PMI ภาคการผลิตจีน เดือน มี.ค.ขยายตัวรอบ 6 เดือน

ทั้งนี้ ดัชนี PMI ที่ระดับสูงกว่า 50 บ่งชี้ว่ากิจกรรมทางธุรกิจอยู่ในภาวะขยายตัว ส่วนดัชนีที่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าอยู่ในภาวะหดตัว

ส่วนดัชนี PMI นอกภาคการผลิตซึ่งรวมภาคบริการและการก่อสร้าง ปรับตัวขึ้นสู่ 53.0 ในเดือนมี.ค. จาก 51.4 ในเดือนก.พ.

นอกจากนี้ NBS ระบุว่า ดัชนีรวมภาคการผลิตและบริการ ขยายตัวอยู่ที่ 52.7 ในเดือนมี.ค. จาก 50.9 ในเดือนก.พ.

ตัวชี้วัดที่ดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมานี้แสดงให้เห็นว่าจีนเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ทำให้นักวิเคราะห์เริ่มปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้ โดยก่อนหน้านี้เหล่าผู้กำหนดนโยบายได้พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 ที่จีนยกเลิกมาตรการควบคุมโควิด-19

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว China Beige Book International (CBBI) เปิดเผย China Beige Book ซึ่งเป็นรายงานสำรวจภาวะเศรษฐกิจจีน โดยระบุว่า “ข้อมูลเดือนมี.ค.สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะทำผลงานอย่างแข็งแกร่งในช่วงสิ้นสุดไตรมาส 1 ส่วนการจ้างงานทำสถิติฟื้นตัวยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2563 ภาคการผลิตและค้าปลีกก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน”

อย่างไรก็ตาม ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังคงอยู่ในภาวะตกต่ำอย่างหนัก และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโต ส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของรัฐบาลท้องถิ่นและธนาคารรัฐวิสาหกิจหลายแห่งที่มีหนี้สินมาก

เมื่อช่วงต้นเดือนนี้ นายกรัฐมนตรีหลี่ เฉียง ประกาศเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนสำหรับปี 2567 อยู่ที่ประมาณ 5% ในการประชุมประจำปีของสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ซึ่งถือเป็นสภาตรายางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่า ผู้กำหนดนโยบายจีนจะต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เนื่องจากในปี 2566 ตัวเลขการเติบโตของจีนดูดีเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับปี 2565 ที่เศรษฐกิจแย่ (Low base effect) ดังนั้นในปี 2567 จีนจะไม่สามารถอาศัยปัจจัยทางสถิตินี้ได้อีกต่อไป

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (28 มี.ค.) ทางซิตี้ (Citi) ปรับเพิ่มการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้เป็น 5.0% จากเดิมที่ 4.6% โดยอ้างถึง “ข้อมูลเชิงบวกที่ออกมาล่าสุด และนโยบายที่ประกาศออกมา”

อนึ่ง เมื่อวันที่ 1 มี.ค. คณะรัฐมนตรีของจีนอนุมัติแผนที่มุ่งส่งเสริมการอัปเกรดอุปกรณ์ขนาดใหญ่และกระตุ้นยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยหัวหน้าหน่วยงานวางแผนของรัฐบาลจีนกล่าวในการแถลงข่าวเมื่อต้นเดือนนี้ว่า แผนดังกล่าวอาจช่วยสร้างดีมานด์ในตลาดได้มากกว่า 5 ล้านล้านหยวน (6.9163 แสนล้านดอลลาร์) ต่อปี

นักวิเคราะห์หลายคนกังวลว่าในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษนี้ จีนอาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันแบบเดียวกับญี่ปุ่นเมื่อในอดีต เว้นแต่ว่าผู้กำหนดนโยบายจะดำเนินการเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มุ่งเน้นการบริโภคในครัวเรือนและการจัดสรรทรัพยากรด้วยกลไกตลาด ลดการพึ่งพาการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนักหน่วงเหมือนในอดีต

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'นิคมโรจนะ'โซนอันตรายเหลือขายสูงสุดมูลค่า1.7หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจอุปทานโดยรวมภาคกลาง ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั...

ตลาดหุ้นสหรัฐแทบไม่ขยับ นักลงทุนชะลอซื้อหลังดัชนีพุ่งแรงวันก่อน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น...

เจาะพอร์ต 5 เซียนชื่อดัง ถือหุ้นปันผลสูงเกิน 5% รวม 18 หลักทรัพย์

การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในทุกปัจจัยอย่างละเอียด ซึ่งม...

น้ำนมดิบอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (...