92 ปี ‘24 มิถุนา 2475’ ทุนธิปไตย กุมสภาพ กลืนการเมือง

Key Points

24 มิถุนายน 2475 วันเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย ครบ 92 ปี ในปีนี้ 

ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ยังเดินหน้าไปในแบบที่เป็น บางฝ่ายดูจะยังไม่พอใจ พร้อมสานต่อจุดมุ่งหมายของคณะราษฎรให้สำเร็จ

ถึงวันนี้การเมืองไทย ผ่านพ้นยุคขุนศึกครองเมือง สู่ยุคนายทุนผู้ทรงอิทธิพล กำหนดเกมแห่งอำนาจ 

ครบรอบ 92 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เวียนมาถึงอีกคำรบ วันสำคัญของการเมืองไทย การเปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จาก 24 มิถุนายน 2475 ถึง 24 มิถุนายน 2567

กลุ่มการเมืองบางฝ่าย หรือกลุ่มแนวคิดก้าวหน้าในปัจจุบัน ยังคงแน่วแน่ ยึดทุกวันที่ 24 มิ.ย.ของทุกปี รำลึกถึงเหตุการณ์ และเจตจำนงของ คณะราษฎร เป็นหมุดหมายสำคัญที่ต้องสานต่อให้สำเร็จ

จากพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว สู่รัฐธรรมนูญ ฉบับแรก ที่ในหลวง รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทาน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาจนถึงรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน ปี 2560 การเมืองไทยผ่านอะไรมามากมาย

ความเป็นประชาธิปไตยของไทย อีก 8 ปี จะครบศตวรรษ ผ่านช่วงเวลาล้มลุกคุกคลาน เบ่งบาน มืดมน ครบทุกรสชาติ บางคนมองว่า เดินทางมาไกลพอสมควร แต่บางคนมองว่ายังไปไม่ถึงไหน ติดโครงสร้างบางอย่างทางสังคม

ในช่วงไม่ถึง 10 ปีที่ผ่านมา ความคิดทางการเมืองของคนในสังคมแบ่งแยกกันชัดเจน ระหว่างฝ่ายขวา และฝ่ายซ้าย หรืออนุรักษนิยมกับฝ่ายก้าวหน้า ขับเคลื่อนผ่านพรรคการเมือง ลงเลือกตั้งมี สส.เข้าสภาฯ

โดยที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยุคหลังๆ มานี้ กลุ่มทุนใหญ่ ซึ่งมีอุดมการณ์หลักในการพิทักษ์ผลประโยชน์ทางธุรกิจของตัวเอง หรือทำการเมืองโดยใช้ทุนมโหฬาร มีตัวแทนเข้าไปเป็น สส. หรือส่งคนไปนั่งในฝ่ายบริหารเพื่อกำหนดนโยบายเอื้อกลุ่มทุน และต่างมีอิทธิพลทางการเมืองในการกำหนดทิศทางประเทศไม่น้อย

ไม่ว่าพลเรือนหรือขุนศึก จะขึ้นมามีอำนาจบริหารประเทศ กลุ่มทุนใหญ่ซึ่งมีความสามารถพิเศษ ก็มักจะเข้าถึงศูนย์กลางอำนาจได้อยู่เสมอ

ขณะที่ฝ่ายที่นิยามตัวเองเป็นกลุ่มก้าวหน้า วาดฝันรูปแบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในอุดมคติ ก็ขับเคลื่อนชุดความคิดเหล่านี้สู้กับกลุ่มทุน และคนถือปืนมาอย่างต่อเนื่อง ผลผลิตสำคัญแห่งยุคสมัยคือ การก้าวขึ้นมาของพรรคอนาคตใหม่ สู่พรรคก้าวไกล การเคลื่อนไหวในหลายมิติล้วนมีความหมายเชื่อมโยงถึงกัน

การที่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ควักเงินซื้อบ้านอองโตนี บ้านพักของปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ผู้มีบทบาทสำคัญ ที่ฝรั่งเศส ประมาณ 63 ล้านบาท

วัตถุประสงค์สำคัญตามที่ธนาธร เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อผลักดันความตระหนักรู้ด้านประวัติศาสตร์การเมือง เป็นการต่อสู้ระหว่างการลบเลือนกับความทรงจำ หลังจากสัญลักษณ์ต่างๆ ของคณะราษฎร เช่น อนุสาวรีย์ปราบกบฏ หรือหมุดคณะราษฎร ที่หายไป

“เขาต้องการให้ประชาชนลืม หน้าที่ของเราคือ ทำให้ประชาชนจำในเรื่องเหล่านี้ ผมว่านั่นคือ หัวใจของการตัดสินใจของผมว่าทำไมถึงเข้าไปซื้อ” ธนาธร ระบุ

ถือเป็นการตอกย้ำแนวคิดของกลุ่มการเมืองหัวเอียงซ้าย ที่ได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งยังต้องต่อสู้บนถนนการเมืองกันอีกหลายยก

ถึงแม้สภาพสังคม ความคิดของคนจะเปลี่ยนตามยุคสมัย แต่การเมืองไทย ก็ดูจะยังวนเวียนกับการแย่งชิงอำนาจ และผลประโยชน์ เปลี่ยนไปแค่บทบาท และตัวละคร แต่พล็อตการเดินเรื่องก็ดูจะเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...