ผู้เชี่ยวชาญชี้ 'ทักษิณ' เจรจาฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเมียนมา เกี่ยวข้อง 'รัฐบาลไทย'

แหล่งข่าวไม่ประสงค์ออกนาม เผยกับสำนักข่าววอยซ์ ออฟ อเมริกา (VOA) วานนี้ (7 พ.ค.) ว่า “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรีไทย พบปะกับผู้แทนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาหลายกลุ่ม รวมทั้งกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู), พรรคก้าวหน้าแห่งชาติกะเหรี่ยงแดง (KNPP) และองค์กรแห่งชาติคะฉิ่น (เคเอ็นโอ) และยังได้พบกับพลเอกเจ้ายอดศึก ประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน

แหล่งข่าวเผยว่า ทักษิณมีความปราถนาที่จะเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยระหว่างกองทัพเมียนมา และองค์การต่อต้านรัฐบาลทหารของกลุ่มชาติพันธุ์ (ERO)

ด้าน "นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน" ไม่ทราบว่าทักษิณเข้าไปช่วยเจรจาหรือไม่ แต่ยืนยันไทยต้องการให้เกิดความสงบสุข และสันติภาพในเมียนมา ขณะที่ “มาริษ เสงี่ยมพงษ์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เผย เป็นการพูดคุยส่วนตัวไม่เกี่ยวกับรัฐบาล และทักษิณมีสิทธิทำได้

นอกจากนี้ มีรายงานว่าทักษิณขออนุญาตเดินทางเยือนเมียนมา แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการตอบกลับอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลทหาร และ VOA ยังไม่สามารถติดต่อรัฐบาลทหารเมียนมา และทักษิณ เพื่อขอความเห็นได้ในขณะที่รายงานข่าวนี้

จากรายงานของ VOA ระบุว่า “ไซ ตุน อ่อง ลวิน” (Sai Htun Aung Lwin) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกิจการกลุ่มชาติพันธุ์รัฐฉานและเมียนมา บอกว่า การเยือนเมียนมาของทักษิณ มีจุดประสงค์เพื่อหารือสถานการณ์ในเมียนมา และเป็นตัวกลางในการหาทางแก้ไขปัญหา และย้ำว่า การที่ทักษิณเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในปัญหาเมียนมา จะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประเทศเพื่อนบ้านเมียนมา ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผลลัพธ์ของความขัดแย้ง

 

ลวินบอกด้วยว่า เป็นที่ทราบกันดีในวงกว้างว่า ทักษิณมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ของไทย จึงบ่งชี้ว่า การเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งเมียนมานี้ อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลไทยอย่างใกล้ชิด

“อดีตนายกฯมีความสัมพันธ์อันดีกับบรรดาอดีตนายพลเมียนมา และบุคคลสำคัญทางการเมืองหลายคนที่มีความใกล้ชิดกับกองทัพมาอย่างยาวนาน และยังมีความสัมพันธ์อันดีต่อกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม RCSS และ KNU” ลวิน กล่าว

ขณะที่ "จอ ซอ ไว" (Kyaw Zaw Wai) โฆษกของรัฐบาลเงาเมียนมา หรือ รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ได้ขอบคุณต่อไทย และสมาชิกอาเซียน ที่พยายามหาแนวทางแก้ไขที่สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของชาวเมียนมา

จอ ซอ ไว ยังได้ทราบถึงความพยายามทางมนุษยธรรมของไทย ทั้งการจัดหาอาหารและให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยหลายพันคนในระหว่างที่เกิดการสู้รบในเมียวดี และได้แสดงความยินดีที่กลุ่มของตนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย และทราบถึงความท้าทายที่เมียนมาเผชิญ

“เราให้ความสำคัญกับการสนับสนุนนี้อย่างสูง และเห็นว่าการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของรัฐบาลไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการพัฒนาในเชิงบวก ... เมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่เข้ารับตำแหน่ง เราเชื่อมั่นและหวังว่า ไทยจะให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเมียนเป็นอันดับต้น ๆ”

อ้างอิง: VOA

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...