เปิดประวัติ “อิบรอฮีม เราะอีซี” ผู้คร่ำหวอดวงการกฎหมาย สู่ปธน.อิหร่านสายแข็ง

เปิด ประวัติ อิบรอฮีม เราะอีซี ประธานาธิบดีอิหร่านสายเหยี่ยว วัย 63 ปี ผู้ที่ได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนานว่า สามารถสืบทอดตำแหน่งต่อจาก “อายะตุลลอฮ์ อะลี คาเมเนอี” ผู้นำสูงสุดของอิหร่านได้

จากรายงานของสื่อทางการอิหร่านล่าสุด ระบุ เราะอีซีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกระหว่างเดินทางไปยังภูมิภาคจอลฟา จ.อาเซอร์ไบจานตะวันออก

เส้นทางการเรียน-การงาน อิบรอฮีม เราะอีซี

เราะอีซีเริ่มศึกษาที่วิทยาลัยศาสนากอม (Qom religious seminary) ในวัย 15 ปี และได้เรียนรู้วิชาต่าง ๆ จากนักวิชาการมุสลิมหลายท่านในสมัยนั้น 

ในช่วงอายุ 20 ต้น ๆ เราะอีซีได้ดำรงตำแหน่งอัยการตามเมืองต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งได้รับตำแหน่งรองอัยการในเตหะรานในเวลาต่อมา

ในปี 2526 เราะอีซีได้สมรสกับ “จามิเลห์ อลาโมโลดา“ ลูกสาวของ ”อาหมัด อะลาโมโลดา” นักวิชาการมุสลิมสายแข็งที่ทำหน้าที่เป็น “อิหม่าม” นำละหมาดทุกวันศุกร์ในเมืองมัชฮัด (Mashhad) และทั้งคู่มีลูกสาวด้วยกัน 2 คน

เราะอีซีเคยมีส่วนร่วมในคณะกรรมการที่กำกับดูแลเกี่ยวกับการประหารชีวิตนักโทษทางการเมืองหลายคดี ซึ่งการดำรงตำแหน่งในด้านนี้ทำให้เขาไม่เป็นที่พอใจต่อฝ่ายค้านอิหร่านเป็นอย่างมาก เพราะคณะกรรมการดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปและการประหารนักโทษทางการเมืองหลายพันคนอย่างลับ ๆ และสหรัฐได้ออกมาตรการคว่ำบาตรเราะอีซีอีกด้วย

ต่อมาในปี 2532 เขาก็ได้ดำรงตำแหน่งอัยการในเตหะราน หลังจาก “อยาตอลเลาะห์ รูฮอลเลาะห์ โคไมนี” ผู้นำสูงสุดคนแรกของอิหร่านเสียชีวิต จากนั้นหน้าที่การงานของเราะอีซีก็ไต่อันดับก้าวหน้าไปด้วยดี ภายใต้การปกครองของคาเมเนอี ผู้นำอิหร่านถัดจากโคไมนี และเป็นผู้นำสูงสุดคนปัจจุบัน 

เขายังได้ดำรงตำแหน่งประธาน Astan Quds Razavi ซึ่งเป็นองค์กรทางศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในมัชฮัด เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2559 อีกด้วย

สู่ตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่าน

เราะอีซีลงสมัครชิงประธานาธิบดีครั้งแรกในปี 2560 แข่งกับ “ฮัสซัน รูฮานี” (Hassan Rouhani) ที่กลับมาลงสมัครสมัยที่ 2 ซึ่งอดีตปธน.คนนี้ เคยดูแลเกี่ยวกับการเจรจา “ข้อตกลงนิวเคลียร์” ของอิหร่านกับประเทศมหาอำนาจ ในปี 2558 หรือเรียกว่า “Joint Comprehensive Plan of Action (JCPOA)” และได้จำกัดการดำเนินโครงการนิวเคลียร์ เพื่อแลกกับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตร

หลังเราะอีซีแพ้การเลือกตั้งให้กับรูฮานี เขาก็เริ่มวางแผนหาเสียงเลือกตั้งชิงประธานาธิบดีสมัยต่อไป และในเดือน มิ.ย. 2564 รออีซีก็ชนะเลือกตั้งด้วยสัดส่วนคะแนน 62% แต่การเลือกตั้งมีผู้ออกมาใช้สิทธิเพียง 48.8% ของประชากรทั้งหมด หลังจากนักปฏิรูป และนักการเมืองสายกลางหลายคน ถูกขัดขวางไม่ให้ลงสมัครเลือกตั้ง

นับแต่นั้นมา ข้อตกลง JCPOA ก็ตกอยู่ในความโกลาหล หลัง “โดนัลด์ ทรัมป์” อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ถอนสหรัฐออกจากข้อตกลงดังกล่าว และบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านอีกครั้ง ทำให้เศรษฐกิจอิหร่านได้รับผลกระทบหลายด้าน

คอนเนกชั่นเราะอีซี

เราะอีซีถือเป็นบุคคลที่เป็นที่นับถือมากในวงการทางศาสนา และเขาก็มีความสัมพันธ์อันดีต่อโคไมนี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านคนก่อน รวมถึงคาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านคนปัจจุบัน ที่แต่งตั้งเขาให้ได้รับตำแหน่งอาวุโสหลายตำแหน่งในการเมือง

นอกจากนี้ เราะอีซียังเป็นผู้ที่สามารถรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อรัฐบาล กองทัพ และฝ่ายนิติบัญติในทุก ๆ ฝ่าย รวมถึงชนชั้นการปกครองต่าง ๆ ตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ทรงอำนาจของอิหร่าน

อย่างไรก็ตาม เขายังคงเป็นผู้นำที่ประชาชนไม่พอใจนัก เนื่องจากปัญหามาตรฐานค่าครองชีพที่ตกต่ำลง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการคว่ำบาตร และการให้ความสำคัญกับการป้องกันประเทศมากกว่าปัญหาในประเทศ

ปลายปี 2565 ความโกรธของประชาชนปะทุรุนแรงขึ้น หลัง “มาห์ซา อามินี” หญิงชาวอิหร่านวัย 22 ปี ที่ต่อต้านการสวมฮิญาบ เสียชีวิตหลังจากถูกตำรวจศีลธรรมควบคุมตัวข้อหาสวมฮิญาบไม่ถูกต้อง

ประชาชนออกมาประท้วงในอิหร่านเป็นเวลาหลายเดือน โดยมีกลุ่มผู้หญิงจำนวนมากออกมาถอดฮิญาบ เผาฮิญาบ และตัดผมเพื่อประท้วงความไม่เป็นธรรม

ตามข้อมูลขององค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า การชุมนุมดังกล่าวสิ้นสุดในช่วงกลางปี 2566 หลัง มีประชากรราว 500 ถูกสังหารเมื่อกองกำลังรักษาความปลอดภัยเข้าปราบปรามการชุมนุม และมีคนถูกประหาร 7 ราย จากข้อหาก่อความไม่สงบ

ด้านสหประชาชาติ (ยูเอ็น) สรุปไว้ในเดือน มี.ค. ปีนี้ว่า อิหร่านก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติจากการปราบปราม รวมถึงการสังหาร การทรมาน และการข่มขืน

ผู้นำที่พร้อมปะทะ

เราะอีซี เป็นผู้นำที่ไม่เคยหลบเลี่ยงการเผชิญหน้ากับนานาชาติ

ด้วยความไม่พอใจต่อที่สหรัฐถอนตัวออกจากข้อตกลง JCPOA และผู้ลงนามรายอื่นก็ไม่สามารถรักษาสัญญาในข้อตกลงดังกล่าวได้ ผู้นำสายแข็งคนนี้ จึงประกาศเดินหน้าโครงการนิวเคลียร์ต่อไป แต่ไม่ได้สนใจเกี่ยวกับการทำระเบิด 

เมื่อไม่นานมานี้ เราะอีซีได้พาอิหร่านเข้าสู่ความขัดแย้งกับอิสราเอล และเกิดการปะทะระหว่างสองประเทศ เนื่องจากความไม่พอใจต่อการบุกกาซาอย่างไม่หยุดยั้งของอิสราเอล ซึ่งตอนนี้สงครามดังกล่าวดำเนินมานาน 8 เดือนแล้ว

โดยอิหร่านออกมาประณามการโจมตีประชาชนชาวปาเลสไตน์อย่างโหดร้ายของอิสราเอล เช่นเดียวกับพันธมิตรในภูมิภาค หรือที่เรียกว่า “แก่นแห่งความขัดขืน” (axis of resistance) ที่ออกมาประณามอิสราเอลและพันธมิตรชาติตะวันตก

นอกจากนี้ ยังเกิดเหตุโจมตีสถานกงสุลอิหร่านในกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย ช่วงต้นเดือน เม.ย. ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย รวมถึงผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคุดส์ และรองผู้บัญชาการหน่วยรบเดียวกัน ซึ่งอิหร่านโทษว่าเป็นฝีมือของอิสราเอล

จากนั้นในวันที่ 15 เม.ย. อิหร่านโต้กลับอิสราเอลด้วยการยิงขีปนาวุธ โดย “แดเนียล ฮาการี” โฆษกกองทัพอิสราเอล เผยว่า อิสราเอลได้สกัดกั้นขีปนาวุธนอกชายแดนมากกว่า 120 ลูก รวมถึงโดรน 170 ลำ และขีปนาวุธร่อนมากกว่า 30 ลูก และเกิดความเสียหายในบางพื้นที่ของอิสราเอล

ทั้งนี้ จากการออกนโยบายต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และการต้องเผชิญหน้าความขัดแย้งทั้งในและต่างประเทศ เราะอีซีได้พิสูจน์แล้วว่าเขาเป็น “ประธานาธิบดีแห่งความขัดแย้ง”

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์อันแข็งกร้าวต่อสถาบันอิสราเอลในทุกระดับนั้น ทำให้เราะอีซียังคงเป็นคู่แข่งศึกชิงประธานาธิบดีสมัยที่สองที่แข็งแกร่ง และมีความเป็นไปได้ว่า อาจได้ครองตำแหน่งสูงสุดของแผ่นดิน หรือเป็น “ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน

 

 

 

อ้างอิง: Al Jazeera

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...