เพื่อไทย เผย อภิปรายหนุนงบฯ 68 "ปลดพันธนาการ 6 ด้าน" ยัน รัฐจัดงบฯ คุ้มค่า

เพื่อไทย เผย อภิปรายสนับสนุนงบฯ 68 "ปลดพันธนาการ 6 ด้าน" มุ่งตอบโจทย์ประเทศ 142 ประเด็น "ดนุพร" มั่นใจ รัฐบาลจัดงบฯ คุ้มค่า เหตุครั้งแรก รัฐบาล "เศรษฐา" ทำงบฯ 100% บริหารอย่างมืออาชีพ

วันที่ 17 มิ.ย. 67 นายดนุพร ปุณณกันต์ สส.แบบบัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีรายจ่ายงบประมาณ 2568 ในวันที่ 19-21 มิถุนายน 2567 นี้ ภายใต้แนวคิด ‘ปลดพันธการ 6 ด้าน’ ตอบสนอง 142 ประเด็นนโยบาย โดยเชื่อมั่นว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้จัดสรรงบประมาณแต่ละกระทรวงภายใต้บริบทของประเทศที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยพรรคเพื่อไทยได้เตรียมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่ออภิปรายสนับสนุน มากกว่า 22 คน เช่น

1.นายดนุพร ปุณณกันต์ สส.แบบบัญชีรายชื่อ จะอภิปรายถึงหลักการของการจัดทำงบประมาณ 2568 ที่พัฒนาประเทศ และปิดจุดอ่อนของการจัดทำงบประมาณประจำปี 2567 อย่างมีนัยสำคัญ, 2.นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จะอภิปรายสนับสนุนงบประมาณของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งเป็น 1 ในหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น

...

นางสาวขัตติยา สวัสดิผล สส.แบบบัญชีรายชื่อ และรองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่พรรคเพื่อไทยเสนอ จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร พร้อมกับอีก 3 ร่างฯ คือ ร่างฯ ของคณะรัฐมนตรี, ร่างฯ ของพรรคก้าวไกล และร่างฯ ของพรรคภูมิใจไทย รวมทั้งหมด 4 ร่างฯ โดยในส่วนของพรรคเพื่อไทย เตรียมอภิปรายสนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.ปรับการออกเสียงประชามติ ให้มาใช้ระบบเสียงข้างมากปกติ แต่ให้เกินเสียงของผู้ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิออกเสียง เพื่อความถูกต้องชอบธรรม จากเดิมที่ใช้การออกเสียงข้างมาก 2 ชั้น (Double majority) ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียง เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียง

2.การออกเสียงประชามติ สามารถทำได้วันเดียวกันกับวันเลือกตั้งทั่วไปหรือวันเลือกตั้งท้องถิ่น เพื่อประหยัดงบประมาณ

3.สนับสนุนให้สามารถออกเสียงผ่านช่องทางไปรษณีย์และระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้

“ความสำคัญของ พ.ร.บ.ประชามติ จะเป็นบันไดขั้นแรกที่นำพาคนไทยทุกคนไปสู่การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ร่างฯ ทั้ง 4 ฉบับ จากการศึกษาโดยละเอียดมีความไม่แตกต่างกันมาก โดยร่างฯ ของพรรคเพื่อไทยได้ยื่นต่อประธานสภาฯ ไปเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ที่จะบรรจุร่างเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นช่วงพอดีกับร่างฯ ของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 พอดี เชื่อว่าจุดนี้จะเป็นก้าวแรกที่จะทำให้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศ” นางสาวขัตติยา กล่าว

นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส.แบบบัญชีรายชื่อ และรองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่พรรคก้าวไกล ได้โพสต์เนื้อหาในเชิงโจมตีด้อยค่าวิสัยทัศน์ Ignite Thailand พร้อมโดยกล่าวหาว่าเป็น Ignore Thailand นั้น คงไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพราะการ Ignore Thailand น่าจะหมายถึงการไม่เร่งรีบตั้งรัฐบาลให้สำเร็จ และปล่อยให้ประเทศเกิดสุญญากาศไป 10 เดือนมากกว่า

วิสัยทัศน์ Ignite Thailand ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นการผลักดันนโยบายกระตุ้นเม็ดเงินเข้าประเทศ ผ่านการทำงานร่วมกับกระทรวงต่างๆ โดยใช้งบประมาณอย่างเหมาะสมที่สุด เช่น กระทรวงคมนาคม หากมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการขนส่งได้เต็มศักยภาพ การเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาค จะสามารถเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน ซึ่งคำว่า “เจ๊งไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้” ทั้งที่โครงการทยอยประกาศออกไป เป็นการด่วนตัดสินโดยที่ไม่มีข้อมูลรอบด้านเพียงพอ เพียงเพื่อหวังผลช่วงชิงพื้นที่ทางการเมืองเท่านั้น ไม่ได้เกิดประโยชน์ใดกับประชาชน จึงขอให้พรรคก้าวไกล รวมถึงพรรคฝ่ายค้าน ใช้ข้อมูลแล้วตั้งใจอภิปรายเสนอแนะงบประมาณ ปี 2568 จะเป็นประโยชน์กว่าการกล่าวหาลอยๆ

ส่วนงบประมาณที่ใช้ในโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็น 1 ในนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 จะทำหน้าที่เป็นตัวจุดชนวน ที่จะกระตุกเศรษฐกิจประเทศให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยการใส่เงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง และมีการแจกแจงที่มาของเงินงบประมาณที่ใช้ในโครงการอย่างชัดเจน ใน 3 ส่วน คือ

1.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2568
2.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2567
3.งบทดรองจ่ายของสถาบันการเงินของรัฐ

“การใช้งบประมาณเพื่อนำเงินถึงมือประชาชน เกิดการจับจ่าย การจ้างงาน จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว 1.2-1.6% รัฐบาลจะได้รับผลตอบแทนคืนมาในรูปแบบของภาษี นอกจากจะกระตุ้นเศรษฐกิจ ยังเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ เตรียมความพร้อมของประเทศให้เข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับประชาชนด้วย” นายชนินทร์ กล่าว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...