เผย "พจมาน" เยี่ยม "ทักษิณ" พร้อมทนายได้ คุยคดีความ แต่เรือนจำต้องอนุญาต

"ทนายทักษิณ" เผย "คุณหญิงพจมาน" บุคคลนอกบัญชี 10 รายชื่อ สามารถเข้าเยี่ยม ทักษิณ พร้อมทนายได้ หากเป็นการพูดคุยเรื่องคดีความ แต่ต้องแจ้งเรือนจำ พิจารณาอนุญาต ขณะ ยุติธรรม แจงชัด "อดีตภรรยา" ใช้สิทธิของทนายเข้าพบไม่ได้ ต้องใช้สิทธิญาติเท่านั้น

วันที่ 31 ส.ค. จากกรณีที่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่ระหว่างการนอนพักรักษาตัวเป็นวันที่ 3 ณ ห้อง 1401 ชั้น 14 อาคารมหาภูมิพลราชานุสรณ์ (หอผู้ป่วยพิเศษระดับสูง) รพ.ตำรวจ เนื่องด้วยหลายโรครุมเร้า โดยเฉพาะโรคหัวใจ หลังตัดสินใจเดินทางกลับเข้าประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จากนั้นตกกลางดึกเกิดอาการแน่นหน้าอก นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ระดับออกซิเจนปลายนิ้วต่ำ เป็นเหตุให้ผู้บัญชาการเรือนจำฯ และแพทย์ พิจารณาสภาวะความเสี่ยงอันตราย ตัดสินใจย้าย นายทักษิณ เข้ารับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางและเครื่องมือทางการแพทย์ที่เหมาะสมที่ รพ.ตำรวจ ตามที่ได้มีการรายงานข่าวมาอย่างต่อเนื่องนั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 31 ส.ค. นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความประจำตัวของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กรณีที่ญาติคนใดใน 10 รายชื่อ จะเดินทางเข้าเยี่ยม นายทักษิณ ที่ รพ.ตำรวจ ตนจะทราบก็ต่อเมื่อได้รับรายงานจากทีมรักษาความปลอดภัยของทางครอบครัวเท่านั้น ไม่ทราบกำหนดเวลาของแต่ละบุคคล ส่วนการเข้าเยี่ยมของแต่ละคน ก็จะต้องเข้าตามเวลาที่ราชทัณฑ์และ รพ.กำหนดไว้ คือ ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. โดยเข้าเยี่ยมได้เพียงคนละ 30 นาที

เมื่อถามว่า ทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ต้องขัง สามารถพาบุคคลภายนอกที่ไม่อยู่ใน 10 รายชื่อ เข้าไปพบ นายทักษิณ ได้ด้วยหรือไม่ เนื่องจากจะมีกรณีที่ทนายสามารถพาบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปรึกษาทางคดีเข้าไปได้ ทนายวิญญัติ ระบุว่า บุคคลที่จะเข้าไปพร้อมทนายความได้ ส่วนใหญ่จะเป็นในส่วนของผู้ช่วยทนาย

...

เมื่อถามต่อว่า หากบุคคลภายนอก อาทิ กรณีของ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยาของ ทักษิณ ชินวัตร สามารถเข้าไปกับทนายความได้หรือไม่ ทนายวิญญัติ ขยายความว่า สามารถทำได้ แต่ต้องมีการแจ้งเหตุผลไปให้ทางเรือนจำฯ รับทราบก่อน เพื่อตรวจสอบว่าจะได้รับการอนุญาตจากเรือนจำฯ หรือไม่

