‘สหรัฐ’ เริ่มสงครามการค้าครั้งใหม่ ขึ้นภาษีสินค้า ’จีน’ มีผล 1 ส.ค.67

จากกรณีการประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีนหลายรายการของสหรัฐเมื่อวันที่ 14 พ.ค.2567 คิดเป็นมูลค่าถึง 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์ (6.6 แสนล้านบาท) ในสินค้าหลายกลุ่มอุตสาหกรรม 

ล่าสุด วารสารรัฐบาลกลางสหรัฐ (Federal Register ) ได้ประกาศวันบังคับใช้มาตรการภาษีใหม่ของสหรัฐเพื่อป้องกันสินค้าราคาถูกจากจีน โดยมีรายละเอียดว่า ภาษีใหม่ส่วนใหญ่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 และอัตราภาษีบางส่วนจะเริ่มต้นบังคับใช้อีกครั้งในวันที่ 1 มกราคม 2568 หรือ 2569 

สำหรับสินค้าจีนที่ถูกขึ้นภาษีในครั้งนี้ ส่วนใหญ่มีผลเริ่มใช้ วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ซึ่งเป็นสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สหรัฐเคยแสดงความกังวล อาทิ

  • รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) - ขึ้นภาษีจากเดิม 27.5% เป็น 102.5% ในปี 2567
  • แผงโซลาร์ - ขึ้นภาษีจากเดิม 25% เป็น 50% ในปี 2567
  • เครนยกสินค้าจากเรือขึ้นฝั่ง - ขึ้นภาษีจากเดิม 0%  เป็น 25%  ในปี 2567
  • แร่ธาตุสำคัญอื่นๆ - ขึ้นภาษีจากเดิม 0%  เป็น 25% ในปี 2567
  • แกรไฟต์ธรรมชาติ และแม่เหล็กถาวร - ขึ้นภาษีจากเดิม 0%  เป็น 25% ในปี 2569
  • เหล็ก และอะลูมิเนียม (บางประเภท) - ขึ้นภาษีจากเดิม  7.5%  เป็น 25% ในปี 2567
  • ชิ้นส่วนแบตเตอรี่ - ขึ้นภาษีจากเดิม 7.5% เป็น 25% ในปี 2567
  • แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (EV) - ขึ้นภาษีจากเดิม 7.5% เป็น 25% ในปี 2567
  • แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (non-EV) - ขึ้นภาษีจากเดิม 7.5% เป็น 25% ในปี 2569
  • เซมิคอนดักเตอร์ - ขึ้นภาษีจากเดิม 25% เป็น 50% ในปี 2568
  • กระบอกฉีดยา และเข็มฉีดยา - ขึ้นภาษีเป็น 50%  ในปี 2567
  • อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) - ขึ้นภาษีจากเดิม 7.5% เป็น 25%  ในปี 2567
  • ถุงมือยาง - ขึ้นภาษีจากเดิม 7.5% เป็น 25% ในปี 2569

ดันธุรกิจกักตุนสินค้าก่อนการบังคับใช้ 

อย่างไรก็ตาม การที่มาตรการทางภาษีไม่ได้ถูกบังคับใช้ในตอนนี้ ทำให้ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงตลอดหนึ่ง และสองปีต่อจากนี้ จะทำให้มีผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง และในทันทีของการขึ้นภาษีนำเข้าค่อนข้างน้อย

รวมทั้ง สถานการณ์นี้อาจนำไปสู่การกระตุ้นให้มีการ “กักตุน” สินค้า ประเภท โลหะ ยานยนต์ไฟฟ้า และแผงโซลาร์เซลล์จากจีนอยู่ภายใต้ภาษี และข้อจำกัดทางการค้าอื่นๆ ที่ส่งผลให้สินค้าเหล่านี้เข้าสู่สหรัฐได้ยากขึ้น สำหรับสินค้าทางการแพทย์ สหรัฐมีสินค้าคงคลังมากเกินพอหลังจากการผลิต และกักตุนสินค้ามานานหลายปีอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาด 

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...