“แบคทีเรียกินเนื้อ” ระบาดหนักญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญคาดเกี่ยวข้องโควิด19

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ถึงการแพร่ระบาดของแบคทีเรียกินเนื้อ (สเตร็ปโตคอคคัส กรุ๊ป เอ) พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จากข้อมูลพบแล้ว 517 ราย ซึ่งสูงกว่า 5 ปีก่อน ถึง 4 เท่า โดยในกรุงโตเกียวพบคนติดเชื้อแล้ว 88 ราย สูงกว่าปีที่ผ่านมาถึงประมาณ 3 เท่า ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 30%

Center for Medical Genomics
แบคทีเรียกินเนื้อ

เป็นเรื่องที่น่าจับตาเพราะ แบคทีเรียกินเนื้อ นับว่าเป็นโรคที่พบได้ยาก แต่กลับระบาดรุนแรงในอัตราที่สูงมาก ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาจมีความเชื่อมโยงกับการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ของรัฐบาล รวมถึงสถานะภูมิคุ้มกันของผู้เคยติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจมีผลต่อความไวในการรับเชื้อบางชนิด 

ความเชื่อมโยงระหว่างโรคโควิด-19 และการระบาดของโรคทางเดินหายใจอื่นๆ สามารถอธิบายได้ผ่านแนวคิดใหม่ๆ อย่างเช่น "หนี้ภูมิคุ้มกัน" (immunity debt) และ "การขโมยภูมิคุ้มกัน" (immunity theft)

การศึกษาผลกระทบระยะยาวของโควิด-19 จะทำให้เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างไวรัส ภูมิคุ้มกัน และเชื้อโรคอื่นๆ ซึ่งจะกำหนดทิศทางระบาดวิทยาโรคติดเชื้อในอนาคต

ภาระหนี้ภูมิคุ้มกันหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาในระดับประชากรเนื่องจากมาตรการควบคุมการระบาดเป็นเวลานานทำให้ประชาชนไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือติดเชื้อตามธรรมชาติ ขณะที่การขโมยภูมิคุ้มกันเป็นทฤษฎีที่มีข้อสงสัยมากกว่าเกี่ยวกับผลกระทบโดยตรงของ COVID-19 ต่อภูมิคุ้มกันส่วนบุคคล แนวคิดแรกมีหลักฐานสนับสนุนที่แข็งแกร่งกว่า ในขณะที่แนวคิดหลังยังคงมีข้อถกเถียงและขาดข้อมูลที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม สองแนวคิดนี้ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งกัน และทั้งสองอาจมีอิทธิพลต่อแนวโน้มของโรคติดเชื้อในระยะหลังได้ในระดับหนึ่ง

การระบาดของโรคติดเชื้อในปอดในเด็กทั่วโลกช่วงปลายปี 2566 หลังยกเลิกมาตรการควบคุมโควิด-19 อาจเกี่ยวข้องกับ "หนี้ภูมิคุ้มกัน" แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เช่นการระบาดของเชื้อไวรัส RSV ในสหรัฐฯและออสเตรเลีย และ เชื้อ mycoplasma pneumoniae ในจีน หลายฝ่ายเชื่อว่ามาตรการล็อกดาวน์ที่ยาวนานกว่า 2 ปี ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันในเด็กอ่อนแอลง จึงนำไปสู่การระบาดรุนแรงหลังการเปิดเมือง และล่าสุดคือการระบาดของ

โรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส กรุ๊ป เอ

โรคติดเชื้อแบคทีเรีย "สเตร็ปโตคอคคัส กรุ๊ป เอ" ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์สเตร็ปโตคอคคัส ไพโอจีเนส (Streptococcus pyogenes) พบได้บ่อยในเด็กเรียกว่าโรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever  ทำให้มีผื่นแดง  ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี ปัจจุบันพบโรคนี้ได้น้อยลงมากเนื่องจากผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม โรคอีดำอีแดง และโรคอีสุขอีใส ไม่ใช่โรคอุบัติใหม่เป็นโรคโบราณ

การเชื่อมโยงกับ "หนี้ภูมิคุ้มกัน" และ "การขโมยภูมิคุ้มกัน"

การเชื่อมโยงระหว่างโควิด-19 และการระบาดของโรคทางเดินหายใจอื่นๆ สามารถอธิบายได้ผ่านแนวคิดใหม่ๆ อย่างเช่น "หนี้ภูมิคุ้มกัน" (immunity debt) และ "การขโมยภูมิคุ้มกัน" (immunity theft)

  • หนี้ภูมิคุ้มกัน ภาวะที่ร่างกายขาดการสัมผัสกับเชื้อโรคทั่วไป อันเนื่องมาจากมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายเกิดช่องโหว่ (immunity gap) โดยเฉพาะในเด็ก อ่อนแอลง และมีความเสี่ยงสูงขึ้นเมื่อต้องเผชิญเชื้อโรคหลังการยกเลิกมาตรการเหล่านั้น 
  • การขโมยภูมิคุ้มกัน ให้ความหมายในเชิงที่ว่า การติดเชื้อ SARS-CoV-2 อาจบั่นทอนความสามารถของระบบภูมิคุ้มกัน และทำให้ผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 มีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อเชื้อโรคอื่นๆ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากไวรัส ไม่ใช่ผลจากการเว้นระยะห่างทางสังคม

จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่ปี 2562 ถึงวันที่ 16 มีนาคม 2567 พบผู้ป่วย 4,989 ราย ไม่พบรายงานผู้เสียชีวิต สำหรับในปีนี้ 2567 ยังไม่พบรายงานผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม นอกจากก่อโรคระบบทางเดินหายใจแล้ว เชื้อนี้อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนังที่อาจมีการลุกลามเร็วได้ ส่วนน้อยอาจมีอาการรุนแรง

การระบาดของโควิด-19 ไม่เพียงส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบอย่างซับซ้อนต่อระบาดวิทยาของโรคติดเชื้ออื่นๆ อีกด้วย ดังเช่น สถานการณ์น่าเป็นห่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส กรุ๊ป เอ ในญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่ก่อโรครุนแรงและอันตรายที่เรียกว่า Streptococcal Toxic Shock Syndrome (STSS) ที่ทำให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาจมีความเชื่อมโยงกับการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ของรัฐบาล ที่ทำให้ประชาชนละเลยการป้องกันโรคเหล่านี้ (reduced hygiene measures due to COVID-1 loosening) และกระตุ้นให้ทางการต้องเร่งควบคุมการระบาดนี้โดยทันที ด้วยการเน้นย้ำให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการสุขอนามัยขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกับช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19

การระบาด Streptococcal Toxic Shock Syndrome (STSS) ในญี่ปุ่น

จำนวนผู้ติดเชื้อในปี 2024 คาดว่าจะสูงกว่าปีที่แล้ว ขณะที่ความกังวลเพิ่มขึ้นว่าจะแพร่ระบาดต่อไปในญี่ปุ่น โดยเบื้องต้นพบว่ามีผู้ป่วย STSS รายงานถึง 941 รายในปีที่แล้ว 2023 และในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ 2024 มีรายงานแล้วถึง 378 ราย

หนังสือพิมพ์ The Japan Times เปิดเผยว่า ช่วงเดือนมกราคม 2024 มีการตรวจพบผู้ป่วย STSS ใน 45 จังหวัด จากทั้งหมด 47 จังหวัดในญี่ปุ่น ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ต่างงุนงงกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้

แม้ว่าผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงสูงกว่า แต่สายพันธุ์นี้ทำให้ผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 50 ปีเสียชีวิตมากขึ้น โดยจากข้อมูลของสถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติของญี่ปุ่น (National Institute of Infectious Diseases: NIID)  ระบุว่าในช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2023 ผู้ป่วย 1 ใน 3 ที่เสียชีวิตจากโรค STSS มีอายุต่ำกว่า 50 ปี

อัตราการเสียชีวิตจากโรค STSS สูง

  • STSS มีอัตราการเสียชีวิตโดยรวมประมาณ 30-70% แม้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
  • ในผู้ป่วยที่มีอวัยวะล้มเหลว (organ failure) อัตราการเสียชีวิตอาจสูงถึง 80-90%
  • ผู้ที่รอดชีวิตมักมีความพิการหลงเหลืออยู่ เช่น ต้องถูกตัดอวัยวะบางส่วน เนื่องจากเนื้อเยื่อถูกทำลายจากการอักเสบรุนแรง
  • ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิต ได้แก่ ความรวดเร็วในการวินิจฉัยและให้การรักษา อายุ โรคประจำตัว และภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย
  • การติดเชื้อไวรัสร่วมด้วย เช่น ไข้หวัดใหญ่ จะยิ่งทำให้โอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

STSS เป็นเป็นโรคที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงสูงมาก หากสงสัยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต และเกิดความพิการหลงเหลือ

วิธีป้องกัน STSS

การป้องกัน STSS ทำได้โดยการรักษาสุขอนามัยที่ดี เช่น การล้างมือบ่อยๆ หากมีบาดแผลให้รีบล้างน้ำเพื่อให้แผลสะอาด และการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจต้องตัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกและให้การรักษาประคับประคองในหอผู้ป่วยหนัก

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ลมพายุใหญ่ทำให้หลายอย่างในสหรัฐชัดขึ้น

นอกจากจะทำความเสียหายร้ายแรงในรัฐฟลอริดาแล้ว พายุเฮลีนยังพัดต่อไปทำความเสียหายร้ายแรงในรัฐอื่นอีกด้ว...

นายกฯ อิสราเอลชี้ สังหารผู้นำฮามาส ‘จุดเริ่มต้นยุติสงครามกาซา’

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน ตามที่กองทัพอิสราเอลแถลงว่า หลังจากไล่ล่ามาอย่างยาวนาน กองทัพก็ “ขจัด นายยาห์...

ทุกคะแนนมีค่า ‘แฮร์ริส-ทรัมป์’ เดินสายให้สัมภาษณ์ขยายฐานเสียง

สำนักข่าวเอพีรายงาน เมื่อไม่กี่วันก่อน คามาลา แฮร์ริส ให้สัมภาษณ์ชาร์ลามาญ (Charlamagne tha God) เจ้...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า (3) | World Wide View

เสียมราฐ เป็นจังหวัดสำคัญทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา หลาย ๆ คนรู้จักในฐานะที่ตั้งของนครวัดและโ...