5 ข้อดียกเลิก ‘ดิวตี้ฟรีขาเข้า’ รัฐหวังเพิ่มการใช้จ่ายในประเทศ 3 พันล้าน  

หนึ่งในมาตรการและแนวทางการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายที่กระทรวงการคลังได้นำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ คือการ ยกเลิกการอนุญาตให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อขายสำหรับร้านค้าปลอดอากรขาเข้า  รวมถึงการยกเว้นอากรของที่ซื้อจากร้านค้าปลอดอากรสำหรับผู้โดยสารขาเข้าเพื่อส่งเสริมการบริโภคและการใช้สินค้าภายในประเทศ หรือการ "ยกเลิกดิวตี้ฟรีขาเข้า"

โดยมีสนามบิน 8 แห่งทั่วประเทศที่จะยกเลิกดิวตี้ฟรีขาเข้า  ได้แก่

  1. ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  2. ท่าอากาศยานดอนเมือง
  3. ท่าอากาศยานเชียงใหม่
  4. ท่าอากาศยานภูเก็ต
  5. ท่าอากาศยานหาดใหญ่
  6. ท่าอากาศยานอู่ตะเภา
  7.  ท่าอากาศยานสมุย
  8. ท่าอากาศยานกระบี่

โดยจากสถิติของกรมศุลกากรในปี 2566 มียอดจำหน่ายสินค้าปลอดอากรในร้าน Duty Free ขาเข้ารวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 3,021.75 ล้านบาท

 

กระทรวงการคลังได้รายงานให้ ครม.รับทราบว่าจากการศึกษาผลประโยชน์และผลกระทบของการหยุดการดำเนินการ Duty Free ขาเข้าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ 5 ข้อดังนี้

1.ผลต่อการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาตินักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยในประเทศมากขึ้น และมีการกระจายการใช้จ่ายและการบริโภคสินค้าและบริการภายในประเทศอย่างกว้างขวาง โดยหากมีการหยุดการดำเนินการ จำหน่ายสินค้าในร้านค้าปลอดอากรขาเข้า 1 ปี คาดว่าจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวต่อคนต่อทริป เพิ่มขึ้นประมาณ 576 บาทต่อคนร้านค้าในประเทศได้รับเม็ดเงินหมุนเวียนใหม่เพิ่มเติมสูงสุด 3,460 ล้านบาทต่อปี ถือเป็นการสร้างโอกาสและส่งผลเชิงบวกต่อการผลิต การลงทุน และการจ้างงานได้ต่อไป

2. ผลต่อการใช้จ่ายของผู้เดินทางชาวไทย ผู้เดินทางชาวไทยอาจจะเลือกใช้จ่ายซื้อสินค้าปลอดอากรจากประเทศต้นทางเพื่อทดแทน หรือใช้จ่ายซื้อสินค้าประเภทเดียวกันในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยขึ้นกับปัจจัยในการตัดสินใจที่แตกต่าง

 

3.ผลต่อผู้ประกอบการภายในประเทศ โดยแม้ว่าผู้ประกอบการคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากรจะมีการสูญเสียรายได้อากรขาเข้าส่วนของการจำหน่ายสินค้าในร้านค้าปลอดอากรขาเข้า

 อย่างไรก็ดี ประเมินว่า หากมีการหยุดการดำเนินการจำหน่ายสินค้าในร้านค้าปลอดอากรขาเข้าเป็นระยะเวลา 1 ปี คาดว่าจะส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านค้าและผู้เกี่ยวข้องในภาคการท่องเที่ยว ตลอดจนร้านค้าทั่วไป เสมือนได้รับเม็ดเงินหมุนเวียนใหม่เพิ่มเติมสูงสุด 3,640  ล้านบาทต่อปี เป็นการสร้างโอกาสและส่งผลเชิงบวกต่อการผลิต การลงทุน และการจ้างงานได้

4.ในส่วนของผลกระทบต่อรายได้ของรัฐเม็ดเงินหมุนเวียนมีการกระจายสู่ผู้ประกอบการร้านค้าในวงกว้างเพิ่มมากขึ้นและส่งผลให้เกิดการขยายฐานการจัดเก็บภาษีของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม

และ 5.ผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวม กรณีที่มีการหยุดดำเนินการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรด้านคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อขายสำหรับร้านค้าปลอดอากรขาเข้าเป็นระยะเวลา 1 ปี กระทรวงการคลังคาดว่าจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ขยายตัวได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.012% ต่อปี โดยจะส่งผลต่อเนื่องในทางเศรษฐกิจให้มีการผลิต การลงทุน และจ้างงานเพิ่มเติมซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในประเทศ และภาครัฐจะสามารถจัดเก็บภาษีจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

รมต.สหราชอาณาจักร เสร็จภารกิจเยือนไทยย้ำร่วมมือ รัฐบาลแพทองธาร

แคทเธอรีน เวสต์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนา รับผิดชอบกิจการอินโด-แปซิฟิก (รม...

'อิสราเอล' ถล่มกรุงเบรุตเด็ดชีพผบ. 'ฮิซบอลเลาะห์' มีผู้เสียชีวิตแล้ว 14 ราย

สำนักข่าวเอพีรายงาน พล.ร.ต.แดเนียล ฮาการี โฆษกกองกำลังป้องกันอิสราเอลกล่าวยืนยันว่า อิสราเอล สามารถป...

‘บัฟเฟตต์’ มอบเงินมหาศาลให้การกุศล แต่ทำไมถึงไม่มอบเงินก้อนโตให้ลูกๆ ตัวเอง

วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) หนึ่งในนักลงทุนระดับตำนานที่ร่ำรวยที่สุดในโลก มียอดทรัพย์สินสุทธิ ...

ค่ายรถไฟฟ้าเวียดนามอ่วมหนัก 'วินฟาสต์' ขาดทุนพุ่ง 27% ไตรมาส 2

บริษัทวินฟาสต์ (Vinfast) ค่ายรถไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/2024 ขาดทุนเพ...