ก้าวไกล จับตาบอร์ด ธ.ก.ส. ลงมติปมเงินดิจิทัล หากไม่ตรงวัตถุประสงค์ เสี่ยงผิดกฎหมาย

“จุลพงศ์” สส.ก้าวไกล เตือนคณะกรรมการ ธ.ก.ส. พร้อมจับตาการลงมติออกเงินทดรองแจกดิจิทัลวอลเล็ต ชี้ หากไม่เป็นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน อาจเสี่ยงทำผิดกฎหมาย

วันที่ 9 กรกฎาคม 2567 นายจุลพงศ์ อยู่เกษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แถลงข่าวที่อาคารรัฐสภา ถึงโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ว่า ภายหลังจากที่ได้รับทราบข่าวจาก นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ว่ารัฐบาลยังไม่ได้สอบถามคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับการใช้เงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเหตุใดจึงมีความล่าช้า 

ทั้งนี้ ได้มีการค้นคว้าแง่มุมทุกด้านทางกฎหมายที่เกี่ยวกับ ธ.ก.ส. โดยละเอียด และได้ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องความเสี่ยงทางกฎหมายของ ธ.ก.ส. ว่า การที่ ธ.ก.ส. จะออกเงินทดรองเพื่อแจกในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตประมาณ 170,000 ล้านบาท สำหรับการซื้อขายสินค้าทั่วไปตามที่รัฐบาลได้กำหนดไว้นั้น เป็นการขัดกับกฎหมายคือ พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 และฉบับที่แก้ไขต่อมาอย่างชัดเจน เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ธ.ก.ส. หรือวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการของ ธ.ก.ส. ไม่ได้ให้อำนาจแก่คณะกรรมการ ธ.ก.ส. ในการลงมติอนุมัติให้ ธ.ก.ส. ทดรองเงินเพื่อนำไปใช้แจกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแต่อย่างใด เงิน ธ.ก.ส. จะต้องนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรหรือเพื่อส่งเสริมอาชีพทางการเกษตรเท่านั้น 

นายจุลพงศ์ กล่าวต่อไปว่า หากรัฐบาลจะอ้างมาตรา 28 ของ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ให้ ธ.ก.ส. แจกเงินให้ได้ แต่มาตรา 28 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า การที่หน่วยงานของรัฐจะทำตามที่ได้รับการมอบหมายจากรัฐบาลนั้น ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่อยู่ภายในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น 

...

“จึงขอเตือนไปถึงคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ว่า หากลงมติให้ ธ.ก.ส. แจกเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต โดยไม่ได้จำกัดการแจกว่าให้ผู้ที่ได้รับการแจกเงิน ต้องนำเงินที่ได้รับจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเพื่อไปพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตร หรือเพื่อส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร ตามวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. อีกทั้ง การที่คณะกรรมการ ธ.ก.ส. ลงมติเห็นชอบนั้น มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย” 

นายจุลพงศ์ ระบุอีกว่า ไม่สามารถอ้างได้ว่าทำตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะมติ ครม. ไม่ใช่กฎหมาย แต่หากคณะกรรมการ ธ.ก.ส. จะลงมติให้ผู้รับเงินนำเงินที่ได้รับแจกจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตไปใช้ได้เฉพาะเพื่อการเกษตร เช่น ให้เกษตรกรที่เป็นชาวนาทั่วไปนำไปซื้อปุ๋ย ก็จะเป็นการซ้ำซ้อนกับโครงการปุ๋ยคนละครึ่งที่รัฐบาลจะให้ ธ.ก.ส. ออกทดรองไปก่อนถึง 30,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ขอเป็นกำลังใจช่วยคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ในการลงมติ และจะขอติดตามดูมติของคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ว่าจะออกมาอย่างไรต่อไป.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...