ประชุม ครม.นัดแรก 13 ก.ย. รัฐบาลจ่อคลอดมาตรการรับมือเอลนีโญช่วยภาคเกษตร

นายกรัฐมนตรี “เศรษฐา” สั่ง รมว.เกษตรฯ รวบรวมข้อมูลชง ครม.นัดแรก 13 ก.ย.นี้ คลอดมาตรการรับมือเอลนีโญ ช่วยภาคเกษตร เตรียมร่วมประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่นิวยอร์ก

วันที่ 6 กันยายน 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดพิเศษนัดแรก โดยผู้สื่อข่าวถามถึงนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องการเกษตร ซึ่งขณะนี้เกษตรกรได้รับผลกระทบจากปัญหาปรากฏการณ์เอลนีโญ จนทำให้เรื่องการส่งออกและผลผลิตลดลง ว่า เป็นคำถามที่ดี เรื่องของการเกษตรและปากท้องของคนไทยทุกคน เป็นเรื่องที่รัฐบาลนี้ตระหนักดี ตั้งแต่ที่หาเสียงก็ใช้เป็นนโยบายหลักของพรรคเพื่อไทย และเมื่อมาอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาล ทุกพรรคการเมืองก็เห็นด้วยที่จะต้องให้ความสำคัญกับภาคการเกษตร ทั้งเรื่องการขยายตลาดรายได้ ซึ่งอาจมี 2 เรื่องที่อาจย้อนแย้ง คือ การขยายรายได้ให้เกษตรกร โดยจะต้องมีการส่งออก 

แต่จากคำถามของผู้สื่อข่าวที่ว่าจะส่งออกอะไร เพราะส่งออกไปแล้วคนไทยไม่มีให้กิน เราจึงต้องมาดูให้ดี และการเพิ่มรายได้ก็คือเรื่องการส่งออกก็ต้องมีการเปิดตลาดใหม่ โดยเฉพาะการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก การลดค่าใช้จ่าย ทั้งเรื่องปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ทั้งหมดจะเป็นการเพิ่มรายได้สุทธิของเกษตรกร แต่เราต้องคำนึงถึงว่าพืชบางชนิด อาจจะมีการขาดแคลน ที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญเอฟเฟกต์

“เรื่องของการแก้ปัญหานี้รัฐบาลตระหนักดี ในการประชุม ครม.นัดแรก ขอให้อดใจอีกนิด เราจะประชุม ครม.ครั้งแรก ในวันที่ 13 กันยายนนี้ จะมีมาตรการต่างๆ ออกมาเกี่ยวกับเรื่องเอลนีโญ ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวบรวมข้อมูลนิดนึง”

เศรษฐา ทวีสิน นายรัฐมนตรีคนที่ 30 โชว์นโยบายรัฐบาลที่เตรียมแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 11 กันยายน 2566

...

เมื่อถามต่อไปว่าก่อนหน้านี้เกษตรกรปลูกข้าวเสียหายประมาณ 7 ล้านตัน โดยทั้งปีนี้และมีเกษตรกรไม่สามารถปลูกข้าวได้เลย 9 ล้านไร่ ตรงนี้จะต้องมีการชดเชยหรือไม่ตามนโยบายรัฐบาล นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอไปดูข้อมูลก่อน ตรงนี้ยังไม่ได้รับรายงาน

ส่วนเรื่องการเดินทางเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 78 (The 78th UN General Assembly หรือ UNGA 78) ระหว่างวันที่ 18-26 กันยายน ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา จะทำให้เขาสนใจและเดินทางเข้าประเทศไทยได้มากขึ้นอย่างไร นายเศรษฐา ตอบว่า ก็เป็นโอกาสหนึ่ง ปัจจุบันกระทรวงการต่างประเทศกำลังรวบรวมรายชื่อผู้นำประเทศที่เราจะเข้าพบ ซึ่งตนพยายามที่จะนัดหมายนักธุรกิจระดับโลกหลายท่าน เพื่อพูดถึงการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมีอะไรบ้าง ซึ่งการประชุมนี้ถือเป็นเวลาที่ดีที่เราจะไปพบปะพูดคุย 

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าจะมีโอกาสได้พบกับผู้นำสหรัฐอเมริกาหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า กำลังนัดอยู่ คิดว่าน่าจะได้อยู่แล้ว เพราะจะมีการเลี้ยงอาหารค่ำผู้นำที่เข้าร่วมการประชุม ส่วนคำถามย้ำว่าเป็นลักษณะทวิภาคีหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า “ก็หวังว่าจะได้มีการหารือแบบทวิภาคี”

(ภาพ : ธนัท ชยพัทธฤทธี)

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...