‘ศรีตรัง-ท็อป โกลฟ’ ยักษ์ผู้ผลิตถุงมือยาง รับอานิสงส์สหรัฐขึ้นภาษีสินค้าจีน

สำนักข่าวนิกเกอิเอเชียรายงานว่า จากกรณี “สหรัฐ”ประกาศ “ขึ้นภาษี” นำเข้าสินค้าจากจีนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  ทำให้ “ผู้ผลิตถุงมือยาง” ของมาเลเซียและไทยได้รับอานิสงส์อย่างมาก ราคาหุ้นของ “ท็อป โกลฟ” (Top Glove) ซึ่งเป็นผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ของมาเลเซีย พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเพิ่มขึ้นถึง 30% ในวันเดียว รวมถึงบริษัทอื่นๆ ในมาเลเซียอย่าง Hartalega Holdings และ Kossan Rubber Industries ก็พุ่งสูงขึ้นเช่นเดียวกัน 

ขณะที่บริษัท “ศรีตรัง โกลฟส์” (Sri Trang Gloves) ผู้ผลิตถุงมือยางจากไทย ซึ่งเป็นคู่แข่งของท็อป โกลฟ ก็ได้รับอานิสงส์ในครั้งนี้ไปด้วย โดยราคาหุ้น STA ของบริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หลังรับรู้ข่าวกำแพงภาษีของสหรัฐในวันที่ 14 พ.ค. ทำให้ราคาปิดตลาดในวันที่ 15 พ.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.6% เคลื่อนไหวที่ 18.20 บาท 

 

การขึ้นภาษีสินค้าจีนได้รับความสนใจในประเด็นที่ว่า “สหรัฐ”กำลังดำเนินนโยบายแข็งกร้าวต่อ“จีน” โดยเฉพาะภาษีรถยนต์ไฟฟ้าของจีน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 25% เป็น 100% แต่สำหรับนักลงทุนในตลาดหุ้นมาเลเซีย จุดสนใจอยู่ที่“ภาษีถุงมือยาง”สำหรับใช้ทางการแพทย์และการผ่าตัด ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจาก 7.5% เป็น 25% แม้ว่าภาษีนี้ยังไม่เริ่มมีผลบังคับใช้ในทันที ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2569

แจ็ค โก๊ะ นักวิเคราะห์ของ ยูโอบี เคย์เฮียนกล่าวในรายงานว่า การขึ้นภาษีนำเข้าเป็น 25% สำหรับถุงมือยางจากจีนในครั้งนี้  "มีแนวโน้มที่จะทำให้มาเลเซียแข็งแกร่งในฐานะผู้นำตลาดถุงมือยาง และฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหลังการสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับผู้ผลิตในจีนอันเนื่องมาจากการแข่งขันที่รุนแรง"

มาเลเซียเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ เนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่มีค่าแรงค่อนข้างต่ำจำนวนมาก ทำให้กลายเป็นประเทศที่ตั้งของผู้ผลิตถุงมือทางการแพทย์รายใหญ่ที่สุดในโลกหลายราย 

ที่ผ่านมาผู้ผลิตถุงมือยางของมาเลเซียเฟื่องฟูอย่างมากในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากความต้องการสินค้าประเภทนี้เพิ่มขึ้นทั่วโลก แต่เมื่อสถานการณ์โรคคลี่คลายลง ความต้องการก็ลดลงตามไปด้วย

รวมทั้งการที่ผู้ผลิตถุงมือยางของมาเลเซียต้องเผชิญกับการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงจากคู่แข่งชาวจีนที่เข้ามาตีตลาด จนจีนสามารถคว้าส่วนแบ่งตลาดถุงมือยางทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากประมาณ 7% ในปี 2561 เป็น 32% ในปี 2565

นักวิเคราะห์จาก UOB Kay Hian มองว่า สภาพการแข่งขันที่ปรับตัวดีขึ้นจะช่วยให้ผลกำไรและอัตรากำไรของผู้ผลิตถุงมือยางของมาเลเซียกลับมาเกินระดับก่อนเกิดโรคระบาดในปี 2569

หลังจากการประกาศมาตรการของสหรัฐทำให้ธนาคารเมย์แบงก์ในมาเลเซีย ปรับเพิ่มอันดับหุ้น Top Glove จาก "ขาย" เป็น "ซื้อ" และ ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายเป็น 1.21 ริงกิตต่อหุ้น จากเดิม 0.80 ริงกิต 

"เราคาดการณ์ว่า การเปลี่ยนแปลงล่าสุดนี้จะช่วยลดช่องว่างด้านราคา ระหว่างถุงมือที่ผลิตในจีนและมาเลเซีย ทำให้ถุงมือของมาเลเซีย น่าดึงดูดมากขึ้นในตลาดสหรัฐ" เมย์แบงก์กล่าวในรายงานล่าสุด

อ้างอิง nikkei

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...