ทนายวิญญัติ ระบุอีกว่า สำหรับการเตรียมเอกสารเพื่อการยื่นทูลเกล้าฯ ขออภัยโทษของ นายทักษิณ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการเตรียมเรื่องเอกสาร ซึ่ง นายทักษิณ จะเป็นเจ้าของเรื่องสำหรับกระบวนการทั้งหมด หากมีความพร้อมครบถ้วนแล้ว จึงจะประสานแจ้งไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ อย่างไรก็ตาม เรื่องกรอบเวลาการพักรักษาตัวที่ รพ.ตำรวจ ของ นายทักษิณ จะอยู่ในความรับผิดชอบของแพทย์ผู้ทำการรักษา ซึ่งมีการประเมินวันต่อวัน ตนจึงไม่สามารถระบุห้วงวันที่และเวลาได้ว่า นายทักษิณ จะต้องนอนพักรักษาตัวที่นี่นานเท่าไร หรือมีอาการทุเลาดีขึ้นเพียงพอต่อการที่แพทย์จะพิจารณาให้ย้ายกลับไปรักษาที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบในประเด็นที่ทนายความของผู้ต้องขัง สามารถพาบุคคลอื่นที่ไม่อยู่ใน 10 รายชื่อเข้าเยี่ยม นายทักษิณ ได้ แต่ต้องเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปรึกษาทางคดี ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรนั้น ซึ่งได้รับการชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ภายในกระทรวงยุติธรรมรายที่ 1 ว่า บุคคลที่จะเข้าไปพร้อมกับทนายความได้นั้น จะต้องเกี่ยวข้องกับคดีความของผู้ต้องขัง และทนายความจะต้องแจ้งไปยังเรือนจำว่าบุคคลดังกล่าวคือใคร แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นล่ามแปลภาษา หรือผู้ช่วยทนายความ ที่ปรึกษาทางคดีความ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีกระแสข่าวรายงานว่า อดีตภรรยาของ นายทักษิณ อาจเข้าไปพร้อมทนายความนั้น ไม่สามารถเป็นไปได้ เพราะในฐานะอดีตภรรยา ตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์ จะถูกจัดไว้ในส่วนของญาติผู้ต้องขัง จะไม่สามารถใช้สิทธิของทนายความได้

ทั้งนี้ ยังมีข้อสงสัยของสังคมว่า เหตุใด น.ส.แพทองธาร จึงเข้าเยี่ยมบิดาได้ถึงสองวันติดกันนั้น (28 ส.ค. และวันที่ 29 ส.ค.) เจ้าหน้าที่ภายในกระทรวงยุติธรรม รายที่ 2 อธิบายว่า ตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการเยี่ยม การติดต่อของบุคคลภายนอกกับผู้ต้องขังและการเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับเรือนจำ พ.ศ. 2561 สรุปใจความสำหรับกรณีนี้ได้ว่า น.ส.แพทองธาร ถือเป็น 1 ใน 10 รายชื่อที่ได้มีการระบุแจ้งไว้จาก นายทักษิณ ให้สามารถเข้าเยี่ยมได้ ซึ่งการเข้าเยี่ยมนั้น เจ้าตัวหรือผู้แทน (ทนายความ) จะต้องเดินทางไปที่เรือนจำฯ เพื่อติดต่อลงทะเบียนจองวันเวลาการเยี่ยม โดยเป็นการดำเนินการวันต่อวัน หรือจองล่วงหน้า เพื่อรับบัตรคิวการเข้าเยี่ยม จากนั้นจึงจะสามารถเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังที่ รพ.ตำรวจ ได้ และที่สำคัญใน 1 วัน บุคคลนั้นๆ เข้าเยี่ยมได้เพียง 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ถ้าจะเข้าเยี่ยมในวันถัดไป ก็ต้องดำเนินการจองเยี่ยมใหม่ตามที่เรียนแจ้งข้างต้น ซึ่งก็ได้มีการปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอน นอกจากนี้ สำหรับ 10 รายชื่อบุคคล (เดิม) ที่ถูกระบุให้เข้าเยี่ยมได้นั้น ทางเรือนจำหรือเจ้าพนักงานเรือนจำจะมีการแจ้งสิทธิแก่ผู้ต้องขัง ทนายความ ให้สามารถดำเนินการแก้ไข เปลี่ยนแปลงรายชื่อทั้งหมดได้เมื่อครบ 30 วัน หรือหากผู้ต้องขังไม่ประสงค์เปลี่ยนแปลงรายชื่อก็สามารถกระทำได้ ถือเป็นสิทธิที่ผู้ต้องขังทุกรายทุกคดีได้รับตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...