สถานทูตอิสราเอลจัดรำลึกทหาร-เหยื่อก่อการร้าย ภรรยาแรงงานไทยเล่าความสูญเสีย

เมื่อวันที่ 12 พ.ค. นางออร์นา ซากิฟ เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย  พร้อมด้วยผู้นำทางศาสนา และตัวแทนจากชุมชนชาวอิสราเอลในประเทศไทย ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในพิธีวันยม ฮาซิคารอน

 ”ปีนี้เป็นปีที่ยากลำบากอย่างยิ่งสำหรับอิสราเอล เช่นเดียวกับชาวไทยทั้ง 39 ครอบครัวที่สูญเสียผู้เป็นที่รักไปเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 และได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวชาวอิสราเอลที่เศร้าโศกจากการสูญเสียผู้เป็นที่รักไปเช่นกัน”

งานวัน ยม ฮาซิคารอน ปีนี้แตกต่างไปจากทุกปี กล่าวคือ สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลได้เชิญนางนริสรา มาลี ภรรยาม่ายของนายเทียนชัย ยอดทองดี แรงงานคนไทยภาคการเกษตร ผู้ถูกสังหารในการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายฮามาส ที่คิบบุตซ์อลูมิม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 มาร่วมงานพร้อมด้วยบุตรทั้งสองอายุ 12 และ 8 ขวบ 

ในโอกาสนี้เธอในฐานะตัวแทนผู้สูญเสียได้แบ่งปันเรื่องราวที่ครอบครัวประสบให้บรรดาผู้มาร่วมงานได้รับทราบ เริ่มตั้งแต่เธอและสามีเริ่มรู้จักกัน  ทำงานอยู่ด้วยกันในสาธารณรัฐเกาหลี การกลับมายังประเทศไทย และการเดินทางอีกครั้งของนายเทียนชัยเพื่อไปทำงานในอิสราเอล ทั้งนี้ มีชาวอิสราเอลเป็นผู้แปลคำพูดของนางนริสราเป็นภาษาฮีบรู และแปลรายละเอียดของพิธีการเป็นภาษาไทยให้นางนริสราได้รับทราบด้วย

เรื่องราวของครอบครัวสรุปได้ว่า ทั้งนางนริสราและนายเทียนชัยต่างสมัครไปทำงานที่อิสราเอลด้วยกันทั้งคู่ ตัวเธอได้รับเรียกก่อนแต่สามีต้องการไปดูลู่ทางว่าการทำงานที่นั่นเป็นอย่างไร เนื่องจากเป็นงานเกษตรที่มีแต่ผู้ชาย 

นายเทียนชัยไปทำงานที่อิสราเอลได้เงินเดือนดี ภรรยาจึงสามารถเป็นแม่บ้านดูแลลูกได้เต็มที่ จนกระทั่งวันเกิดเหตุ 7 ต.ค. นางนริสราเล่าว่า วันนั้นสามีโทรมาตั้งแต่เช้าซึ่งปกติเขาจะไม่โทรมาเช้าขนาดนี้ เธอเอะใจว่าน่าจะมีอะไรผิดปกติ เมื่อรับสายก็ทราบว่า มีผู้ก่อการร้ายขี่มอเตอร์ไซค์เข้ามากราดยิงในแคมป์คนงานเนปาลก่อนมาถึงแคมป์คนงานไทย 

“ทหารอิสราเอลเข้ามาไล่ผู้ก่อการร้ายไปได้แล้วในรอบแรกก็เข้ามาอีกรอบสอง พ่อของเด็ก (นายเทียนชัย) ก็โทรมาเล่าให้ฟัง ตอนนั้นเขากำลังหลบอยู่ในห้อง” 

ได้ยินเช่นนั้นนางนริสราก็บอกสามีให้หลบอยู่อย่างนั้นจนกว่าทหารอิสราเอลจะออกมารับ 

“ตั้งแต่ตอนเช้าพ่อก็ถ่ายคลิปวีดิโอที่เขายิงกันมาให้ดู ก็ไม่คิดว่าจะร้ายแรงขนาดนี้” นางนริสรากล่าวพร้อมย้ำว่า  หลังจากกราดยิงในแคมป์คนงานชาวเนปาลในรอบแรกไปแล้ว ถ้าผู้ก่อการร้ายไม่เข้ามาในรอบที่ 2 แรงงานไทยจะไม่เสียชีวิต 

“พอเข้ามาก็อย่างที่ทราบ เสียชีวิตกันหลายคน” นางนริสราพูดเสียงเครือ เหตุการณ์นี้ทำให้เธอสูญเสียเสาหลักของครอบครัว 

นางนริสราขอบคุณรัฐบาลไทยและรัฐบาลอิสราเอลที่ให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวผู้สูญเสีย โดยเฉพาะรัฐบาลอิสราเอลที่ให้เงินช่วยเหลือบุตร เดือนละ 20,000 บาท จนอายุครบ 21 ปี

ด้านเอกอัครราชทูตซากิฟกล่าวเสริมว่า รัฐบาลอิสราเอลให้เงินช่วยเหลือค่าทำศพ เงินพิเศษประจำปีเพื่อทำบุญครบรอบวันเสียชีวิต และทุกเดือนรัฐบาลอิสราเอลมอบเงินให้กับนางนริสรา และพ่อแม่นายเทียนชัยตลอดชีวิต ส่วนหนึ่งของมาตรการดูแลแรงงานไทยจากรัฐบาลอิสราเอล

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...