'ยุทธพร' เผย7ประเด็น ชงเป็นต้นร่าง ตรากม.นิรโทษกรรม

ที่รัฐสภา นายยุทธพร อิสรชัย ประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาและจำแนกการกระทำเพื่อประกอบการพิจารณาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ในกมธ.นิรโทษกรรม ให้สัมภาษณ์ถึงรายละเอียดของรายงานที่เสนอต่อกมธ. ว่า กมธ.เห็นชอบรายงาน ที่เสนอไว้  7 ประเด็น คือ

1.นิยามแรงจูงใจทางการเมือง

2. การจำแนกประเภทคดีที่มีแรงจูงใจทางการเมือง 3 ประเภท คือ ในคดีหลัก คดีรอง และการกระทำในคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง

3. ทางเลือกที่จะได้รับนิรโทษกรรม ซึ่งเสนอ 3 ทางเลือก คือ  รูปแบบคณะกรรมการกลั่นกรองคดีที่จะได้นิรโทษกรรม รูปแบบการนิรโทษกรรมโดยไม่ใช้คณะกรรมการ แต่เป็นการใช้กฎหมายที่ยกเว้นความผิด และ รูปแบบผสมผสานและระหว่างการมีกรรมการกับการใช้กฎหมาย อาจเรียกว่าคณะกรรมการกลั่นกรองและติดตามการบังคับใช้พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม

นายยุทธพร กล่าวต่อว่า 

 

4.กลไกและกระบวนการในการนิรโทษกรรม ที่เกี่ยวกับทางเลือกว่าจะเลือกรูปแบบคณะกรรมการหรือไม่ ตั้งแต่การรับเรื่อง กลั่นกรอง ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือการตัดสินและการเยียวยา

5. ข้อเสนอว่าด้วยองค์ประกอบของคณะกรรมการนิรโทษกรรม ให้ประธานสภาสภาฯ เป็นประธานคณะกรรมการ มีนายกฯ หรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่เป็นรองประธาน 

6.มาตรการเยียวยา เน้นเรื่องศิษย์เป็นหลัก คืนสิทธิ์ให้กับบุคคลที่ได้รับการนิรโทษกรรม

และ 7. มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำและการเสริมสร้างความปรองดอง โดยไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลา เพราะเมื่อผู้ที่ได้รับการนิทรรศการแล้วจะถือว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความผิด แต่จะมีคณะอนุกรรมการที่ขึ้นมาทำหน้าที่ติดตามว่ามีการกระทำความผิดซ้ำหรือไม่ โดยมีวาระเพียง 2 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่กมธ.พิจารณาศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เห็นชอบรายงานของอนุกมธ.ฯ แล้ว แหล่งข่าวจากกมธ. ระบุว่า ต่อไปจะพิจารณากำหนดประเด็นที่จะเป็นข้อสรุปของกมธ. ซึ่งเตรียมเสนอต่อสภาฯ ต่อไป โดยเฉพาะกรณีการกำหนดให้มีกรรมการกลั่นกรองคดีนิรโทษกรรม ว่าด้วยองค์ประกอบแบบใด และการกำหนดบัญชีแนบท้ายว่าควรมีหรือไม่ โดยรวมถึงข้อสรุปในกรณีการนิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 ด้วยว่าจะมีทิศทางเสนอให้สภาฯ พิจารณาอย่างไร เบื้องต้นยังมีความเห็นแย้งในกมธ. ว่าควรกำหนดให้รวมคดีความผิดมาตรา 112ด้วย แต่อีกฝั่งมองว่าควรเขียนกำหนดไว้เป็นเงื่อนไขว่า ไม่รวมความผิดมาตรา 112 ในการตราพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่สภาฯ จะดำเนินการหลังจากนี้.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...