ทฤษฎีแรงเหวี่ยงของลูกตุ้มระหว่างธุรกิจกับสิ่งแวดล้อม

ต่อมาในช่วงของการเปลี่ยนศตวรรษปี 2000 ผลกระทบของสภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปกคลุมบรรยากาศของโลกที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม การแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากรโลก ส่งผลกระทบให้เห็นได้ชัดเจนและมีความรุนแรงมากขึ้นมาเป็นลำดับ

รองประธานาธิบดีของสหรัฐ อัล กอร์ (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 1993 - 2001) เป็นผู้ที่กระตุ้นความสนใจของมนุษย์โลกให้มองเห็นถึงผลกระทบของการพัฒนาเศรษฐกิจที่นำไปสู่การทำลายสมดุลธรรมชาติของโลก ด้วยภาพยนตร์สั้นที่ชื่อ “The Inconvenience Truth” ที่อธิบายถึงความจริงที่น่ากระอักกระอ่วนใจของการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมที่เป็นสาเหตุนำมาสู่การเสียสมดุลธรรมชาติของโลก ซึ่งนำไปสู่การมอบรางวัลโนเบลด้านสันติภาพให้กับ อดีตรองประธานาธิบดีท่านนี้ในปี 2007

ความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ระหว่างแนวคิดการแสวงหากำไรสูงสุดของธุรกิจกับการแบ่งปันกำไรจากการประกอบธุรกิจมาช่วยอนุรักษ์สมดุลธรรมชาติของโลกจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้บริหารสูงสุดหรือเจ้าของธุรกิจจะต้องตัดสินใจในการกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการดำเนินธุรกิจสู่การเติบโตที่แข็งแกร่งและมั่นคง

มีนักวิชาการเกี่ยวกับการบริหารจัดการการพัฒนาความยั่งยืน (Sustainability Development - SD) กลุ่มหนี่งได้เสนอแนวคิด ทฤษฎีการแกว่งของลูกตุ้มสู่ความยั่งยืน (Sustainability Pendulum) เพื่ออธิบายพฤติกรรมของผู้บริหารธุรกิจในการตัดสินใจถ่วงความสมดุลระหว่างการตัดสินใจเพื่อแสวงหาผลกำไรสูงสุดให้กับธุรกิจกับการแบ่งปันกำไรของธุรกิจเพื่อช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติของโลก

การให้ความสำคัญระหว่างผลตอบแทนทางธุรกิจและการให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสังคมโดยรวมของธุรกิจ จะเกิดเป็นพลวัตรที่เปลี่ยนแปลงคล้ายกับการแก่วงของลูกตุ้ม

โดยปลายหนึ่งของลูกตุ้มคือการที่ธุรกิจหันมาให้ความสนใจกับประเด็นปัญหาในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ส่วนอีกปลายหนึ่งคือสภาวะที่ธุรกิจมุ่งไปที่การทำธุรกิจให้เติบโตด้วยแนวปฏิบัติเดิมที่ธุรกิจมีความเชี่ยวชาญอยู่

และความสนใจของเป้าหมายธุรกิจจะปรับตัวไปมาระหว่าง 2 ปลายของวงแกว่งลูกตุ้ม ตามอิทธิพลของกระแสสังคมในช่วงนั้นๆ

ตัวอย่างที่เห็นได้จากทฤษฎีการแกว่งของลูกตุ้มในบริบทของการตลาด จะเห็นได้พฤติกรรมที่บริษัทต่างๆ ต่างปรับตัวให้ตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าที่พยายามเลือกใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เชื่อว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็จะเกิดสินค้าและบริการใหม่ๆ มากมายที่จะตอบสนองความต้องการนี้

ในบริบทของการผลิต การตื่นตัวเรื่องสภาวะโลกร้อน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทำให้ลูกตุ้มของธุรกิจภาคการผลิตแกว่งจากจุดของแนวปฏิบัติเดิม หันมาสู่การผลิตที่ลดของเสีย การนำวัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ตลอดจนการลดการใช้พลังงาน หรือการหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน

ในบริบทของสภาวะเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจอยู่ในวงจรขาขึ้น จะมีแรงกระตุ้นให้ธุรกิจหันมาให้ความสนใจกับการทำธุรกิจที่ให้ความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในทางกลับกัน หากเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในช่วงขาลง ลูกตุ้มก็จะแกว่งให้ธุรกิจกลับไปให้ความสนใจกับกระบวนการทางธุรกิจของตนอย่างเดียว

การตัดสินใจกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ธุรกิจในยุคที่สภาวะแวดล้อมด้านเทคโนโลยีและสังคมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากผู้บริหารหรือเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอี มีความเข้าใจกับบริบทของการเปลี่ยนแปลง

โดยเฉพาะที่เป็นผลจากงานวิจัยของนักวิชาการซึ่งอาจเลือกนำมาใช้กับการประกอบการธุรกิจของเราได้อย่างเหมาะสมเข้ากันได้

ไม่ใช้ความคิดหรือความรู้สึกของตนเองแต่เพียงอย่างเดียว!!??!!

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ลมพายุใหญ่ทำให้หลายอย่างในสหรัฐชัดขึ้น

นอกจากจะทำความเสียหายร้ายแรงในรัฐฟลอริดาแล้ว พายุเฮลีนยังพัดต่อไปทำความเสียหายร้ายแรงในรัฐอื่นอีกด้ว...

นายกฯ อิสราเอลชี้ สังหารผู้นำฮามาส ‘จุดเริ่มต้นยุติสงครามกาซา’

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน ตามที่กองทัพอิสราเอลแถลงว่า หลังจากไล่ล่ามาอย่างยาวนาน กองทัพก็ “ขจัด นายยาห์...

ทุกคะแนนมีค่า ‘แฮร์ริส-ทรัมป์’ เดินสายให้สัมภาษณ์ขยายฐานเสียง

สำนักข่าวเอพีรายงาน เมื่อไม่กี่วันก่อน คามาลา แฮร์ริส ให้สัมภาษณ์ชาร์ลามาญ (Charlamagne tha God) เจ้...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า (3) | World Wide View

เสียมราฐ เป็นจังหวัดสำคัญทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา หลาย ๆ คนรู้จักในฐานะที่ตั้งของนครวัดและโ...