ดิจิทัลวอลเล็ต อาจไม่ใช้เงิน ธ.ก.ส. จ่อดึงงบ 67-68 ปรับวงเงินเหลือ 4.5 แสนล้าน

“จุลพันธ์” เผยมติคณะอนุกรรมการดิจิทัลวอลเล็ต จ่อดึงงบประมาณ 67-68 แทน อาจไม่ต้องใช้เงิน ธ.ก.ส. พร้อมปรับกรอบวงเงินเหลือ 4.5 แสนล้าน แต่กลุ่มเป้าหมายเท่าเดิม 50 ล้านคน ตัดสินค้าอุปกรณ์สื่อสาร-เครื่องใช้ไฟฟ้าออก มั่นใจได้ใช้ในปลายไตรมาส 4

วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ภายหลังจาก นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 7/2567 โดยมี นายสุรชาติ เทียนทอง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์) นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 1 กระทรวงการคลัง โดยใช้เวลาประชุมนาน 4 ชั่วโมง 

นายจุลพันธ์ เปิดเผยว่า การประชุมมีข้อสรุปดังนี้ สำหรับการลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต จะใช้ระบบ KYC การยืนยันตัวตนสำหรับลูกค้าผู้บริโภค ผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ซึ่งขณะนี้ประชาชนสามารถเข้ามาลงทะเบียนยืนยันตัวตนไปบางส่วนแล้ว และระบบ KYM การยืนยันตัวตนสำหรับร้านค้า เบื้องต้น ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์มีร้านค้าอยู่ในระบบแล้วราว 2-3 ล้านราย 

...

ส่วนเงื่อนไขการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ยังเป็นหลักเกณฑ์เดิม คือ ผู้เข้าร่วมโครงการอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป (ณ 30 กันยายน 2567) รายได้รวมในบัญชี 500,000 บาท รวมทุกบัญชี (ณ 31 มีนาคม 2567) และผู้มีรายได้ 840,000 บาท ในฐานปีภาษี 2566 

ส่วนเงื่อนไขการใช้จ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี

  • การใช้จ่ายระหว่าง “ประชาชน กับ ร้านค้า” เงื่อนไขเป็นไปตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง คือ กำหนดให้การใช้จ่ายในรัศมีภายในอำเภอ 
  • การใช้จ่ายระหว่าง “ร้านค้า กับ ร้านค้า” มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขรัศมีระยะทาง จากเดิมกำหนดร้านค้าต่อร้านค้าภายในเขตอำเภอ เปลี่ยนเป็นไม่กำหนดระยะระหว่างร้านค้ากับร้านค้า และทุกร้านค้า 

ส่วนรายการสินค้า Negative List มีการเปลี่ยนแปลง โดยนำเอาสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์-เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์สื่อสารออกจากโครงการ 

สำหรับแหล่งที่มาของเงิน ก่อนหน้านี้คาดการณ์จะใช้งบประมาณ 500,000 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ส่วนหนึ่ง แต่วันนี้ได้ปรับวงเงินที่จะใช้โครงการนี้เหลือ 450,000 ล้านบาท โดยสำนักงบประมาณ เสนอให้ใช้เงินงบประมาณปี 2567 จำนวน 152,700 ล้านบาท และงบประมาณปี 2568 จำนวน 132,300 ล้านบาท รวม 285,000 ล้านบาท ซึ่งวางกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการไว้จำนวนเท่าเดิม 50 ล้านคน โดยจะต้องรอให้สรุปตัวเลขลงทะเบียนก่อน จึงจะสามารถระบุได้ว่าจะใช้งบประมาณเท่าใด คาดว่าจะไม่ต้องนำงบของ ธ.ก.ส. มาใช้ในโครงการ ยืนยันว่าโครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะสามารถใช้ได้ทันกรอบเวลาเดิมคือปลายไตรมาส 4

โดยการประชุมวันนี้ เพื่อสรุปรายละเอียดเตรียมเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ชุดใหญ่ ซึ่งมี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 และเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ต่อไป.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...