“ศรีสุวรรณ” ค้านแนวคิดพักโทษ “ทักษิณ” ร่อนหนังสือกรมราชทัณฑ์-รมว.ยุติธรรม

“ศรีสุวรรณ” ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน ทำหนังสือด่วนถึง อธิบดีกรมราชทัณฑ์-รมว.ยุติธรรม ทบทวนแนวคิดพักโทษ “ทักษิณ ชินวัตร” มอง อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับนักโทษคนอื่นที่ป่วยอยู่ในเรือนจำ

วันที่ 5 กันยายน 2566 นายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน เปิดเผยว่า ภายหลังจากนักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับการพระราชทานอภัยลดโทษจาก 8 ปี เหลือเพียง 1 ปี ไปเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ทำให้สังคมไทยให้ความสนใจกับความเคลื่อนไหวของ นายทักษิณ หลังจากนี้ โดยเฉพาะการพูดกันอย่างหนาหูเกี่ยวกับการขอพักโทษ พร้อมมองว่าสังคมไทยจะกลายเป็น 2 มาตรฐาน

นายศรีสุวรรณ ระบุต่อไปว่า แม้ช่องทางการพักโทษจะมีอยู่ 2 ช่องทางตามขั้นตอน คือ ข้อ 1 การรับโทษแล้ว 1 ใน 3 ซึ่งก็จะเข้าเงื่อนไขการเป็นนักโทษชั้นดี สามารถปรับขึ้นได้ตามปกติ หรือขึ้นเป็นในกรณีพิเศษ ซึ่งหากทำตามนี้ก็จะไปครบในวันที่ 22 ธันวาคม 2566 ก็จะเลยวันที่ 13 ตุลาคม 2566 เลยวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ข้อ 2 การพักโทษกรณีพิเศษ เช่น สูงวัยอายุเกิน 70 ปี หรือเป็นโรคป่วยหนัก มีโรคประจำตัว ก็อาจจะใช้ช่องทางนี้ 

“แต่ถึงแม้จะใช้ช่องทางใดก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการใช้อำนาจ หรือดุลยพินิจ หรือเลือกปฏิบัติโดยใช้กฎกระทรวงที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในสมัยที่ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพราะมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ 2560”

ทั้งนี้ กฎกระทรวง กำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาด ซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจำคุก หรือการพักการลงโทษ และได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ.2562 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2564 ที่ออกตามความพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 คาดว่าน่าจะมีเจตนาที่จะออกมาเพื่อรองรับ นายทักษิณ เป็นการเฉพาะ พร้อมอ้างต่อไปว่ายังทำให้ผู้ที่ผลักดันกฎกระทรวงดังกล่าวได้รับประโยชน์ ถูกแต่งตั้งให้เป็นถึงรองนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลเศรษฐา 1 ในขณะนี้

...

“ด้วยเหตุดังกล่าว องค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน จึงได้ทำหนังสือด่วนถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และ รมว.ยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการราชทัณฑ์ ขอให้ทบทวน หรือยกเลิกกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับ รวมทั้งหลักเกณฑ์การพิจารณาพักการลงโทษ พ.ศ.2562 ซึ่งอาจมีเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์เพียงเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับนักโทษเทวดาบางคนที่ไม่ยอมเข้าคุกจริงๆ ตามคำพิพากษาของศาล ถือเป็นการออกกฎหมายที่มีลักษณะของการเลือกปฏิบัติหรือไม่ อย่างไร”

ในตอนท้าย นายศรีสุวรรณ ระบุด้วยว่า กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม จะต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.2562 ตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มีผลกระทบอื่นอันก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน ญาตินักโทษ และหรือนักโทษอีกหลายแสนคนที่อาจต้องป่วยและถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำอยู่ในขณะนี้ ซึ่ง นายทักษิณ จะต้องไม่ถูกพักโทษไม่ว่ากรณีใดๆ ไม่เช่นนั้นคงต้องพึ่งศาลปกครองต่อไป.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...