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทันการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น โดยเห็นว่ากระบวนการแก้ไขที่ผูกติดกับการทำประชามติหลายครั้ง จะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความล่าช้า แก้ไขได้ยากท้ายที่สุดอาจไม่ทันการเลือกตั้งหรือไม่สามารถแก้ไขได้จนหมดวาระของรัฐบาลก็ยังไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ

วิธีที่จะทำให้การแก้ไขเป็นไปตามเจตจำนงของพี่น้องประชาชน มีกติกาที่เป็นประชาธิปไตยก่อนการเลือกตั้ง จึงไม่จำเป็นต้องแก้ไขทั้งฉบับ แต่ดำเนินการแก้ไขตั้งแต่หมวด 3 เป็นต้นไปโดยเว้นการแก้ไขหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2 วิธีการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง แต่เราจะได้รัฐธรรมนูญที่มีการแก้ไขและยังเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน โดยหลักการคือ การนำรัฐธรรมนูญปี 60 มาแก้ไขใหม่ ปรับแก้ตั้งแต่หมวด 3 เป็นต้นไปไม่แก้ไขหมวด 1 หมวด 2 จัดให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง 100% เป็นผู้แก้ไข

ส่วนปัญหาว่าจะนิรโทษกรรมพี่น้องประชาชนที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 หรือไม่ และอย่างไรนั้น ดร.โภคิน มองว่าอาจต้องมีการปรับแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยเฉพาะขั้นตอนการกล่าวโทษต้องมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นคณะกรรมการกลั่นกรองป้องกันการนำกฎหมายอาญามาตรา 112 ไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง รวมถึงการเสนอให้เพิ่มกระบวนการ "ขอพระราชทานอภัย" ก่อนมีคำพิพากษา

ด้าน ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2540 และปี 2550 แม้จะแก้ไขยาก แต่ท้ายที่สุดก็สามารถการแก้ไขได้ ขณะเดียวเห็นว่าเมื่อรัฐธรรมนูญใช้ไประยะหนึ่งควรมีการปรับปรุงแก้ไข ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นไปไม่ได้ ส่วนขั้นตอนการทำประชามติเห็นว่าควรทำหลังจากที่รัฐธรรมนูญผ่านแล้ว นอกจากนี้ ดร.สมคิด มองว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 เป็นได้ทั้งปัญหาและโอกาส อาจพิจารณามองข้ามบางหมวดที่ไม่จำเป็นต้องแก้ไข ขณะเดียวกันต้องไปศึกษาเพิ่มเติมคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเคยมีคนขอแก้บางมาตราที่เกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับอำนาจการปกครอง พร้อมฝากไปถึงผู้ที่จะเข้ามามีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องสื่อสารให้ดีเพื่อไม่ให้การมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ คือการตีเช็คเปล่า ซึ่งจะทำให้การตอบรับจากประชาชนอาจเป็นไปในทิศทางอื่นได้

ส่วนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้นคนมองไปที่บุคคลซึ่งถูกกลั่นแกล้ง จึงเห็นด้วยกับการเสนอตั้งคณะกรรมการ เพื่อเสนอความเห็นก่อนอัยการส่งฟ้อง และมองว่าเป็นช่องทางที่ดี หากมีพระราชทานอภัยก่อนที่คดีจะถึงที่สุด

ดร.ยุทธพร อิสรชัย อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มองว่า หลายครั้งที่พยายามออกแบบกลไกต่างๆ ในรัฐธรรมนูญแต่ท้ายที่สุดก็เกิดปัญหา รัฐธรรมนูญจึงอาจไม่ใช่คำตอบในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทุกภาคส่วนในสังคมจึงต้องมาตั้งสติ

ขณะเดียวกันเห็นว่าคำวินิจฉัย 4/2564 ยังไม่มีความไม่ชัดเจนในเงื่อนไขที่จะพิจารณา มาตรา 255 ระบอบการปกครอง และ 256 ก็จะขัดกับ 255 ไม่ได้ ทำให้การไม่แก้บางมาตรา เป็นวิธีที่ดี แต่ด้วยเงื่อนไขหลักการวินิจฉัย 4/2564 ก็จะยังไม่เป็นการยืนยันว่าคือการแก้ไขที่ไม่เป็นการแก้ไขทั้งฉบับหรือไม่

และเห็นว่าการนิรโทษกรรมโดยใช้กฎหมายอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ อาจไม่สามารถทำให้บ้านเมืองเกิดความปรองดองได้ด้วยการแก้ไขกฎหมายเพียงฉบับเดียว เนื่องจากมีการแบ่งขั้วที่ร้าวลึกในสังคมไทยเกิดขึ้นพัฒนาไปสู่ความขัดแย้งทางอุดมการณ์เกิดขึ้นในรัฐ และเกิดคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง ทั้งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 110 ซึ่งกระบวนการในการแก้ไข หรือนิรโทษกรรมอาจมีความแตกต่างกัน และอาจเกิดผลในทางบวกทางลบแตกต่างกัน ซึ่งต้องนำมาพิจารณาด้วย. 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...