“อรรถกร” แจงหลายประเด็น ก.เกษตรฯ รับ งบที่จัดสรรไม่พอแก้ปัญหาทั้งระบบ

“อรรถกร” รมช.เกษตรฯ ตอบข้อซักถามอภิปรายงบประมาณ 2568 ยัน ไม่นิ่งนอนใจ รับ งบที่จัดสรรไม่พอแก้ปัญหาให้เกษตรกรทั้งระบบ ย้ำ จะลงพื้นที่ให้มากและลึกขึ้น 

เมื่อเวลา 12.36 น. วันที่ 21 มิถุนายน 2567 นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงและตอบข้อซักถามการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วาระแรกวันสุดท้าย ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 1 ครั้งที่ 2 (สมัยวิสามัญ) เป็นพิเศษ ว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้รับการจัดสรรในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2568 กว่า 125,000 ล้านบาท โดยเป็นงบลงทุนไปกว่า 70% แต่เงินงบประมาณจำนวนนี้ไม่พอต่อการแก้ไขปัญหาให้ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร และจากการลงพื้นที่ ได้รับฟังว่าต้องการงบประมาณแก้ไขปัญหาในพื้นที่จำนวนมาก ซึ่งงบประมาณยังไม่สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาทั้งระบบเกษตรกร แต่กระทรวงเกษตรฯ จะทำงานให้ละเอียดขึ้น ลงพื้นที่คลุกคลีรับฟังปัญหาให้มากขึ้น  

จากนั้นตอบข้อซักถามในเรื่องพื้นที่เผาไหม้ที่มาจากการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ โดยอ้างอิงข้อมูลดาวเทียมจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ระบุว่า จุดความร้อนในปีนี้ลดลงจากปีก่อน 10% ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ มีแนวทางทำงานชัดเจนในเรื่องนี้ ประกาศไว้ใน IGNITE THAILAND ว่าเราจะใช้มาตรการ 3R คือ 

...

  • Re-Habit การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเกษตรกรให้ลดการเผา โดยเป้าหมายในอนาคตคือการไม่เผาเลย
  • Replace with high value crops สร้างรายได้จากพืชที่มีมูลค่าสูง
  • Replace with Alternate crops เปลี่ยนพืชที่ไม่เหมาะสม ไปเป็นพืชที่มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น 

นายอรรถกร กล่าวต่อไป ยืนยันว่า กระทรวงเกษตรฯ ไม่นิ่งนอนใจ และกำลังร่างมาตรฐานใหม่โดยครอบคลุมเรื่องการลดการเผา ซึ่งอยู่ในช่วงรับฟังความเห็นประชาชน จากนั้นจะเข้าสู่คณะกรรมการต่อไป ส่วนประเด็นการถ่ายโอนภารกิจให้ท้องถิ่นนั้น ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทราบปัญหา โดยเรียก 22 หน่วยงานหารือ เน้นไปที่กรมชลประทาน และกรมพัฒนาที่ดิน ที่จะทำงานร่วมท้องถิ่น 

ขณะที่ความลึกของบ่อ หรือการขุดบ่อจิ๋วนั้น ขึ้นกับพื้นที่ของพี่น้องเกษตรกร ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าถ้าบ่อไม่ใหญ่มาก มีโอกาสที่จะตื้นเขิน พร้อมรับปากว่าจะลงไปดูบ่อตื้นเขินที่ขุดมานาน และปรับปรุงให้ดีขึ้นในการกักเก็บน้ำ ขณะเดียวกัน กระทรวงเกษตรฯ และรัฐบาล เดินหน้าเยียวยาเกษตรกรด้านต่างๆ ในพื้นที่ถูกน้ำท่วมราว 30 ล้านบาท ตามมาตรการช่วยเหลือ ส่วนปัญหาหลักของทุเรียนไม่ออกดอก อยู่ที่การบริหารจัดการน้ำ กรมชลประทาน และกระทรวงเกษตรฯ ก็ให้ความสำคัญ ขณะที่สินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นหลายตัว และจะดำเนินการต่อไป

ในตอนท้าย นายอรรถกร กล่าวขอบคุณความเห็นจากเพื่อนสมาชิก พร้อมทั้งเห็นด้วยกับ นายชัยชนะ เดชเดโช สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ที่อยากให้เพิ่มงบประมาณให้กระทรวงเกษตรฯ ก่อนจบการชี้แจงในเวลา 12.47 น. 

(อ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2568 โดยสังเขป)



คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...